Ph.D. in Quantum Engineering

Under Construction

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม
(หลักสูตรนานาชาติ/หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2564)

คณะวิทยาศาสตร์และบัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม
(หลักสูตรนานาชาติ/หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2564)

คณะวิทยาศาสตร์และบัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

หลักสูตรที่ขอเปิดนี้ได้ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการบัณฑิตศึกษา
ประจำคณะวิทยาศาสตร์ ในการประชุมเวียนพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ
เมื่อวันที่ 2 เดือน กรกฎาคม พ.ศ.2564

(ศาสตราจารย์ ดร. ธรณินทร์ ไชยเรืองศรี)
ประธานกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำคณะวิทยาศาสตร์
วันที่ 7 เดือน กรกฎาคม พ.ศ.2564

สารบัญ

หน้า
หมวดที่ 1 : ข้อมูลทั่วไป
1. รหัสและชื่อหลักสูตร 1
2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา 1
3. ชื่อแขนงวิชาเพื่อบันทึกใน Transcript 1
4. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร 1
5. รูปแบบของหลักสูตร 1
6. สถานภาพของหลักสูตรการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร 3
7. ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน 3
8. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา 3
9. ชื่อ ตำแหน่ง และคุณวุฒิการศึกษาของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร 3
10. สถานที่จัดการเรียนการสอน 4
11. เหตุผลและความเป็นมาในการเสนอขอเปิดหลักสูตร 4
12. ความสัมพันธ์กับหลักสูตรอื่นที่เปิดสอนในคณะ/ภาควิชาอื่น/หลักสูตรอื่น 18
ของสถาบัน

หมวดที่ 2 : ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร
1. ปรัชญา วัตถุประสงค์ของหลักสูตร และผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร 20
2. ความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา 22
3. แผนพัฒนาปรับปรุง 25

หมวดที่ 3 : ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร
1. ระบบการจัดการศึกษา 26
2. การดำเนินการหลักสูตร 26
3. หลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน 31
4. องค์ประกอบเกี่ยวกับประสบการณ์ภาคสนาม 58
5. ข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำโครงงานหรืองานวิจัย 58

สารบัญ (ต่อ)
หน้า
หมวดที่ 4 : ผลการเรียนรู้และกลยุทธ์การสอนและการประเมินผล
1. การพัฒนาคุณลักษณะพิเศษของนักศึกษา 62
2. การพัฒนาผลการเรียนรู้ในแต่ละด้าน 63
3. แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตร (PLO) 68
สู่กระบวนวิชา (Curriculum Mapping)
หมวดที่ 5 : หลักเกณฑ์ในการประเมินผลนักศึกษา
1. กฎระเบียบหรือหลักเกณฑ์ในการให้ระดับคะแนน 78
2. กระบวนการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา 79
3. เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร 79

หมวดที่ 6 : การพัฒนาคณาจารย์
1. การเตรียมการสำหรับอาจารย์ใหม่ 82
2. การพัฒนาความรู้และทักษะให้แก่คณาจารย์ 82

หมวดที่ 7 : การประกันคุณภาพหลักสูตร
1. การกำกับมาตรฐาน 83
2. บัณฑิต 83
3. นักศึกษา 84
4. อาจารย์ 85
5. หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน 85
6. สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ 86
7. ตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงาน (Key Performance Indicators) 86

หมวดที่ 8 : กระบวนการการประเมินและปรับปรุงหลักสูตร
1. การประเมินประสิทธิผลของการสอน 89
2. การประเมินหลักสูตรในภาพรวม 89
3. การประเมินผลการดำเนินงานตามรายละเอียดหลักสูตร 89
4. การทบทวนผลการประเมินและวางแผนปรับปรุง 89

สารบัญ (ต่อ)
หน้า
ภาคผนวก
1. คำอธิบายลักษณะกระบวนวิชา 90
2. คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการร่างหลักสูตร 94
3. ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ 95
4. ข้อบังคับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2559 154
5. ข้อบังคับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่าด้วยการพิจาณาเกียรติและศักดิ์ของนักศึกษา 176
ที่จะได้รับการเสนอชื่อให้ได้รับปริญญา หรือประกาศนียบัตรบัณฑิต
หรือประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.2550
6. ประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง แนวปฏิบัติการเปลี่ยนแบบ 179
การศึกษา การย้ายสาขาวิชา การรับโอนนักศึกษาและการเทียบโอนหน่วยกิต
ของนักศึกษาบัณฑิตศึกษา

รายละเอียดของหลักสูตร
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม (หลักสูตรนานาชาติ/หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2564)

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บัณฑิตวิทยาลัย และคณะวิทยาศาสตร์
หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป

1. รหัสและชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม
(หลักสูตรนานาชาติ)
ภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Quantum Science and Technology
(International Program)
2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย : ชื่อเต็ม ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม)
: ชื่อย่อ ปร.ด. (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม)
ภาษาอังกฤษ : ชื่อเต็ม Doctor of Philosophy (Quantum Science and Technology)
: ชื่อย่อ Ph.D. (Quantum Science and Technology)
3. ชื่อแขนงวิชาเพื่อบันทึกใน Transcript – ไม่มี –
4. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
หลักสูตร 3 ปี ฐานโท แบบ 1.1 (thesis only) จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต
หลักสูตร 4 ปี ฐานตรี แบบ 1.2 (thesis only) จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 72 หน่วยกิต
หลักสูตร 3 ปี ฐานโท แบบ 2.1 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
หลักสูตร 4 ปี ฐานตรี แบบ 2.2 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต
5. รูปแบบของหลักสูตร
5.1 รูปแบบ
หลักสูตร แบบ 1.1 และ 2.1
เป็นหลักสูตรระดับปริญญาเอก หลักสูตร 3 ปี และใช้เวลาศึกษาอย่างมากไม่เกิน 6 ปีการศึกษา

หลักสูตร แบบ 1.2 และ 2.2
เป็นหลักสูตรระดับปริญญาเอก หลักสูตร 4 ปี และใช้เวลาศึกษาอย่างมากไม่เกิน 8 ปีการศึกษา
5.2 ประเภทหลักสูตร
 วิชาการ
 วิชาชีพ
 ปฏิบัติการ
5.3 ภาษาที่ใช้
 ภาษาไทย
 ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)
5.4 การรับเข้าศึกษา
 นักศึกษาไทย
 นักศึกษาต่างชาติ
 นักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ
5.5 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
 เป็นหลักสูตรเฉพาะของสถาบันฯ ที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง และเป็นหลักสูตรที่มีความร่วมมือด้านการวิจัยและการเรียนการสอนกับหน่วยงานอื่นภายนอกมหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (SLRI) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) เป็นต้น โดยเป้าหมายของหลักสูตรคืองานวิจัยในเชิงลึกและการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่
 เป็นหลักสูตรร่วมกับสถาบันอี่น
ชื่อสถาบัน …………………………………. ประเทศ ………………
รูปแบบของการร่วม
 ร่วมมือกัน โดยสถาบันฯ เป็นผู้ให้ปริญญา
 ร่วมมือกัน โดยผู้ศึกษาได้รับปริญญาจาก 2 สถาบัน
5.6 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
กรณีหลักสูตรเฉพาะของสถาบัน
 ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว
 ให้ปริญญามากกว่าหนึ่งสาขาวิชา
– คณะที่เป็นผู้รับผิดชอบหลัก ……………………………………………………………..
– คณะที่ร่วมรับผิดชอบ ……………………………………………………………………..
6. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
 หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2564 มีผลบังคับใช้ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2564
 สภาวิชาการให้ความเห็นชอบหลักสูตร ในการประชุมครั้งที่ 9/2564 เมื่อวันที่ 22 เดือน กันยายนพ.ศ. 2564
 สภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตร ในการประชุมครั้งที่ 10/2564 เมื่อวันที่ 16 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2564
7. ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
หลักสูตรจะได้รับการเผยแพร่ว่าเป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2552 ในปีการศึกษา 2566
8. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา (สัมพันธ์กับสาขาวิชา)
 นักวิทยาศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์ควอนตัม (Quantum Computer Scientist)
 นักพัฒนาซอฟต์แวร์ควอนตัม (Quantum Software Developer)
 นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงและความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายควอนตัม (Quantum Network Cyber-Security Analyst)
 นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรด้านมาตรฐานการวัดและเซ็นเซอร์ควอนตัม (Quantum Sensor and Metrology Scientist and Engineer)
 ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีควอนตัมสำหรับบริษัทเอกชน
 นักวิชาการด้านการศึกษาควอนตัม (Quantum Education Specialist)
 อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา (University Lecturer)
 ผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีควอนตัม (Quantum Technology Entrepreneur)
9. ชื่อ ตำแหน่ง และคุณวุฒิการศึกษาของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ชื่อ-สกุล
(ระบุตำแหน่งวิชาการ) คุณวุฒิการศึกษา (สาขา),
สถาบัน, ประเทศ, ปีที่สำเร็จการศึกษา
1. ผศ.ดร. วรานนท์ อนุกูล
– Ph.D. (Physics), Cambridge University, UK, 2002
– M.Sc. (Physics), The University of Minnesota, USA, 1999
– วท.บ. (ฟิสิกส์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2539
2. อ.ดร. นิธิวดี ไทยเจริญ – Ph.D. (Physics), University of Michigan, USA, 2017
– MSE (Electrical Engineering), University of Michigan, USA, 2015
– วท.ม. (ฟิสิกส์), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2555
– วท.บ. (ฟิสิกส์), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2553
3. รศ.ดร. สรรพวรรธน์ กันตะบุตร – Ph.D. (Theoretical Computer Science), Tufts University, USA, 2001
– M.S. (Computer Engineering), Syracuse University, USA, 1996
– บช.บ. (บัญชีบัณฑิต), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2534
10. สถานที่จัดการเรียนการสอน
 ในสถานที่ตั้ง
 นอกสถานที่ตั้ง ได้แก่ ………………………………..
11. เหตุผลและความเป็นมาในการเสนอขอเปิดหลักสูตร
เทคโนโลยีควอนตัมเป็นวิวัฒนาการเชิงการพัฒนาที่สำคัญและได้รับความสนใจจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ต่างประเทศมีการลงทุนในการวิจัยด้านเทคโนโลยีควอนตัมเป็นระยะเวลายาวนานอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มของการลงทุนที่เพิ่มมากขึ้นอย่างชัดเจนในอนาคต เมื่อเปรียบเทียบจำนวนเงินของแต่ละประเทศทั่วโลกในแต่ละปี ได้มีการสนับสนุนที่เกี่ยวกับงานวิจัยด้านเทคโนโลยีควอนตัมในปี พ.ศ. 2563 (อ้างอิง: นิตยสาร Forbes: White House Aims To Boost Funding For AI And Quantum Tech By 30% In 2021, 14 Aug 2020) พบว่า ประเทศสหรัฐอเมริกามีแผนที่จะมีการลงทุนในด้านเอไอและเทคโนโลยีควอนตัมเพิ่มขึ้นอีก 30% รวมเป็นงบประมาณทั้งสิ้นถึง 66 พันล้านบาท แสดงให้เห็นถึงประเทศสหรัฐอเมริกาได้ให้ความสำคัญของเทคโนโลยีควอนตัมและมีการสนับสนุนของทุนวิจัยในสาขาเทคโนโลยีควอนตัมและสารสนเทศเชิงควอนตัม (quantum information science) เป็นระยะเวลายาวนานกว่ายี่สิบปีมาแล้ว ปัจจุบันสหรัฐอเมริกาได้มีแผนยุทธศาสตร์ในการให้ทุนระยะยาวสำหรับงานวิจัยเทคโนโลยีควอนตัมเพื่อก้าวข้ามอุปสรรคที่เป็นหลักไมล์สำคัญ Quantum Leap จะทำให้สามารถนำองค์ความรู้ทางกลศาสตร์ควอนตัมไปใช้ในการศึกษาและควบคุมพฤติกรรมของอนุภาค ซึ่งสามารถนำพาไปสู่เทคโนโลยีในการคำนวณ การจำลอง (simulation) เซ็นเซอร์ มาตรวิทยา การสื่อสาร และสารสนเทศควอนตัม
ในปีพ.ศ. 2561 ที่ผ่านมาประเทศสหรัฐอเมริกาได้ลงทุน สามหมื่นแปดพันล้านบาท ใน 5 ปีข้างหน้า ภายใต้โครงการ The New National Quantum Initiative Act ที่สนับสนุนการทำวิจัยด้านเทคโนโลยีควอนตัม ความก้าวหน้าในงานวิจัยของเทคโนโลยีควอนตัมของสหรัฐอเมริกา มีการดึงดูดให้หน่วยงานภาคเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนเป็นจำนวนกว่าสามพันล้านบาท เพื่อให้เกิดการแข่งขันในการสร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัม โดยบริษัทต่าง ๆ ล้วนเล็งเห็นความสำคัญและมีแนวโน้มที่จะทำให้เทคโนโลยีควอนตัมก้าวไปสู่การปฏิวัติครั้งใหญ่ในวงการอุตสาหกรรมและนวัตกรรม บริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกในสหรัฐอเมริกา เช่น Google, Intel, Microsoft, IBM ต่างมีทีมงานที่มุ่งศึกษาทางเทคโนโลยีควอนตัมโดยเฉพาะ ซึ่งความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐบาลและบริษัทดังกล่าวก่อให้เกิดความต้องการผู้มีความสามารถในแต่ละสาขาที่มีความเฉพาะด้าน ซึ่งประกอบไปด้วยนักคณิตศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์ นักฟิสิกส์ วิศวกร และสาขาสนับสนุนอื่น ๆ นอกจากประเทศสหรัฐอเมริกาที่ให้ความสำคัญในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีควอนตัมแล้ว ในประเทศสหภาพยุโรปได้มีความร่วมมือกันก่อตั้งโครงการที่ชื่อว่า Quantum Flagship ในปี พ.ศ. 2561 โดยมีการทุ่มงบประมาณมากกว่าสี่หมื่นล้านบาทในการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมเทคโนโลยีควอนตัมให้เกิดขึ้นจริงในระยะเวลา 10 ปี ภายใต้ความร่วมมือของนักวิจัยมากกว่าห้าพันคน โดยโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งในการวางแผนยุทธศาสตร์ของงานวิจัย เพื่อนำไปสู่ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีควอนตัมในระยะยาว ซึ่งมีแผนในการสร้างอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีควอนตัมและเป็นการดึงดูดการลงทุนของนักวิจัยและนักธุรกิจทางด้านเทคโนโลยีควอนตัมในสหภาพยุโรป
ในภูมิภาคเอเชีย ประเทศจีนเป็นหนึ่งในประเทศที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีควอนตัมและลงทุนมากกว่า สามแสนล้านบาท ในการสร้างศูนย์วิจัยที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีควอนตัมที่ใหญ่ที่สุดในโลกชื่อ CAS Center for Excellence in Quantum Information and Quantum Physics ที่เมือง Hefei ในปี พ.ศ. 2557 จากนั้นได้มีการผลิตสิทธิบัตรและงานวิจัยจำนวนมากนับจากวันที่มีการก่อตั้งศูนย์วิจัยขึ้น ทั้งนี้ในภูมิภาคเอเชียก็ยังมีประเทศสิงคโปร์ที่ให้ความสำคัญและลงทุนเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีควอนตัมเป็นระยะเวลามากกว่ายี่สิบปี โดยสิงคโปร์ได้มีการลงทุนมากกว่า ห้าพันล้านบาท ในปี พ.ศ. 2550 เพื่อก่อตั้งศูนย์วิจัย Centre for Quantum Technologies (CQT) และประเทศสิงคโปร์มีการสนับสนุนงบประมาณเพื่อการทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด ปี พ.ศ. 2561 องค์การวิทยาศาสตร์ของสิงคโปร์ (Singapore’s National Research Foundation: NRF) ได้ลงทุนในงบประมาณมากกว่า แปดร้อยล้านบาท ให้กับ Quantum Engineering Program ภายใต้กรอบระยะเวลา 5 ปี เพื่อสร้างระบบทางวิศวกรรมที่รองรับการสื่อสารควอนตัมแบบปลอดภัยสมบูรณ์ (quantum secure communication) สิ่งประดิษฐ์ควอนตัม (quantum devices) และระบบเครือข่ายสื่อสารควอนตัม (quantum networks)
สถานการณ์เทคโนโลยีควอนตัมในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2549 ครม. มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการโครงการพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระยะที่ 2 (2550-2554) เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง อีกทั้งให้ขยายศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการ ในรูปแบบของภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย ที่สะท้อนความต้องการของภาครัฐและเอกชน และทิศทางการพัฒนาของประเทศเพิ่มเติมอีก 5 ด้านคือ ความหลากหลายทางชีวภาพ ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีชีวภาพ การแพทย์ และ ซอฟต์แวร์ภาพเคลื่อนไหวคอมพิวเตอร์ อีกทั้งให้ดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้และการให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และในปี พ.ศ. 2550 ครม. มีมติให้ปรับฐานการศึกษาของการวิจัยด้านฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ให้เข้มแข็ง เพื่อเป็นฐานการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และพัฒนาทรัพยากรบุคคลของประเทศไทย ประกอบกับมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยด้านฟิสิกส์ที่มีอยู่ มีความพร้อมและมีศักยภาพเพียงพอที่จะพัฒนายกระดับให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านฟิสิกส์ในภูมิภาค
นับจากปี พ.ศ. 2533 จนถึงปัจจุบัน กระทรวงวิทยาศาสตร์ สนับสนุนนักเรียนทุนรัฐบาลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไปแล้ว 4,763 คน สำเร็จการศึกษาและกลับมาปฏิบัติงานแล้ว 3,390 คน และได้รับการอนุมัติโครงการในระยะที่ 4 อีก 1,500 คน ในส่วนของนักเรียนทุนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) และทุนโอลิมปิก ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนทั้งสิ้น 3,568 คน อยู่ระหว่างศึกษา 2,154 คน เป็นนักศึกษา/นักวิจัยด้านฟิสิกส์ 630 คน จากตัวเลขนักวิจัยสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งหมด 7,917 คน พบว่ามีเพียงประมาณ 42 คน เท่านั้นที่สามารถทำงานวิจัยด้านเทคโนโลยีควอนตัมได้ อย่างไรก็ดี ในช่วงเริ่มต้นของยุคควอนตัม 2.0 จำนวนนี้ถือว่าเพียงพอที่จะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างคนเพื่อสร้างนวัตกรรมฐานเทคโนโลยีควอนตัมในประเทศไทย ประเด็นที่สำคัญอันหนึ่งก็คือ ในจำนวนนักวิจัยทั้ง 42 คนเหล่านั้น มีมากถึง 18 คน ที่เป็นนักวิจัยที่ล้วนเคยได้รับการศึกษาหรือกำลังปฏิบัติงานที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ประเทศไทยยังมีการเรียนการสอนในสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์ที่อิงกับเทคโนโลยีเดิม (Quantum 1.0) โดยที่ไม่มีความตระหนักถึงเทคโนโลยีควอนตัมที่จะเข้ามาทดแทนในบางแง่มุมของการดำรงชีวิตในอนาคตอันใกล้ อาจจะเป็นข้อด้อยที่ทำให้เราไม่สามารถเตรียมบุคลากรได้ทันกับงานวิจัยควอนตัมและสิ่งประดิษฐ์ควอนตัมต่างๆ (Quantum 2.0) ที่เกิดขึ้นในประเทศอื่นทั่วโลก ตัวอย่างเช่น Wallenberg Centre for Quantum Technology (WACQT) ประเทศสวีเดน ซี่งเป็นศูนย์วิจัยด้านเทคโนโลยีควอนตัมที่เกิดจากความร่วมมือด้านงานวิจัยและการเรียนการสอนระดับปริญญาเอกของ Chalmers University of Technology และสถาบันการศึกษาอื่น เช่น Lund University และ KTH Royal Institute of Technology รวมถึงสถาบันวิจัยอื่นในประเทศสวีเดน เช่น Research Institutes of Sweden (RISE) เป็นต้น ซี่งส่งผลให้ศูนย์นี้เป็นศูนย์ประสานงานโครงการวิจัยในระยะ 12 ปีด้วยงบประมาณ 3.7 พันล้านบาท ซึ่งเป้าหมายของสถาบันวิจัยและกลุ่มมหาวิทยาลัยดังกล่าวคือการสร้างองค์ความรู้เชิงลึกและการประยุกต์ด้านเทคโนโลยีควอนตัมที่ครอบคลุมถึงทุกบริบทซึ่งรวมถึงการคำนวณและการจำลองควอนตัม (Quantum Computing and Simulation) การสื่อสารและเครือข่ายควอนตัม (Quantum Communication and Network) และเซ็นเซอร์ควอนตัม (Quantum Sensors) ซึ่งการสร้างความตระหนักในความสำคัญของการศึกษาและการพัฒนาหลักสูตรควอนตัมผ่านงานวิจัยเชิงลึกด้านควอนตัมดังกล่าว ส่งผลให้เกิดความร่วมมือกับภาครัฐ รวมถึงภาคเอกชนเช่น บริษัท AstraZeneca ซึ่งเป็นบริษัทยาและชีวเภสัชภัณฑ์ของสวีเดน-อังกฤษ ที่ให้ความสนใจในการเข้าร่วมโครงการวิจัยระดับปริญญาเอก (PhD Project) กับศูนย์วิจัยนี้ ในการพัฒนาขั้นตอนวิธี (algorithm) ใหม่ในเชิงเคมีควอนตัม (quantum chemistry) ที่สามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ควอนตัม (quantum computer) ในการสังเคราะห์โมเลกุลเพื่อออกแบบยาชนิดใหม่ได้ อีกหนึ่งตัวอย่างของความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมในงานวิจัยระดับปริญญาเอกคือ ความร่วมมือกับบริษัท Volvo ที่ต้องการใช้การคำนวณและการจำลองควอนตัม (Quantum Computing and Simulation) ในการเพิ่มประสิทธิภาพของปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) และการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) เพื่อประยุกต์กับอุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นต้น [ที่มา: https://www.chalmers.se/en/centres/wacqt/Pages/default.aspx]
อีกแห่งหนึ่งที่เปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาเอกในประเทศแถบยุโรปคือ The International Max Planck Research School for Quantum Science and Technology ซึ่งเป็นโปรแกรมร่วมระหว่าง Max Planck Institute of Quantum Optics, Ludwig-Maximilians-Universität München แลTechnical University of Munich ในประเทศเยอรนี ซึ่งโปรแกรมนี้ เปิดรับนักศึกษาในระดับปริญญาเอกเพื่อรองรับงานวิจัยและการฝึกอบรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม การเรียนการสอนมีการดำเนินการผ่านกระบวนวิชาบรรยาย การฝึกทักษะตามกลุ่มวิจัย การสัมมนา การประชุมเชิงปฏิบัติการ (workshop) รวมถึงทักษะอื่นๆที่นักศึกษาจะได้รับเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานด้านการวิจัยและพัฒนาทั้งในภาคอุตสาหกรรมและสถาบันวิจัยภาครัฐ [ที่มา: https://www.imprs-quantum.mpg.de] สำหรับในประเทศไทยนั้น วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เน้นในองค์ความรู้เชิงทฤษฎีและการทดลองด้านควอนตัมยังอยู่ในระดับเริ่มต้น อย่างไรก็ตาม จากแผนที่นำทางการพัฒนาเทคโนโลยีควอนตัมของประเทศไทย พ.ศ. 2563 – 2573 ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนากำลังคนในระดับปริญญาเอก ซึ่งในตัวแผนคาดว่าในภายในปี 2570 จะมีนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัมในระดับปริญญาเอกเพิ่มขึ้นมาจากในปัจจุบัน ซึ่งการมีหลักสูตรเพื่อรองรับการเรียนการสอนจึงคาดว่าจะมีส่วนช่วยให้การพัฒนากำลังคนเป็นไปได้รวดเร็วขึ้น ในเบื้องต้น สำหรับในประเทศไทย ผู้ใช้บัณฑิตที่จบจากหลักสูตรนี้คาดว่าจะเกี่ยวข้องกับสถาบันวิจัยเช่น สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นต้น แต่จากตัวอย่างของสถาบันวิจัยจากต่างประเทศจะเห็นว่า ในระหว่างการดำเนินงานของหลักสูตรซี่งมีนักศึกษาคุณภาพสูงศึกษาอยู่ มีความเป็นไปได้ที่จะแสวงหาความร่วมมือและงบประมาณด้านการวิจัยกับหน่วยงานและองค์กรต่างๆทั้งในและต่างประเทศ

ภาพที่ 1 ภาพแสดงแผนที่นำทางในด้านกำลังคนและงานวิจัยหลักด้านควอนตัม [ที่มา: กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม]

นอกจากนี้ หลักสูตรนี้ได้มีการตอบสนองต่อนโยบายที่สำคัญของประเทศ ดังนี้
– การตอบสนองนโยบายและยุทธศาสตร์ชาติ 6 ประการ
หลักสูตรนี้ สามารถตอบสนองนโยบายและยุทธศาสตร์ชาติอย่างน้อยสองด้าน คือ
(1) ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์และกำลังคนของประเทศ ในด้านนี้ หลักสูตรจะเน้นในส่วนของการศึกษาและการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการสร้างแนวคิดวิจัยเชิงสร้างสรรค์ (Innovative Research Idea) เพื่อใช้ข้อมูลทางทฤษฎีและทางการทดลองที่มีมาก่อนหน้านี้และข้อมูลปัจจุบัน เพื่อต่อยอดในการสร้างทฤษฎี (New Theory) และ/หรือออกแบบการทดลองขั้นสูง (Advanced Experiment) เพื่อที่จะต่อยอดให้กลายเป็นนวัตกรรมด้านงานวิจัยที่มีผลกระทบสูง (High Impact) ในด้านวิชาการ โดยเฉพาะในส่วนของเทคโนโลยีควอนตัม การดึงเอาองค์ความรู้จากสถาบันการศึกษาเพื่อสร้างบุคลากรในการรองรับเทคโนโลยีใหม่ ถือเป็นการยกระดับศักยภาพ ทักษะและสมรรถนะของบัณฑิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดที่ ณ ปัจจุบันได้เริ่มมีความชัดเจนขึ้นโดยเฉพาะในต่างประเทศและในประเทศไทยในอีกไม่กี่ปีนี้ นอกจากนี้ หลักสูตรยังมีพันธกิจในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณทั้งในด้านการศึกษา การทำงานร่วมกับผู้อื่นและการสร้างค่านิยมในองค์กร
(2) ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศในด้านการวิจัยและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะเทคโนโลยีชั้นสูงที่สามารถใช้เพิ่มมูลค่าเทคโนโลยีที่มีอยู่เดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการคำนวณ ในด้านวิทยาการข้อมูลโดยอาศัยคลาวด์คำนวณเชิงควอนตัม (Quantum Computing) หรือการผสานเข้ากับฐานข้อมูลขนาดใหญ่โดยใช้การเข้ารหัสควอนตัม (Quantum Encryption) และปัญญาประดิษฐ์ควอนตัม (Quantum AI) ที่กำลังเข้ามามีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ เพื่อประยุกต์ด้านขนส่ง (Logistics) และด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศปลอดภัย (Safe Internet) เป็นต้น บัณฑิตที่ได้รับการศึกษาเชิงลึกจากหลักสูตรและได้รับการฝึกฝนในภาคปฏิบัติจากหลักสูตรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะสามารถมองภาพของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงควอนตัมได้กว้างมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการสร้างผู้ใช้ นักวิจัย และผู้สร้างยุคใหม่ที่มีทักษะและความสามารถในการแข่งขันเพื่อตอบโจทย์ประเด็นสำคัญของประเทศทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
– เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ข้อ ของ SDGs
หลักสูตรนี้ มีเป้าหมายที่สอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืนของ SDGs อย่างน้อยสามข้อคือ SDG4 (Quality Education) โดยการเรียนการสอนในหลักสูตรจะมุ่งเน้นการศึกษาที่มีคุณภาพระดับสากลและสอดคล้องกับการวิจัยขั้นแนวหน้า (Frontier Research) ซึ่งผู้เข้าศึกษาจะได้รับความรู้และทักษะที่จำเป็นในพัฒนางานวิจัยในเชิงทฤษฎีและการทดลองด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม เพื่อให้สามารถออกแบบงานวิจัยที่มีผลกระทบสูงในเชิงวิชาการและอาจต่อยอดไปถึงการสร้างงานวิจัยที่เป็นต้นทางของนวัตกรรมควอนตัมที่สร้างได้ในประเทศ SDG9 (Industry, Innovation and Infrastructure) โดยหลักสูตร มีส่วนช่วยให้เกิดความตระหนักในความจำเป็นที่จะต้องมีการลงทุนในการประดิษฐ์นวัตกรรมทางเทคโนโลยีควอนตัม ซี่งสามารถเกิดได้จากความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย หน่วยงานรัฐบาลและเอกชน นอกจากนี้ หากภาคเอกชนมีการลงทุนด้านงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและใช้บัณฑิตในระดับปริญญาเอกและบุคลากรจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่รวมถึงสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยในประเทศไทย ก็ถือได้ว่า เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ SDG17 (Partnerships for the Goals) เนื่องจากเทคโนโลยีควอนตัมเป็นเทคโนโลยีใหม่ จำเป็นต้องมีการพัฒนาในการเข้าถึงเทคโนโลยีและความรู้เป็นสิ่งสำคัญในการแบ่งปันความคิดและสนับสนุนนวัตกรรมโดยการสร้างหุ้นส่วนความร่วมมือระดับสากล เพิ่มความร่วมมือทั้งในและต่างประเทศเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของหลักสูตรและการสร้างผลกระทบในเชิงนวัตกรรมวิจัยและเชิงวิชาการเพื่อสร้างเป็นชุมชนเครือข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม
– นโยบายกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัย
หลักสูตรนี้ ตอบสนองต่อวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่คือเพื่อเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งทางด้านการเรียนการสอนและด้านการวิจัย โดยพันธกิจหลักที่สำคัญคือ การส่งเสริมวิชาการที่มีคุณภาพและการวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ ผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม คุณภาพ และมีทักษะการเป็นพลเมืองโลก โดยตัวหลักสูตรจะช่วยสนับสนุนการพัฒนาระบบและกลไกที่ส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเรียนรู้ให้สามารถตอบสนองทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 โดยมีงานวิจัยเป็นฐานในการเรียนการสอน มีการพัฒนาทักษะของบัณฑิตที่จำเป็นสำหรับการเป็นผู้สร้างนวัตกรรม (Innovation Creator) บนพื้นฐานของทฤษฎีและการทดลองที่พัฒนาด้วยตัวนักศึกษาเอง โดยมีการส่งเสริมให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์จริงในการทำงานวิจัยด้านควอนตัมในห้องปฏิบัติการและสถาบันวิจัยที่หลักสูตรมีความร่วมมือ ซึ่งจะส่งผลให้บัณฑิตมีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ รวมถึงเพื่อการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่จะก้าวสู่ระดับ Top 100 ของ THE IUR ในปี พ.ศ. 2565
– ความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
เนื่องด้วยเทคโนโลยีควอนตัมเป็นเทคโนโลยีที่ถือว่าใหม่แต่เป็นเทคโนโลยีที่กำลังจะเข้ามามีบทบาทในอนาคตอันใกล้ สำหรับในประเทศไทย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับบัณฑิต คณาจารย์และนักวิจัยในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม ในระยะแรกของการเปิดหลักสูตร จะมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่คณาจารย์ในหลักสูตรได้มีการประชาสัมพันธ์และติดต่อให้ข้อมูล รวมถึงบางหน่วยงานที่นักวิจัยในหลักสูตรได้รับความร่วมมือด้วยแล้ว เช่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม (วท.กห.) ศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีการบินและอวกาศ (ศวอ.ทอ.) สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียมจำกัด (มหาชน) เป็นต้น ทั้งนี้ สำหรับหลักสูตรในระดับปริญญาเอก มีบางหน่วยงานที่ได้แสดงความสนใจในหลักสูตรในการต่อยอดจากการศึกษาระดับปริญญาโท ซึ่งทางหลักสูตรเชื่อว่าการให้ข้อมูลในมุมมองด้านเทคโนโลยีควอนตัมไปพร้อมกับการสร้างหัวข้อวิจัยที่ชัดเจนและเป็นประโยชน์ต่อทั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะเป็นตัวผลักดันให้เกิดโปรแกรมวิจัยร่วม (Ph.D. Research Program) ที่จะส่งผลในเกิดการค้นคว้าเชิงลึกรวมถึงนวัตกรรมควอนตัมจากหน่วยงานเหล่านี้ได้
สำหรับบัณฑิตที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในหลายภาคส่วนต้องการ ทางหลักสูตรได้รวบรวมข้อมูลไว้ดังรายละเอียดด้านล่างนี้ ซึ่งในภาพรวมแสดงให้เห็นถึงความต้องการนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรควอนตัมที่มีความรู้ความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมฐานควอนตัม ที่ทางหลักสูตรจะสามารถใช้องค์ความรู้และงานวิจัยที่มีผลิตบัณฑิตที่พึงประสงค์ได้

ภาพที่ 2 แสดงการคาดการณ์มูลค่าตลาดของเทคโนโลยีควอนตัม ในปี 2020-2030 [ที่มา: Quantum Technologies 2020 report, Yole Développement, 2020]

ภาพที่ 3 แสดงตัวอย่างของห่วงโซ่อุปทานของเทคโนโลยีควอนตัม [ที่มา: Quantum Technologies 2020 report, Yole Développement, 2020]

ภาพที่ 4 แสดง 5 อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการคำนวณควอนตัม [ที่มา: IBM]

ภาพที่ 5 แสดงโครงการวิจัยและพัฒนาที่อยู่ในแผนการดำเนินงานภายในกรอบเวลา 10 ปีข้างหน้า ของศูนย์วิจัยเทคโนโลยีควอนตัม

ระบบนิเวศควอนตัม (quantum ecosystem) จะต้องมีโซ่อุปทาน (supply chain) ที่ครบถ้วน หลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัมจึงต้องมีองค์ประกอบครบถ้วนตั้งแต่ต้นน้ำ (หลักสูตรพัฒนาคนด้านวิทยาศาสตร์ควอนตัม) กลางน้ำ (หลักสูตรพัฒนาคนด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม) และปลายน้ำ (ผู้ใช้งานบัณฑิตอันเป็นผลผลิตของหลักสูตรเพื่อสร้างนวัตกรรมฐานควอนตัม) เนื่องจากเป้าหมายสุดท้ายของทุกภาคส่วนดังกล่าว คือ การมีและใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตควอนตัม (quantum internet) ซึ่งก็คือ การกระจายเครื่องคำนวณควอนตัม และระบบเซ็นเซอร์ควอนตัม ให้สามารถประสานการทำงานผ่านเครือข่ายการสื่อสารควอนตัม ดังนั้น หลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม คณะวิทยาศาสตร์ มช. จึงวางโครงสร้างโซ่อุปทาน ไว้อย่างครบถ้วนทั้ง 3 ด้านหลัก ดังนี้
หมายเหตุ เนื่องจากเทคโนโลยีควอนตัมเป็นเรื่องใหม่ “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะต้องการ” จะถูกใช้แทน “ความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย”
การคำนวณและจำลองควอนตัม เพื่อศึกษากระบวนการจัดการ การออกแบบ และการผลิตที่ซับซ้อน โดยมีกลุ่มของตลาดที่ต้องการแรงงานผู้มีความรู้และทักษะด้านการคำนวณควอนตัม ดังนี้
อุตสาหกรรมสุขภาพและเภสัชกรรม
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะต้องการ – นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรควอนตัมที่เข้าใจและสามารถใช้ระบบเครือข่ายคำนวณควอนตัมเพื่อออกแบบโมเลกุลใหม่ ๆ เช่น โปรตีนที่มีสมบัติทางชีวเคมีตามต้องการ สารเร่งปฏิกิริยาที่ทรงประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต การค้นพบยาใหม่ ๆ การทำนายปฏิกิริยาการใช้ยาร่วมกัน เร่งกระบวนการทดสอบและอนุมัติการใช้ยาในคน การตรวจวินิจฉัยโรคเชิงคลินิก การวิเคราะห์จีโนมเพื่อการแพทย์แบบจำเพาะบุคคล ตลอดจนถึงการพยากรณ์ภาวะก่อนเป็นโรค และการวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมสุขภาพ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย – จำนวนบริษัทผลิตยาที่ได้รับการรับรองมาตรฐานวิธีการที่ดีในการผลิตมีมากกว่า (แผนปัจจุบัน) 146 บริษัท (แผนโบราณ) 53 บริษัท เช่น บริษัท บี.เอม.ฟาร์มาซี จำกัด บริษัท วิทยาศรม จำกัด บริษัท ไทยนครพัฒนา จำกัด บริษัท เกร๊ทเตอร์ฟาร์ม่า จำกัด บริษัท เอ.เอ็น.บี. ลาบอราตอรี่ (อำนวยเภสัช) จำกัด บริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด บริษัท ฟาร์ม่า อินโนวา จำกัด บริษัท เอ็มแอนด์เอชแมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด บริษัท อาร์เอ็กซ์ จำกัด บริษัท บี.เอ็ล.ฮั้ว จำกัด ฯลฯ รวมถึงผู้ใช้งานปลายน้ำ เช่น โรงพยาบาลต่าง ๆ ซึ่งมีจำนวนมากว่า 1,000 แห่งในประเทศไทย
อุตสาหกรรมวัสดุและการผลิตด้วยเครื่องจักร
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะต้องการ – นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรควอนตัมที่เข้าใจและสามารถใช้ระบบเครือข่ายคำนวณควอนตัมเพื่อออกแบบและค้นหาวัสดุใหม่ ๆ ออกแบบสารเติมแต่งที่มีสมบัติตามต้องการ รวมถึงการลดความซับซ้อนของกระบวนการผลิต การควบคุมคุณภาพ การหาค่าเหมาะสมกระบวนการผลิต และการวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทาน
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย – บริษัทผู้ผลิตรายย่อยจำนวนมาก
อุตสาหกรรมพลังงานและปิโตรเคมี
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะต้องการ – นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรควอนตัมที่เข้าใจและสามารถใช้ระบบเครือข่ายคำนวณควอนตัมเพื่อออกแบบวัสดุใหม่ ๆ และสารเติมแต่งที่มีสมบัติตามต้องการ เช่น สารลดแรงตึงผิว และตัวเร่งปฏิกิริยา รวมถึงการลดความซับซ้อนของกระบวนการผลิต กระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ ประเมินความคุ้มค่าแหล่งขุดเจาะน้ำมันใหม่ และเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจหาแหล่งน้ำมันโดยอาศัยข้อมูลภาพจากคลื่นไหวสะเทือน การคาดการณ์การใช้พลังงาน ระบบกริดในเครือข่ายแบตเตอรี่
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย – บริษัทสำรวจและผลิตปิโตรเลียมที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย เช่น PTTEP Energy Development Company Limited, Mermaid Subsea Services (Thailand) Ltd., Chevron Thailand Holdings Ltd., MP L21 (Thailand) Limited, OMV Aktiengesellschaft กลุ่มบริษัท อพิโก แอลแอลซี กลุ่มบริษัท บีจี เอเชีย อิงค์ กลุ่มบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด กลุ่มบริษัท อีโค่ โอเรียนท์ เอ็นเนอยี่ (ไทยแลนด์) ลิมิเต็ด กลุ่มบริษัท คริสเอ็นเนอร์ยี่ (กัลฟ์ ออฟ ไทยแลนด์) ลิมิเต็ด กลุ่มบริษัท มิตซุย ออยล์ เอ็กซโปลเรชั่น จำกัด กลุ่มบริษัท เอ็มพี จี1 (ประเทศไทย) จำกัด กลุ่มบริษัท Northern Gulf Petroleum Pte. Ltd. บริษัท ซาลามานเดอร์ เอนเนอร์ยี่ (อีแอนด์พี) ลิมิเต็ด ส่วนบริษัทที่เป็นผู้แปรรูปเชิงปิโตรเคมีในประเทศไทย ได้แก่ ไทยออยล์เพาเวอร์ จำกัด บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) บริษัท เฮ็งเคิลไทย (1999) จำกัด, บริษัท โนเบล เอ็น ซี จำกัด บริษัท รีเอเย่น อินดัสทรี จำกัด บริษัท แล็บแสกน จำกัด บริษัท ไทยออยส์ จำกัด (มหาชน) บจก.ไทยชินกงอินดัสตรี คอร์ปอเรชั่น บจก.เคมิคอล วิลเลจ บจก.อินเตอร์เนชั่นแนล ฟุตแวร์ บจก.ไบเออร์ไทย บมจ.วีนิไทย บจก.เทยิน โพลีเอสเตอร์ บมจ.อินโดรามา โพลีเอสเตอร์ อินดัสตรี้ส์ บจก.เพ็ทฟอร์ม (ประเทศไทย) ฯลฯ
อุตสาหกรรมการผลิตและโลจิสติกส์
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะต้องการ – นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรควอนตัมที่เข้าใจและสามารถใช้ระบบเครือข่ายคำนวณควอนตัมเพื่อแก้ไขปัญหาค่าเหมาะสม เพื่อหาชุดตัวแปรที่ก่อให้เกิดประสิทธิผลสูงที่สุดในทุกกระบวนการจัดการสินค้าและบริการตลอดห่วงโซ่อุปทาน การกำหนดเส้นทางและลำดับการขนส่ง การทำรายการสินค้า เครือข่ายขนส่งที่เหมาะสม การจัดการกลุ่มรถแท็กซี่ การพยากรณ์เที่ยวบิน วิเคราะห์พฤติการณ์ผิดปกติที่อาจนำไปสู่การลักลอบและฉ้อโกง การปฏิรูปเชิงพัฒนาการในสิ่งใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและโซ่อุปทาน และการวิเคราะห์ข้อเสนอของลูกค้าเพื่อการปฏิรูปเชิงพัฒนาการในสิ่งใหม่ อีกทั้งยังรวมถึงธุรกิจค้าปลีก – ส่ง อีกด้วย
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย – UPS (เงินหมุนเวียน 61 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อวัน ส่งสินค้าให้ผู้รับ 6 ล้านราย) FedEx (เครื่องบินขนส่ง 671 ลำ) DHL (พนักงาน 502,545 คนทั่วโลก) Maersk Marine (เรือบรรทุกขนาดใหญ่ 250 ลำ) Amex, Ryder System, Inc., TNT (เครื่องบิน 43 ลำ, รถบรรทุก 20,000 คัน) Expeditors, Panalpina (312 สาขาทั่วโลก) Deutsche Post DHL Group (1,300 สาขาทั่วโลก) บริษัทโลจิสติกส์ในประเทศไทย อย่างเช่น บริษัทยูนิคทรานส์ลิงค์ จำกัด บริษัทตงสึ่น โลจิสติกส์จำกัด FastShip.co, China Shipping One Stop Services, D-ONE Logistics, Logistics2Day, Kitpong Shipping, Good Freight And Transports Co.,Ltd., SK Transport นอกจากนี้ยังมีบริษัทขนส่งพัสดุที่จะส่งของเป็นรายชิ้น เช่น บริษัท Kerry Express, J&T Express, Flash Express, Alpha Fast, Ninja Van บริษัทขนส่งแบบออนดีมานด์หรือเหมาคัน เช่น บริษัท Deliveree, SCG Express, TheLorry Thailand, Lalamove, Nim Express, Inter Express Logistics, Giztix ฯลฯ
อุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะต้องการ – นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรควอนตัมที่เข้าใจและสามารถใช้ระบบเครือข่ายคำนวณควอนตัมเพื่อการถอดรหัส หากมีคนสร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมได้สำเร็จและเก็บเป็นความลับ สถานการณ์ที่ว่า ข้อความที่เครื่องเข้ารหัส Enigma ถูกถอดรหัสโดยที่กองทัพเยอรมันไม่รู้ตัวจะเกิดขึ้นอีกครั้ง
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย – กระทรวงกลาโหม (โดยเฉพาะกองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ)
ธุรกิจซอฟต์แวร์
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะต้องการ – นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรควอนตัมที่เข้าใจและสามารถพัฒนาซอฟต์แวร์และใช้ระบบเครือข่ายคำนวณควอนตัมให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสำหรับปัญหาที่จำเฉพาะกับแต่ละธุรกิจ ในเชิงของ solution provider โดยมีเป้าหมายที่การรวมเข้ากับระบบ AI และการเรียนรู้จักรกลควอนตัม
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย – ปัจจุบันไม่มีบริษัทในประเทศไทยที่ผลิตซอฟต์แวร์ที่สามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ควอนตัม รายชื่อบริษัทในต่างประเทศมีดังนี้ ชื่อบริษัท (ชื่อซอฟต์แวร์) D-Wave (Ocean), Rigetti (Forest), IBM (IQ Experience/Qiskit), Google (Cirq/Quantum Playground), Microsoft (LIQUi|> /QDK), Zapata Computing (Orquestra), 1Qbit (1QBit SDK), Amazon (Braket SDK), Xanadu (Strawberry Fields/Blackbird), Riverlane (DeltaFlow/Anian), Qutech (Quantum Inspire), StrangeWorks (Quantum Computing Platform), QC Ware (Forge), Q-CTRL (Black Opal/Boulder Opal/Open Controls), Quantum Benchmark (True-Q)
ธุรกิจการเงิน การธนาคาร
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะต้องการ – นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรควอนตัมที่เข้าใจและสามารถใช้ระบบเครือข่ายคำนวณควอนตัมเพื่อแก้ไขปัญหาค่าเหมาะสมในการหาชุดตัวแปรที่ก่อให้เกิดประสิทธิผลสูงที่สุดตลอดห่วงโซ่อุปทานทางการจัดการการเงิน การจัดการหลักทรัพย์ การกำหนดราคาตราสารอนุพันธ์ การซื้อขายหุ้นอัตโนมัติ การประเมินความเสี่ยง แจงพฤติกรรมการฉ้อโกง การแนะนำข้อเสนอทางการเงิน ตลอดจนธุรกรรมทางการเงินอื่น ๆ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย – กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยทั้งหมด 47 ธนาคาร
เศรษฐศาสตร์และตลาดหลักทรัพย์
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะต้องการ – นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรควอนตัมที่เข้าใจและสามารถใช้ระบบเครือข่ายคำนวณควอนตัมเพื่อหาชุดตัวแปรที่ก่อให้เกิดประสิทธิผลสูงที่สุดตลอดในการคาดเดาตลาดเพื่อการตัดสินใจด้านแผนงาน และการลงทุน
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย – บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทยจำนวน 817 บริษัท และ บริษัทหลักทรัพย์สมาชิก รวม 39 บริษัท
ธุรกิจประกันความเสี่ยง
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะต้องการ – นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรควอนตัมที่เข้าใจและสามารถใช้ระบบเครือข่ายคำนวณควอนตัมเพื่อประเมินความเสี่ยงปล่อยสินเชื่อเงินกู้ หลักค้ำประกัน ประนอมหนี้ การประเมินเครดิตสินทรัพย์ การประกันอุบัติภัย ตลอดจนถึงการประกันภาวะสงคราม
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย – ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยทั้งหมด 47 ธนาคาร และบริษัทประกันวินาศภัยไทย (ไม่นับ บริษัทประกันชีวิตจำนวน 29 บริษัท) จำนวน 46 บริษัท
ธุรกิจการศึกษา และวิจัย
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะต้องการ – นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรควอนตัมที่มีความรู้ความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรมฐานควอนตัม อีกทั้งยังมีทักษะสามารถใช้ระบบเครือข่ายคำนวณควอนตัมเพื่อการศึกษาพัฒนาคนได้
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย – ธุรกิจคอร์สออนไลน์, โครงการ quantum technology equalizer ใน ASEAN ของโครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยเทคโนโลยีควอนตัม มช. นักวิจัยสาขาวัสดุศาสตร์ นักวิจัยที่ทำงานกับข้อมูลขนาดใหญ่ เช่น Genomics Thailand งานวิจัยเก็บข้อมูลด้านดาราศาสตร์ และฟิสิกส์อนุภาค กรมทรัพยากรน้ำ การพยากรณ์อากาศ ฯลฯ
Research, Development, Test & Evaluation (RDT&E) ภาครัฐและเอกชน
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะต้องการ – นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรควอนตัมที่มีความรู้ความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรมฐานควอนตัม อีกทั้งยังมีทักษะสามารถใช้ระบบเครือข่ายคำนวณควอนตัมเพื่อการวิจัยที่สนับสนุนอุตสาหกรรมอุบัติใหม่ฐานควอนตัมได้
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย – หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ส่งเสริมการนำงานวิจัยออกสู่อุตสาหกรรม เช่น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) สำนักงานคณะกรรมการสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์และสุขภาพฯลฯ
เซ็นเซอร์ควอนตัมและมาตรวิทยาควอนตัม เพื่อสร้างอุปกรณ์การวัดที่มีความละเอียดแม่นยำสูงในระดับเทคโนโลยีใหม่
อุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะต้องการ – นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรควอนตัมที่เข้าใจและสามารถสร้าง ปรับปรุง ดัดแปลง พัฒนาเทคโนโลยีเซ็นเซอร์ควอนตัมและมาตรวิทยาควอนตัมเพื่อประโยชน์ในการป้องกันและการสงคราม เช่น เครื่องวัดอัตราเร่งเนื่องจากสนามโน้มถ่วงที่สามารถบอกการเคลื่อนกำลังพล รถถังอำพราง เครื่องบินล่องหน เรือดำน้ำ และโพรงใต้ดิน เทคโนโลยีเดียวกันยังสามารถพัฒนาไปเป็นเข็มทิศควอนตัมที่สามารถนำทางพาหนะ อากาศยาน และยานอวกาศโดยไม่มีการส่งสัญญาณไปภายนอกอีกด้วย ตัวอย่างต่อมาคือ เครื่องวัดสนามแม่เหล็กที่สามารถตรวจหาระเบิด โลหะฝังใต้ดิน และการเคลื่อนที่ของยุทธภัณฑ์ที่ทำจากโลหะ เรดาร์ควอนตัมที่สามารถตรวจจับโดรนขนาดเล็กและเครื่องบินล่องหน นาฬิกาอะตอมที่ทำให้การระบุตำแหน่งมีความแม่นยำสูงระดับมิลลิเมตร ทำให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น ฝูงโดรนพิฆาต การสกัดกั้นขีปนาวุธที่แม่นยำสูง
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย – กระทรวงกลาโหม (โดยเฉพาะกองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ), ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ, โดยมี บริษัทที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศไทยถึงปี 2024 ดังนี้ บริษัท ชัยเสรี, RV Connex, Saab, Airbus Helicopters, Sikorsky, Northrop Grumman Corp., Lockheed Martin Corp., Leonardo, and Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering.
การสื่อสารควอนตัม เพื่อต่อต้านการดักจับข้อมูลโดยคอมพิวเตอร์ควอนตัม โดยระบบจะต้องทำงานร่วมกันกับระบบเครือข่ายการสื่อสารในปัจจุบันได้ เพื่อความปลอดภัยทางไซเบอร์, Big data, IoT ฯลฯ
อุตสาหกรรมการโทรคมนาคม การเข้ารหัสและการโจรกรรม
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะต้องการ – นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรควอนตัมที่เข้าใจและสามารถจัดเตรียมเครื่องมือหรือวิธีการไว้สำหรับการเข้ารหัสหลังควอนตัม (post-quantum cryptography)
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย – บริษัทที่ให้บริการโทรคมนาคมทั้งหมด (มูลค่าตลาดในประเทศไทยปี 2561 คือ 619,143 ล้านบาท) กระทรวงกลาโหม (โดยเฉพาะกองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ) ฯลฯ

เอกสารอ้างอิง
[1] https://th.wikipedia.org/wiki/รายชื่อบริษัทประกันภัยไทย
[2] https://research.aimultiple.com/quantum-software/
[3] https://www.prachachat.net/ict/news-523877
[4] https://store.globaldata.com/report/gddf0558mr–future-of-the-thai-defense-industry-market-attractiveness-competitive-landscape-and-forecasts-to-2024/
[5] https://www.set.or.th/th/company/companylist.html
[6] https://dmf.go.th/public/list/data/index/menu/917/mainmenu/611
[7] https://topbestbrand.com/บริษัทโลจิสติกส์ที่ดีท
[8] http://m.th.globalytdlogistics.com/news/the-world-s-top-10-international-logistics-com-23408037.html
[9] http://www.thaiautoparts.or.th/index.php?op=member-index&al=%E0%B8%81
[10] http://thailandindustry.blogspot.com/2013/09/blog-post_6335.html
[11] http://dmsic.moph.go.th/index/detail/7505
[12] http://www.design-alternative.com/references/0201010102-กลุ่มบริษัทอุตสาหกรรมยาความงามและสุขภาพ
[13] http://plastic.oie.go.th/CompanyList.aspx?tid=1&id=9

12. ความสัมพันธ์กับหลักสูตรอื่นที่เปิดสอนในคณะ/ภาควิชาอื่น/หลักสูตรอื่น ของสถาบัน
12.1 ความสัมพันธ์ของกระบวนวิชาในหลักสูตรที่เปิดสอนในคณะ/ภาควิชา/หลักสูตรอื่น
หมวดวิชา กระบวนวิชา
เป็นกระบวนวิชาของหลักสูตรโดยตรง ภาควิชาและคณะ
ที่เปิดสอนกระบวนวิชานี้ หมายเหตุ
กระบวนวิชาเลือกในสาขาวิชาเฉพาะ 1. 207703
(กลศาสตร์ควอนตัม 1) ไม่ใช่ ภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์
2. 207704
(กลศาสตร์ควอนตัม 1) ไม่ใช่ ภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์
3. 207705
(พลศาสตร์ไฟฟ้าแบบฉบับ 1) ไม่ใช่ ภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์
4. 207775
(ทัศนศาสตร์ควอนตัม 1) ไม่ใช่ ภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์

12.2 ความสัมพันธ์ของกระบวนวิชาในหลักสูตร ที่ให้หลักสูตรอื่นมาเรียนด้วย
ไม่มี

12.3 การบริหารจัดการ
หลักสูตรนี้มีเป้าหมายที่จะบูรณาการกับหลักสูตรอื่นที่มีความเกี่ยวข้องกัน เช่น หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาฟิสิกส์ ซึ่งมีเนื้อหากระบวนวิชาบางวิชาที่นักศึกษาในหลักสูตรสามารถเลือกเรียนเพื่อเสริมความเข้าใจและเพื่อให้สามารถนำทฤษฎีที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ในการออกแบบการทดลองและวิจัยสำหรับการทำดุษฎีนิพนธ์และเผยแพร่ผลงานวิชาการ โดยการบริหารจัดการข้อ 12.1 ให้อยู่ในความรับผิดชอบของสาขาวิชา โดยมีการตรวจสอบข้อมูลกระบวนวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา และประสานงานกับภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ในการลงทะเบียนของนักศึกษาในปีนั้นๆ

หมวดที่ 2 ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร
1. ปรัชญา วัตถุประสงค์ของหลักสูตร และผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร
1.1 ปรัชญา
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม (หลักสูตรนานาชาติ) เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการพัฒนาองค์ความรู้พื้นฐาน องค์ความรู้เชิงลึก การคิดค้นพัฒนาทฤษฎีควบคู่กับการทดลองขั้นแนวหน้า ซึ่งสามารถต่อยอดสู่นวัตกรรมควอนตัมขั้นสูงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัมที่มีเนื้อหาเป็นสากลเพื่อตอบสนองความต้องการศึกษาจากนานาประเทศ เพื่อรองรับเทคโนโลยีที่มีผลกระทบแบบก้าวกระโดดในระดับโลกในด้านการคำนวณ การจำลอง การเข้ารหัส การสื่อสารและการวัดเชิงควอนตัม และเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนจากการสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาและการวิจัยระหว่างหลักสูตรและหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ในการสร้างนวัตกรรมควอนตัมของประเทศ
1.2 วัตถุประสงค์ เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มี
1) ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และ มีทักษะการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีควอนตัม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ องค์ความรู้เชิงลึก และมีทักษะในการพัฒนาทฤษฎีไปพร้อมกับการทดลองขั้นแนวหน้าเพื่อสามารถต่อยอดสู่นวัตกรรมควอนตัมขั้นสูงและเทคโนโลยีเชิงลึก (Deep Technology)
2) ความรู้ความสามารถและทักษะการแก้ปัญหาเชิงควอนตัมที่ซับซ้อน มีความพร้อมสำหรับการทำงานโดยอาศัยประสบการณ์การเรียนรู้จริง มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณตามหลักวิชาการ/วิชาชีพ และเป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสังคมและตลาดงานปัจจุบัน เพื่อสอดรับกับการสร้างโครงสร้างพื้นฐานในการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยเข้าสู่การเป็นผู้นำด้านวิชาการ การพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมในยุคเทคโนโลยีควอนตัม
3) ความรู้ความสามารถและความชำนาญในการทำวิจัยแบบสรรพศาสตร์ (Multidisciplinary) ที่เกิดจากความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานและผู้เชี่ยวชาญจากสาขาอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
1.3 ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (Program Learning Outcomes: PLOs)
PLO 1 บัณฑิตมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และ มีทักษะการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีควอนตัม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ องค์ความรู้เชิงลึก และมีทักษะในการพัฒนาทฤษฎีไปพร้อมกับการทดลองขั้นแนวหน้าเพื่อสามารถต่อยอดสู่นวัตกรรมควอนตัมขั้นสูงและเทคโนโลยีเชิงลึก (Deep Technology)
1.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา สามารถพัฒนาทฤษฎีและการทดลองขั้นแนวหน้าในการสร้างองค์ความรู้เชิงลึกเพื่อต่อยอดงานวิจัยสู่นวัตกรรมขั้นสูง
1.2 สามารถสืบค้น รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
1.3 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและมีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลงและเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่
PLO 2 บัณฑิตสามารถทำวิจัยแบบสรรพศาสตร์ (Multidisciplinary) โดยประยุกต์องค์ความรู้ที่เกิดจากความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานและผู้เชี่ยวชาญจากสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อวิเคราะห์ปัญหาเชิงควอนตัมที่มีความซับซ้อนได้
2.1 สามารถวิเคราะห์ปัญหารวมทั้งประยุกต์ความรู้ทักษะและการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหาที่มีความซับซ้อน
2.2 สามารถบูรณาการความรู้ในที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
2.3 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ
PLO 3 บัณฑิตมีภาวะความเป็นผู้นำ กล้าแสดงออก รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้จักบทบาทหน้าที่ของตัวเองในฐานะผู้นำและผู้ตาม สามารถวางแผนงานวิจัยให้เสร็จตามที่กำหนด ใฝ่รู้ในการแสวงหาความก้าวหน้าทางวิชาการ และการเรียนรู้ตลอดชีวิต
3.1 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีม และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
3.2 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสมและเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวมพร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม
3.3 มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
3.4 คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ
3.5 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
PLO 4 บัณฑิตมีการพัฒนาทักษะด้านภาษา สามารถติดต่อสื่อสาร นำเสนอผลงานด้วยภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดีและมีทักษะในการเขียนบทความวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ
4.1 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม
4.2 มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับการใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารอย่างเหมาะสม สามารถแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือนำสถิติมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์
PLO 5 บัณฑิตมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณตามหลักวิชาการ/วิชาชีพ มีความรับผิดชอบและวินัยในตนเอง
5.1 ตระหนักในคุณค่า และคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริตมีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
5.2 มีวินัยตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆขององค์กรและสังคม
2. ความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา
หลักสูตร 3 ปี ฐานโท แบบ 1.1
ปีที่ ความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา (YLOs)
1 หลักสูตรนี้ ไม่มีการเรียนกระบวนวิชา ดังนั้น นักศึกษาจึงจำเป็นต้องมีองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัมมาก่อนแล้ว (PLO1) และในปีแรกควรจะมีการพัฒนาทักษะในการค้นคว้าและเรียนรู้ด้วยตัวเองเพิ่มเติม พัฒนาทักษะในด้านการประยุกต์ทฤษฎีเพื่อออกแบบการทดลองสำหรับสร้างองค์ความรู้ใหม่และเตรียมพร้อมในการเสนอหัวข้อโครงร่าง (PLO3) มีการพัฒนาการสื่อสารโดยเฉพาะภาษาอังกฤษที่จำเป็นต้องใช้ในการนำเสนอข้อมูลและการสอบภาษาต่างประเทศ (PLO4) มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบในการทำวิจัย (PLO5)
2 นักศึกษาเข้าใจขั้นตอนและกระบวนการวิจัย สามารถวางแผนอย่างเป็นระบบเพื่อให้งานวิจัยดำเนินไปได้ตามกำหนด (PLO3) สามารถสังเคราะห์และประยุกต์องค์ความรู้จากศาสตร์ที่เกี่ยวข้องที่ได้รับจากบุคคลหรือหน่วยงานอื่นที่มีความร่วมมือด้านงานวิจัย (PLO2) แสดงออกถึงความสามารถในการนำเสนองานวิจัยและรับฟังข้อคิดเห็นจากผู้อื่นเพื่อนำมาปรับปรุงงานวิจัย (PLO3) สามารถนำเสนอผลงานทางวิชาการและเขียนตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการในระดับนานาชาติ (PLO4)
3 นักศึกษาสามารถแสดงภาวะความเป็นผู้นำในการชี้นำประเด็นสำคัญของงานวิจัย (PLO3) สามารถเขียนบทความทางวิชาการเพื่อเผยแพร่และตีพิมพ์ผ่านวารสารทางวิชาการในระดับนานาชาติ สามารถสื่อสารและนำเสนอผลงานวิจัยต่อสาธารณะได้ (PLO4) แสดงถึงความมีจรรยาบรรณในวิชาการและวิชาชีพ (PLO5)
หลักสูตร 4 ปี ฐานตรี แบบ 1.2
ปีที่ ความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา (YLOs)
1 หลักสูตรนี้ ไม่มีการเรียนกระบวนวิชา ดังนั้น นักศึกษาจึงจำเป็นต้องมีองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัมมาก่อนแล้ว (PLO1) และในปีแรกควรจะมีการพัฒนาทักษะในการค้นคว้าและเรียนรู้ด้วยตัวเองเพิ่มเติมทั้งในส่วนทฤษฎีและการทดลองสำหรับสร้างองค์ความรู้ใหม่และเพื่อเตรียมความพร้อมในการเสนอหัวข้อโครงร่าง (PLO3) มีการพัฒนาการสื่อสารโดยเฉพาะภาษาอังกฤษที่จำเป็นต้องใช้ในการนำเสนอข้อมูลและการสอบภาษาต่างประเทศ (PLO4) มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบในการทำวิจัย (PLO5)
2 นักศึกษาสามารถสังเคราะห์และประยุกต์องค์ความรู้จากศาสตร์ที่เกี่ยวข้องที่ได้รับจากบุคคลหรือหน่วยงานอื่นที่มีความร่วมมือด้านงานวิจัย (PLO2) แสดงออกถึงความสามารถในการทำงานวิจัยและรับฟังข้อคิดเห็นจากผู้อื่นเพื่อนำมาปรับปรุงงานวิจัย (PLO3) สามารถนำเสนอผลงานทางวิชาการและเขียนตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการในระดับนานาชาติ (PLO4)
3 นักศึกษาเข้าใจขั้นตอนและกระบวนการวิจัย สามารถวางแผนอย่างเป็นระบบเพื่อให้งานวิจัยดำเนินไปได้ตามกำหนด (PLO3) สามารถนำเสนอผลงานทางวิชาการและเขียนตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการในระดับนานาชาติ (PLO4)
4 นักศึกษาสามารถแสดงภาวะความเป็นผู้นำในการชี้นำประเด็นสำคัญของงานวิจัย (PLO3) สามารถเขียนบทความทางวิชาการเพื่อเผยแพร่และตีพิมพ์ผ่านวารสารทางวิชาการในระดับนานาชาติ สามารถสื่อสารและนำเสนอผลงานวิจัยต่อสาธารณะได้ (PLO4) แสดงถึงความมีจรรยาบรรณในวิชาการและวิชาชีพ (PLO5)
หลักสูตร 3 ปี ฐานโท แบบ 2.1
ปีที่ ความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา (YLOs)
1 สำหรับแผนนี้เป็นแผนที่มีการเรียนการสอนทั้งในส่วนของทฤษฎีและการทำวิจัย ดังนั้นในปีแรก นักศึกษาควรจะสามารถประยุกต์ความรู้ในเชิงทฤษฎีและทักษะที่ได้รับในระหว่างเรียนเพื่อเตรียมสร้างองค์ความรู้ใหม่หรืออุปกรณ์ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีควอนตัม (PLO1) มีการพัฒนาการสื่อสารโดยเฉพาะภาษาอังกฤษที่จำเป็นต้องใช้ในการนำเสนอข้อมูลและการสอบภาษาต่างประเทศ (PLO4) มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบในการทำวิจัย (PLO5)
2 นักศึกษามีทักษะในการค้นคว้าและเรียนรู้ด้วยตัวเองเพิ่มเติมทั้งในส่วนทฤษฎีและการทดลอง สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่และเพื่อเตรียมความพร้อมในการเสนอหัวข้อโครงร่าง เข้าใจขั้นตอนและกระบวนการวิจัย สามารถวางแผนอย่างเป็นระบบเพื่อให้งานวิจัยดำเนินไปได้ตามกำหนด (PLO3) สามารถสังเคราะห์และประยุกต์องค์ความรู้จากศาสตร์ที่เกี่ยวข้องที่ได้รับจากบุคคลหรือหน่วยงานอื่นที่มีความร่วมมือด้านงานวิจัย (PLO2) สามารถนำเสนอผลงานทางวิชาการและเขียนตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการในระดับนานาชาติ (PLO4)
3 นักศึกษาสามารถแสดงภาวะความเป็นผู้นำในการชี้นำประเด็นสำคัญของงานวิจัย (PLO3) สามารถเขียนบทความทางวิชาการเพื่อเผยแพร่และตีพิมพ์ผ่านวารสารทางวิชาการในระดับนานาชาติ สามารถสื่อสารและนำเสนอผลงานวิจัยต่อสาธารณะได้ (PLO4) แสดงถึงความมีจรรยาบรรณในวิชาการและวิชาชีพ (PLO5)
หลักสูตร 4 ปี ฐานตรี แบบ 2.2
ปีที่ ความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา (YLOs)
1 สำหรับแผนนี้เป็นแผนที่มีการเรียนการสอนทั้งในส่วนของทฤษฎีและการทำวิจัย ดังนั้นในปีแรก นักศึกษาควรจะสามารถประยุกต์ความรู้ในเชิงทฤษฎีและทักษะที่ได้รับในระหว่างเรียนเพื่อเตรียมสร้างองค์ความรู้ใหม่หรืออุปกรณ์ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีควอนตัม (PLO1) มีการพัฒนาการสื่อสารโดยเฉพาะภาษาอังกฤษที่จำเป็นต้องใช้ในการนำเสนอข้อมูลและการสอบภาษาต่างประเทศ (PLO4) มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบในการทำวิจัย (PLO5)
2 ในปีที่สอง นักศึกษาควรจะสามารถใช้ความรู้ที่ได้เรียนและทักษะที่ได้รับการพัฒนา ในการทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อวิเคราะห์ปัญหาเชิงควอนตัมที่มีความซับซ้อนมากขึ้น (PLO2) สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่และนวัตกรรมจากข้อมูลงานวิจัยที่เพิ่มขึ้น (PLO1) สามารถนำเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการ ต่อสาธารณะและการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูลสากลและเป็นที่ยอมรับได้ (PLO4)
3 นักศึกษาเข้าใจขั้นตอนและกระบวนการวิจัย สามารถวางแผนงานวิจัยอย่างเป็นระบบเพื่อให้งานวิจัยเสร็จลุล่วงตามเวลาที่กำหนด (PLO3) สามารถนำเสนอผลงานทางวิชาการและเขียนตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการในระดับนานาชาติ (PLO4)
4 นักศึกษาสามารถแสดงภาวะความเป็นผู้นำในการชี้นำประเด็นสำคัญของงานวิจัย (PLO3) สามารถเขียนบทความทางวิชาการเพื่อเผยแพร่และตีพิมพ์ผ่านวารสารทางวิชาการในระดับนานาชาติ สามารถสื่อสารและนำเสนอผลงานวิจัยต่อสาธารณะได้ (PLO4) แสดงถึงความมีจรรยาบรรณในวิชาการและวิชาชีพ (PLO5)

3. แผนพัฒนาปรับปรุง
แผนการพัฒนา/เปลี่ยนแปลง กลยุทธ์ หลักฐาน/ตัวบ่งชี้
มีการปรับปรุงหลักสูตรทุก 5 ปี รวบรวมติดตามผลการประเมิน QA ของหลักสูตรรวมภายใน 5 ปี ในด้านความพึงพอใจ และภาวะการได้งานของบัณฑิต และจำนวนผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่  ระดับความพึงพอใจของนายจ้าง ผู้ประกอบการ และผู้ใช้บัณฑิต
 ผลงานของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่

หมวดที่ 3 ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร
1. ระบบการจัดการศึกษา
1.1 ระบบ
 ระบบการศึกษาตลอดปี
 ระบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ
1 ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาการศึกษา ไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
 ระบบหน่วยการศึกษา (Module)
1.2 การจัดการศึกษาภาคการศึกษาพิเศษ (ภาคฤดูร้อน)
 แผนการศึกษากำหนดให้มีภาคการศึกษาพิเศษ
 แผนการศึกษาไม่มีภาคการศึกษาพิเศษ
1.3 การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค
ไม่มี
2. การดำเนินการหลักสูตร
2.1 วัน – เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
 ระบบการศึกษาตลอดปี (เดือน……………..ถึง…………………..)
 ในเวลาราชการ
 นอกเวลาราชการ (ระบุ)……………………………………………………………………………….
 ระบบทวิภาค
ภาคการศึกษาที่ 1 ตั้งแต่เดือน มิถุนายน ถึงเดือน ตุลาคม
ภาคการศึกษาที่ 2 ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน ถึงเดือน มีนาคม
 ในเวลาราชการ
 นอกเวลาราชการ (ระบุ)……………………………………………………………………………….
 ระบบหน่วยการศึกษา (Module) (เดือน……………..ถึง…………………..)
 ในเวลาราชการ
 นอกเวลาราชการ (ระบุ)……………………………………………………………………………….
2.2 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
หลักสูตร แบบ 1.1
1. เป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง การรับนักศึกษาในแต่ละปีการศึกษา
2. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ควอนตัม สาขาเทคโนโลยีควอนตัม สาขาวิชาฟิสิกส์ สาขาวิชาฟิสิกส์ประยุกต์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
3. มีผลการเรียนในขั้นดี ได้เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.25 ในระบบลำดับขั้นสูงสุด 4.0 หรือมีผลงานวิจัยและตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล เช่น ISI Web of Science หรือ Scopus อย่างน้อย 1 เรื่องโดยเป็นผู้แต่งชื่อแรก
4. มีความรู้ภาษาอังกฤษในทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียนในระดับดี และมีผลสอบภาษาต่างประเทศ โดยเป็นไปตามประกาศของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
5. คุณสมบัตินอกเหนือจากนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม
หลักสูตร แบบ 1.2
1. เป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง การรับนักศึกษาในแต่ละปีการศึกษา
2. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ควอนตัม สาขาเทคโนโลยีควอนตัม สาขาวิชาฟิสิกส์ สาขาวิชาฟิสิกส์ประยุกต์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
3. มีผลการเรียนในขั้นดี ได้เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.5 ในระบบลำดับขั้นสูงสุด 4.0 มีพื้นความรู้ ความสามารถ และศักยภาพเพียงพอที่จะทำดุษฎีนิพนธ์ และมีผลงานวิจัยและตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล เช่น ISI Web of Science หรือ Scopus อย่างน้อย 1 เรื่องโดยเป็นผู้แต่งชื่อแรก
4. มีความรู้ภาษาอังกฤษในทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียนในระดับดี และมีผลสอบภาษาต่างประเทศ โดยเป็นไปตามประกาศของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
5. คุณสมบัตินอกเหนือจากนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม

หลักสูตร แบบ 2.1
1. เป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง การรับนักศึกษาในแต่ละปีการศึกษา
2. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ควอนตัม สาขาเทคโนโลยีควอนตัม สาขาวิชาฟิสิกส์ สาขาวิชาฟิสิกส์ประยุกต์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
3. มีความรู้ภาษาอังกฤษในทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียนในระดับดี และมีผลสอบภาษาต่างประเทศ โดยเป็นไปตามประกาศของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4. คุณสมบัตินอกเหนือจากนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม

หลักสูตร แบบ 2.2
1. เป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง การรับนักศึกษาในแต่ละปีการศึกษา
2. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ควอนตัม สาขาเทคโนโลยีควอนตัม สาขาวิชาฟิสิกส์ สาขาวิชาฟิสิกส์ประยุกต์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
3. มีผลการเรียนในขั้นดี ได้เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.5 ในระบบลำดับขั้นสูงสุด 4.0 มีพื้นความรู้ ความสามารถ และศักยภาพเพียงพอที่จะทำดุษฎีนิพนธ์
4. มีความรู้ภาษาอังกฤษในทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียนในระดับดี และมีผลสอบภาษาต่างประเทศ โดยเป็นไปตามประกาศของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
5. คุณสมบัตินอกเหนือจากนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม
2.3 ปัญหาของนักศึกษาแรกเข้า
• ความรู้ด้านภาษาต่างประเทศไม่เพียงพอ
 ความรู้ด้านคณิตศาสตร์/วิทยาศาสตร์ไม่เพียงพอ
 การปรับตัวในการเรียนระดับที่สูงขึ้น
 นักศึกษาไม่ประสงค์จะเรียนในสาขาวิชาที่สอบคัดเลือกได้
 อื่นๆ ……………………………….
2.4 กลยุทธ์ในการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา/ข้อจำกัดของนักศึกษาในข้อ 2.3
 จัดสอนเสริมในส่วนที่เป็นเนื้อหาเฉพาะทางและการพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องเช่น
คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
 จัดการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ แนะนำการวางเป้าหมายชีวิต เทคนิคการเรียนใน
มหาวิทยาลัย และการแบ่งเวลา
 มอบหมายหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษาให้แก่อาจารย์ทุกคนทำหน้าที่สอดส่องดูแล ตักเตือน
ให้คำแนะนำแก่นักศึกษา
 จัดกิจกรรมเสริมความรู้เกี่ยวกับการทำวิจัย
 อื่นๆ …………………………………

2.5 แผนการรับนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระยะ 5 ปี

ปีการศึกษา 2564 2565 2566 2567 2568
ภาคการศึกษาที่ 1 2 1 2 1 2 1 2 1 2
แบบ 1.1 (ภาคปกติ)
จำนวนนักศึกษาที่คาดว่าจะรับ 2 2 2 2 2
จำนวนนักศึกษาที่สะสมในหลักสูตร
ชั้นปีที่ 1 2 2 2 2 2
ชั้นปีที่ 2 2 2 2 2
ชั้นปีที่ 3 2 2 2
รวม 2 2 2 4 2 6 6
จำนวนนักศึกษาที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษา 2 2 2
แบบ 1.2 (ภาคปกติ)
จำนวนนักศึกษาที่คาดว่าจะรับ 2 2 2 2 2
จำนวนนักศึกษาที่สะสมในหลักสูตร
ชั้นปีที่ 1 2 2 2 2 2
ชั้นปีที่ 2 2 2 2 2
ชั้นปีที่ 3 2 2 2
ชั้นปีที่ 4 2 2
รวม 2 2 2 4 2 6 2 8
จำนวนนักศึกษาที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษา 2 2

ปีการศึกษา 2564 2565 2566 2567 2568
ภาคการศึกษาที่ 1 2 1 2 1 2 1 2 1 2
แบบ 2.1 (ภาคปกติ)
จำนวนนักศึกษาที่คาดว่าจะรับ 2 2 2 2 2
จำนวนนักศึกษาที่สะสมในหลักสูตร
ชั้นปีที่ 1 2 2 2 2 2
ชั้นปีที่ 2 2 2 2 2
ชั้นปีที่ 3 2 2 2
รวม 2 2 2 4 2 6 6
จำนวนนักศึกษาที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษา 2 2 2
แบบ 2.2 (ภาคปกติ)
จำนวนนักศึกษาที่คาดว่าจะรับ 2 2 2 2 2
จำนวนนักศึกษาที่สะสมในหลักสูตร
ชั้นปีที่ 1 2 2 2 2 2
ชั้นปีที่ 2 2 2 2 2
ชั้นปีที่ 3 2 2 2
ชั้นปีที่ 4 2 2
รวม 2 2 2 4 2 6 2 8
จำนวนนักศึกษาที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษา 2 2
2.6 งบประมาณตามแผน
1. รายงานข้อมูลงบประมาณ 3 ปี โดยจำแนกรายละเอียดตามหัวข้อการเสนอตั้งงบประมาณ

แผนงาน ปีงบประมาณ
2564 2565 (ประมาณการ) 2566 (ประมาณการ)
งบประมาณแผ่นดิน งบประมาณเงินรายได้ งบประมาณแผ่นดิน งบประมาณเงินรายได้ งบประมาณแผ่นดิน งบประมาณเงินรายได้
การเรียนการสอน 367,566,100 76,045,400 353,260,300 65,458,000 360,325,500 68,654,000
วิจัย 11,448,600 11,046,000 11,168,000
บริการวิชาการแก่สังคม 1,837,300 1,656,000 1,676,000
การทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม 530,000 530,000 530,000
สนับสนุนวิชาการ 2,178,000 2,023,000 2,049,000
บริหารมหาวิทยาลัย 47,369,200 31,460,700 48,316,600 28,955,000 49,283,000 28,106,000
รวม 414,935,300 123,500,000 401,576,900 109,668,000 409,608,500 112,183,000
รวมทั้งสิ้น 538,435,300 511,244,900 521,791,500
2. ค่าใช้จ่ายต่อหัวในการผลิตบัณฑิต
แบบ 1.1 103,940 บาท
แบบ 1.2 119,060 บาท
แบบ 2.1 96,380 บาท
แบบ 2.2 103,940 บาท

2.7 ระบบการศึกษา
 แบบชั้นเรียน
 แบบทางไกลผ่านสื่อสิ่งพิมพ์เป็นหลัก
 แบบทางไกลผ่านสื่อแพร่ภาพและเสียงเป็นสื่อหลัก
 แบบทางไกลทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อหลัก (E-learning)
 แบบทางไกลทางอินเตอร์เนต
 อื่นๆ (ระบุ) แบบชั้นเรียนร่วมกับการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์
2.8 การเทียบโอนหน่วยกิต กระบวนวิชาและการลงทะเบียนเรียนข้ามมหาวิทยาลัย
1. เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2559
2. เป็นไปตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง แนวปฏิบัติการเปลี่ยนแผนการศึกษา การย้ายสาขาวิชา การรับโอนนักศึกษาและการเทียบโอนหน่วยกิตของนักศึกษาบัณฑิตศึกษา
3. หลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน
3.1 หลักสูตร
3.1.1 จำนวนหน่วยกิต
หลักสูตร 3 ปี ฐานโท แบบ 1.1 (thesis only) จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต
หลักสูตร 4 ปี ฐานตรี แบบ 1.2 (thesis only) จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร 72 หน่วยกิต
หลักสูตร 3 ปี ฐานโท แบบ 2.1 จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
หลักสูตร 4 ปี ฐานตรี แบบ 2.2 จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต
3.1.2 โครงสร้างหลักสูตร
หลักสูตร แบบ 1.1 สำหรับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต
ก. ปริญญานิพนธ์
231898 ดุษฎีนิพนธ์ 48 หน่วยกิต
ข. กิจกรรมทางวิชาการ ประกอบด้วย
1. นักศึกษาจะต้องเข้าร่วมสัมมนาตลอดระยะเวลาการศึกษาปกติของหลักสูตร รวมถึงกิจกรรมเสริมทักษะอื่นตามความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษา
2. ผลงานดุษฎีนิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์ได้รับการเผยแพร่ หรืออย่างน้อยได้รับการตอบรับให้เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติ ที่อยู่ในฐานข้อมูล ISI, Scopus, IEEE, PubMed หรือ Web of Science อย่างน้อย 2 เรื่อง โดยผลงานตีพิมพ์อย่างน้อย 1 เรื่องจะต้องอยู่ในวารสารที่มี ISI Impact Factor (Quatile 1 หรือ 2) และมีชื่อนักศึกษาเป็นชื่อแรก
3. เสนอผลงานดุษฎีนิพนธ์ หรือส่วนหนึ่งของผลงานดุษฎีนิพนธ์แบบบรรยาย ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชา อย่างน้อย 1 เรื่อง
4. นักศึกษาต้องรายงานผลการศึกษาตามแบบรายงานผลของบัณฑิตวิทยาลัย ทุกภาคการศึกษา โดยผ่านความเห็นชอบของประธานกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำคณะและรวบรวมส่งบัณฑิตวิทยาลัยทุกภาคการศึกษา
ค. กระบวนวิชาที่ไม่นับหน่วยกิตสะสม
1. ตามเงื่อนไขของบัณฑิตวิทยาลัย ภาษาต่างประเทศ
2. ตามเงื่อนไขของสาขาวิชา
– นักศึกษาต้องลงทะเบียนและผ่านกระบวนวิชาสัมมนา
231891 สัมมนาปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม 1
231892 สัมมนาปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม 2
231893 สัมมนาปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม 3
– นักศึกษาที่มีความรู้พื้นฐานไม่เพียงพอ ต้องลงทะเบียนเรียนในกระบวนวิชาที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรประจำสาขาวิชาแนะนำ
– นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนกระบวนวิชานอกสาขาวิชาเฉพาะและกระบวนวิชาระดับปริญญาตรีขั้นสูงในสาขาอื่น หรือกระบวนวิชาของคณะอื่นที่เกี่ยวข้องกับการทำดุษฎีนิพนธ์ตามความเห็นชอบของคณะกรรมการที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์
ง. การสอบวัดคุณสมบัติ
1. นักศึกษาจะต้องสอบวัดคุณสมบัติเพื่อประเมินความพร้อมและความสามารถ เพื่อมีสิทธิ์เสนอโครงร่างดุษฎีนิพนธ์
2. นักศึกษาที่สอบไม่ผ่าน มีสิทธิ์สอบแก้ตัวได้อีก 1 ครั้ง โดยต้องยื่นคำร้องขอสอบใหม่
การสอบแก้ตัวต้องสอบให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ภาคการศึกษาถัดไปนับจากการสอบครั้งแรก
3. นักศึกษาที่สอบไม่ผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ คณะกรรมการบริหารหลักสูตรบัณฑิตศึกษาประจำสาขาวิชาอาจพิจารณาให้โอนเป็นนักศึกษาระดับปริญญาโทได้
จ. การสอบประมวลความรู้
ผ่านการสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination) โดยนักศึกษายื่นคำร้องขอสอบต่อบัณฑิตวิทยาลัย โดยผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์หรืออาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์หลัก

หลักสูตร แบบ 1.2 สำหรับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร 72 หน่วยกิต
ก. ปริญญานิพนธ์
231897 ดุษฎีนิพนธ์ 72 หน่วยกิต
ข. กิจกรรมทางวิชาการ ประกอบด้วย
1. นักศึกษาจะต้องเข้าร่วมสัมมนาตลอดระยะเวลาการศึกษาปกติของหลักสูตร รวมถึงกิจกรรมเสริมทักษะอื่นตามความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษา
2. ผลงานดุษฎีนิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์ได้รับการเผยแพร่ หรืออย่างน้อยได้รับการตอบรับให้เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติ ที่อยู่ในฐานข้อมูล ISI, Scopus, IEEE, PubMed หรือ Web of Science อย่างน้อย 2 เรื่องที่มีชื่อนักศึกษาเป็นชื่อแรก โดยผลงานตีพิมพ์อย่างน้อย 1 เรื่องจะต้องอยู่ในวารสารที่มี ISI Impact Factor (Quatile 1 หรือ 2)
3. เสนอผลงานดุษฎีนิพนธ์ หรือส่วนหนึ่งของผลงานดุษฎีนิพนธ์ แบบบรรยาย ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชา อย่างน้อย 1 เรื่อง
4. นักศึกษาต้องรายงานผลการศึกษาตามแบบรายงานผลของบัณฑิตวิทยาลัย
ทุกภาคการศึกษาโดยผ่านความเห็นชอบของประธานกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำคณะ และรวบรวมส่งบัณฑิตวิทยาลัยทุกภาคการศึกษา
ค. กระบวนวิชาที่ไม่นับหน่วยกิตสะสม
1. ตามเงื่อนไขของบัณฑิตวิทยาลัย ภาษาต่างประเทศ
2. ตามเงื่อนไขของสาขาวิชา
– นักศึกษาต้องลงทะเบียนและผ่านกระบวนวิชาสัมมนา
231891 สัมมนาปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม 1
231892 สัมมนาปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม 2
231893 สัมมนาปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม 3
– นักศึกษาที่มีความรู้พื้นฐานไม่เพียงพอ ต้องลงทะเบียนเรียนในกระบวนวิชาที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรประจำสาขาวิชาแนะนำ
– นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนกระบวนวิชานอกสาขาวิชาเฉพาะและกระบวนวิชาระดับปริญญาตรีขั้นสูงในสาขาอื่น หรือกระบวนวิชาของคณะอื่นที่เกี่ยวข้องกับการทำดุษฎีนิพนธ์ตามความเห็นชอบของคณะกรรมการที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์
ง. การสอบวัดคุณสมบัติ
1. นักศึกษาจะต้องสอบวัดคุณสมบัติเพื่อประเมินความพร้อมและความสามารถ
เพื่อมีสิทธิ์เสนอโครงร่างดุษฎีนิพนธ์
2. นักศึกษาที่สอบไม่ผ่านมีสิทธิ์สอบแก้ตัวได้อีก 1 ครั้ง โดยต้องยื่นคำร้องขอสอบใหม่
การสอบแก้ตัวต้องสอบให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ภาคการศึกษาถัดไปนับจากการสอบครั้งแรก
3. นักศึกษาที่สอบไม่ผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ คณะกรรมการบริหารหลักสูตรบัณฑิตศึกษาประจำสาขาวิชาอาจพิจารณาให้โอนเป็นนักศึกษาระดับปริญญาโทได้
จ. การสอบประมวลความรู้
ผ่านการสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination) โดยนักศึกษายื่นคำร้องขอสอบต่อบัณฑิตวิทยาลัย โดยผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์หรืออาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์หลัก

หลักสูตร แบบ 2.1 สำหรับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
ก. กระบวนวิชาเรียน ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
1. กระบวนวิชาในระดับบัณฑิตศึกษา ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
1.1 กระบวนวิชาในสาขาวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
1.1.1 กระบวนวิชาบังคับ 3 หน่วยกิต
231891 สัมมนาปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์ 1 หน่วยกิต
และเทคโนโลยีควอนตัม 1
231892 สัมมนาปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์ 1 หน่วยกิต
และเทคโนโลยีควอนตัม 2
231893 สัมมนาปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์ 1 หน่วยกิต
และเทคโนโลยีควอนตัม 3
1.1.2 กระบวนวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต
เลือกจากกระบวนวิชาเหล่านี้ หรือกระบวนวิชาระดับบัณฑิตศึกษาอื่นๆ ที่มีความสัมพันธ์กับแขนงวิชาที่ทำดุษฎีนิพนธ์โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์
207703 กลศาสตร์ควอนตัม 1 3 หน่วยกิต
207704 กลศาสตร์ควอนตัม 2 3 หน่วยกิต
207705 พลศาสตร์ไฟฟ้าแบบฉบับ 1 3 หน่วยกิต
207775 ทัศนศาสตร์ควอนตัม 1 3 หน่วยกิต
231701 เทคโนโลยีควอนตัม 3 หน่วยกิต
231711 ฟิสิกส์ อะตอม โมเลกุล และทัศนศาสตร์ 3 หน่วยกิต
สำหรับเทคโนโลยีควอนตัม
231712 ฟิสิกส์และแพลตฟอร์มสำหรับการทดลอง 3 หน่วยกิต
การจำลองควอนตัม
231789 หัวข้อเลือกสรรทางวิทยาศาสตร์และ 3 หน่วยกิต
เทคโนโลยีควอนตัม
231889 หัวข้อเลือกสรรทางวิทยาศาสตร์และ 3 หน่วยกิต
เทคโนโลยีควอนตัมขั้นสูง
หมายเหตุ : กระบวนวิชาในสาขาวิชาเฉพาะ หมายถึง กระบวนวิชาในระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม (231…) และสาขาวิชาฟิสิกส์ (207…)
1.2 กระบวนวิชานอกสาขาวิชาเฉพาะ (ถ้ามี)
– นักศึกษาอาจเลือกเรียนกระบวนวิชาที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับ Advanced Algorithm, Quantum Computation, Quantum Research, Quantum Game Theory, Analog Quantum Computer, Econometrics, Big Data in Economics and Finance, Management and Organization, Marketing เป็นต้น โดยผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์
2. กระบวนวิชาระดับปริญญาตรีขั้นสูง
กรณีที่นักศึกษาขาดความรู้พื้นฐานบางประการที่จำเป็นสำหรับการศึกษา นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนกระบวนวิชาระดับปริญญาตรีขั้นสูง ตามความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
ข. ปริญญานิพนธ์
231899 ดุษฎีนิพนธ์ 36 หน่วยกิต
ค. กระบวนวิชาที่ไม่นับหน่วยกิตสะสม
1. ตามเงื่อนไขของบัณฑิตวิทยาลัย ภาษาต่างประเทศ
2. ตามเงื่อนไขของสาขาวิชา – ไม่มี –
ง. กิจกรรมทางวิชาการ ประกอบด้วย
1. นักศึกษาจะต้องเข้าร่วมสัมมนาตลอดระยะเวลาการศึกษาปกติของหลักสูตร รวมถึงกิจกรรมเสริมทักษะอื่นตามความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษา
2. ผลงานดุษฎีนิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์ได้รับเผยแพร่ หรืออย่างน้อยได้รับการตอบรับให้เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติ ที่อยู่ในฐานข้อมูล ISI, Scopus, IEEE, PubMed หรือ Web of Science หรือ เผยแพร่เป็นบทความฉบับเต็ม (full paper) ในเอกสารเผยแพร่การประชุมวิชาการ (proceedings) ระดับนานาชาติที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชา อย่างน้อย 2 เรื่อง โดยผลงานตีพิมพ์อย่างน้อย 1 เรื่องจะต้องอยู่ในวารสารที่มี ISI Impact Factor (Quatile 1 หรือ 2) และมีชื่อนักศึกษาเป็นชื่อแรก
3. เสนอผลงานดุษฎีนิพนธ์ หรือส่วนหนึ่งของผลงานดุษฎีนิพนธ์ แบบบรรยาย ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชา อย่างน้อย 1 เรื่อง
4. นักศึกษาต้องรายงานผลการศึกษาตามแบบรายงานผลของบัณฑิตวิทยาลัย
ทุกภาคการศึกษาโดยผ่านความเห็นชอบของประธานกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำคณะ และรวบรวมส่งบัณฑิตวิทยาลัยทุกภาคการศึกษา
จ. การสอบวัดคุณสมบัติ
1. นักศึกษาจะต้องสอบวัดคุณสมบัติเพื่อประเมินความพร้อมและความสามารถ เพื่อมีสิทธิ์เสนอโครงร่างดุษฎีนิพนธ์
2. นักศึกษาที่สอบไม่ผ่านมีสิทธิ์สอบแก้ตัวได้อีก 1 ครั้ง โดยต้องยื่นคำร้องขอสอบใหม่
การสอบแก้ตัวต้องสอบให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ภาคการศึกษาถัดไปนับจากการสอบครั้งแรก
3. นักศึกษาที่สอบไม่ผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ คณะกรรมการบริหารหลักสูตรบัณฑิตศึกษาประจำสาขาวิชาอาจพิจารณาให้โอนเป็นนักศึกษาระดับปริญญาโทได้

ฉ. การสอบประมวลความรู้
ผ่านการสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination) โดยนักศึกษายื่นคำร้องขอสอบต่อบัณฑิตวิทยาลัย โดยผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์หรืออาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์หลัก

หลักสูตร แบบ 2.2 สำหรับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต
ก. กระบวนวิชาเรียน ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
1. กระบวนวิชาในระดับบัณฑิตศึกษา ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
1.1 กระบวนวิชาในสาขาวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
1.1.1 กระบวนวิชาบังคับ 6 หน่วยกิต
231701 เทคโนโลยีควอนตัม 3 หน่วยกิต
231891 สัมมนาปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์ 1 หน่วยกิต
และเทคโนโลยีควอนตัม 1
231892 สัมมนาปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์ 1 หน่วยกิต
และเทคโนโลยีควอนตัม 2
231893 สัมมนาปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์ 1 หน่วยกิต
และเทคโนโลยีควอนตัม 3
1.1.2 กระบวนวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต
เลือกจากกระบวนวิชาเหล่านี้ หรือกระบวนวิชาระดับบัณฑิตศึกษาอื่นๆ ที่มีความสัมพันธ์กับแขนงวิชาที่ทำดุษฎีนิพนธ์โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์
207703 กลศาสตร์ควอนตัม 1 3 หน่วยกิต
207704 กลศาสตร์ควอนตัม 2 3 หน่วยกิต
207705 พลศาสตร์ไฟฟ้าแบบฉบับ 1 3 หน่วยกิต
207775 ทัศนศาสตร์ควอนตัม 1 3 หน่วยกิต
231711 ฟิสิกส์ อะตอม โมเลกุล และทัศนศาสตร์ 3 หน่วยกิต
สำหรับเทคโนโลยีควอนตัม
231712 ฟิสิกส์และแพลตฟอร์มสำหรับการทดลอง 3 หน่วยกิต
การจำลองควอนตัม
231789 หัวข้อเลือกสรรทางวิทยาศาสตร์และ 3 หน่วยกิต
เทคโนโลยีควอนตัม
231889 หัวข้อเลือกสรรทางวิทยาศาสตร์และ 3 หน่วยกิต
เทคโนโลยีควอนตัมขั้นสูง
หมายเหตุ : กระบวนวิชาในสาขาวิชาเฉพาะ หมายถึง กระบวนวิชาในระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม (231…) และสาขาวิชาฟิสิกส์ (207…)
1.2 กระบวนวิชานอกสาขาวิชาเฉพาะ (ถ้ามี)
– นักศึกษาอาจเลือกเรียนกระบวนวิชาที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับ Advanced Algorithm, Quantum Computation, Quantum Research, Quantum Game Theory, Analog Quantum Computer, Econometrics, Big Data in Economics and Finance, Management and Organization, Marketing เป็นต้น โดยผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์
2. กระบวนวิชาระดับปริญญาตรีขั้นสูง
กรณีที่นักศึกษาขาดความรู้พื้นฐานบางประการที่จำเป็นสำหรับการศึกษา นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนกระบวนวิชาระดับปริญญาตรีขั้นสูง ตามความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
ข. ปริญญานิพนธ์
231898 ดุษฎีนิพนธ์ 48 หน่วยกิต
ค. กระบวนวิชาที่ไม่นับหน่วยกิตสะสม
1. ตามเงื่อนไขของบัณฑิตวิทยาลัย ภาษาต่างประเทศ
2. ตามเงื่อนไขของสาขาวิชา – ไม่มี –
ง. กิจกรรมทางวิชาการ ประกอบด้วย
1. นักศึกษาจะต้องเข้าร่วมสัมมนาตลอดระยะเวลาการศึกษาปกติของหลักสูตร รวมถึงกิจกรรมเสริมทักษะอื่นตามความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษา
2. ผลงานดุษฎีนิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์ได้รับการเผยแพร่ หรืออย่างน้อยได้รับการตอบรับให้เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติ ที่อยู่ในฐานข้อมูล ISI, Scopus, IEEE, PubMed หรือ Web of Science อย่างน้อย 2 เรื่อง โดยผลงานตีพิมพ์อย่างน้อย 1 เรื่องจะต้องอยู่ในวารสารที่มี ISI Impact Factor (Quatile 1 หรือ 2) และมีชื่อนักศึกษาเป็นชื่อแรก
3. เสนอผลงานดุษฎีนิพนธ์ หรือส่วนหนึ่งของผลงานดุษฎีนิพนธ์ แบบบรรยาย ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชา อย่างน้อย 1 เรื่อง
4. นักศึกษาต้องรายงานผลการศึกษาตามแบบรายงานผลของบัณฑิตวิทยาลัย
ทุกภาคการศึกษาโดยผ่านความเห็นชอบของประธานกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำคณะ และรวบรวมส่งบัณฑิตวิทยาลัยทุกภาคการศึกษา
จ. การสอบวัดคุณสมบัติ
1. นักศึกษาจะต้องสอบวัดคุณสมบัติเพื่อประเมินความพร้อมและความสามารถ เพื่อมีสิทธิ์เสนอโครงร่างดุษฎีนิพนธ์
2. นักศึกษาที่สอบไม่ผ่านมีสิทธิ์สอบแก้ตัวได้อีก 1 ครั้ง โดยต้องยื่นคำร้องขอสอบใหม่
การสอบแก้ตัวต้องสอบให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ภาคการศึกษาถัดไปนับจากการสอบครั้งแรก
3. นักศึกษาที่สอบไม่ผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ คณะกรรมการบริหารหลักสูตรบัณฑิตศึกษาประจำสาขาวิชาอาจพิจารณาให้โอนเป็นนักศึกษาระดับปริญญาโทได้
ฉ. การสอบประมวลความรู้
ผ่านการสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination) โดยนักศึกษายื่นคำร้องขอสอบต่อบัณฑิตวิทยาลัย โดยผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์หรืออาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์หลัก

Type 1.1 : Student with Master’s Degree
Degree Requirements 48 credits
A. Thesis
231898 Doctoral Thesis 48 credits
B. Academic Activities
1. A student has to attend seminar every semester during the normal program period and other upskill activities approved by advisor.
2. Doctoral thesis or a part of doctoral thesis must be published or at least accepted to publish in international journals listed in ISI, Scopus, IEEE, PubMed or Web of Science database at least 2 papers. At least one paper must be published in journal having ISI Impact Factor (Quartile 1 or 2) with the student as the first author.
3. At least 1 dissertation work or part of dissertation work must be presented as oral presentation in an international conference accepted by the field of study.
4. A student has to report thesis progress to the Graduate School every semester with the approval of the Chairman of the Faculty’s Graduate Study Committee.
C. Non-credit Courses
1. Graduate School requirement – a foreign language –
2. Program requirement
– Student must register and pass the following seminar courses
231891 Ph.D. Seminar in Quantum Science and Technology 1
231892 Ph.D. Seminar in Quantum Science and Technology 2
231893 Ph.D. Seminar in Quantum Science and Technology 3
– A student who is deficient in basic background must register courses recommended by the graduate program administrative committee.
– A student may select courses outside the fields or advanced undergraduated courses or courses from other faculties with approval from thesis advisor.
D. Qualifying Examination
1. A student must complete a qualifying examination to evaluate his/her ability before presenting a thesis proposal.
2. An unsuccessful examinee may take re-examination within the following regular semester.
3. An unsuccessful examinee may be transferred to Master’s Degree studies with the approval of the Graduate Program Administrative Committee.
E. Comprehensive Examination
Having submitted a request form to the Graduate School, approved by thesis advisory committee or main thesis advisor, a student must then pass the comprehensive examination.

Type 1.2 : Student with Bachelor’s Degree
Degree Requirements 72 credits
A. Thesis
231897 Doctoral Thesis 72 credits
B. Academic Activities
1. A student has to attend seminar every semester during the normal program period and other upskill activities approved by advisor.
2. Doctoral thesis or a part of doctoral thesis must be published or at least accepted to publish in international journals listed in ISI, Scopus, IEEE, PubMed or Web of Science database at least 2 papers with the student as the first author. At least 1 paper must be published in journal having ISI Impact Factor (Quartile 1 or 2).
3. At least 1 dissertation work or part of dissertation work must be presented as oral presentation in an international conference accepted by the field of study
4. A student has to report thesis progress to the Graduate School every semester with the approval of the Chairman of the Faculty’s Graduate Study Committee.
C. Non-credit Courses
1. Graduate School requirement – a foreign language –
– Student must register and pass the following seminar courses
231891 Ph.D. Seminar in Quantum Science and Technology 1
231892 Ph.D. Seminar in Quantum Science and Technology 2
231893 Ph.D. Seminar in Quantum Science and Technology 3
– A student who is deficient in basic background must register courses recommended by the graduate program administrative committee.
– A student may select courses outside the fields or advanced undergraduated courses or courses from other faculties with approval from thesis advisor.
D. Qualifying Examination
1. A student must complete a qualifying examination to evaluate his/her ability before presenting a thesis proposal.
2. An unsuccessful examinee may take re-examination within the following regular semester.
3. An unsuccessful examinee will be transferred to Master’s Degree studies with the approval of the Graduate Program Administrative Committee.
E. Comprehensive Examination
Having submitted a request form to the Graduate School, approved by thesis advisory committee or main thesis advisor, a student must then pass the comprehensive examination.

Type 2.1 : For student with Master’s Degree
Degree Requirements a minimum of 48 credits
A. Course work a minimum of 12 credits
1. Graduate Courses a minimum of 12 credits
1.1 Field of Specialization a minimum of 12 credits
1.1.1 Required courses 3 credits
231891 Ph.D. Seminar in Quantum Science 1 credit
and Technology 1
231892 Ph.D. Seminar in Quantum Science 1 credit
and Technology 2
231893 Ph.D. Seminar in Quantum Science 1 credit
and Technology 3
1.1.2 Elective courses a minimum of 9 credits
Select from the following courses or any graduate courses in the field related to thesis research with approval from the thesis advisory committee.
207703 Quantum Mechanics 1 3 credits
207704 Quantum Mechanics 2 3 credits
207705 Classical Electrodynamics 1 3 credits
207775 Quantum Optics 1 3 credits
231701 Quantum Technology 3 credits
231711 Atomic, Molecular and Optical Physics 3 credits
for Quantum Technology
231712 Physics and Platforms for Quantum 3 credits
Simulation Experiments
231789 Selected Topics in Quantum Science 3 credits
and Technology
231889 Advanced Selected Topics in Quantum 3 credits
Science and Technology
Note : Courses in the field of specialization are courses at graduate level in Quantum Science and Technology (231…) and Physics (207…)
1.2 Other courses (if any)
Student may select courses with the subject related to Advanced Algorithm, Quantum Computation, Quantum Research, Quantum Game Theory, Analog Quantum Computer, Econometrics, Big Data in Economics and Finance, Management and Organization, Marketing, and so on, with the approval of the thesis advisory committee.
2. Advanced Undergraduate Courses (if any)
In case the student lacks some basic knowledge which is necessary for education, the student must enroll some advanced undergraduate courses(s) under the recommendation of program administrative committee.
B. Thesis
231899 Doctoral Thesis 36 credits
C. Non-credit Courses
1. Graduate School requirement – a foreign language –
2. Program requirement – None –
D. Academic Activities
1. A student has to attend seminar every semester during the normal program period and other upskill activities approved by advisor.
2. Doctoral thesis or a part of doctoral thesis must be published or at least accepted to publish in international journals listed in ISI, Scopus, IEEE, PubMed or Web of Science database or as full paper in the peer-reviewed proceedings from international conference accepted by the research field at least 2 papers. At least one paper must be published in journal having ISI Impact Factor (Quartile 1 or 2) with the student as the first author.
3. At least 1 dissertation work or part of dissertation work must be presented as oral presentation in an international conference accepted by the field of study.
4. A student has to report thesis progress to the Graduate School every semester with the approval of the Chairman of the Faculty’s Graduate Study Committee.

E. Qualifying Examination
1. A student must complete a qualifying examination to evaluate his/her ability before presenting a thesis proposal.
2. An unsuccessful examinee may take re-examination within the following regular semester.
3. An unsuccessful examinee will be transferred to Master’s Degree studies with the approval of the Graduate Program Administrative Committee.
F. Comprehensive Examination
Having submitted a request form to the Graduate School, approved by thesis advisory committee or main thesis advisor, a student must then pass the comprehensive examination.

Type 2.2 : For student with Bachelor’s Degree
Degree Requirement a minimum of 72 credits
A. Course work a minimum of 24 credits
1. Graduate Courses a minimum of 24 credits
1.1 Field of Specialization a minimum of 24 credits
1.1.1 Required courses 6 credits
231701 Quantum Technology 3 credits
231891 Ph.D. Seminar in Quantum Science 1 credit
and Technology 1
231892 Ph.D. Seminar in Quantum Science 1 credit
and Technology 2
231893 Ph.D. Seminar in Quantum Science 1 credit
and Technology 3
1.1.2 Elective courses a minimum of 18 credits
Select from the following courses or any graduate courses in the field related to thesis research with approval from the thesis advisory committee.
207703 Quantum Mechanics 1 3 credits
207704 Quantum Mechanics 2 3 credits
207705 Classical Electrodynamics 1 3 credits
207775 Quantum Optics 1 3 credits
231711 Atomic, Molecular and Optical Physics 3 credits
for Quantum Technology
231712 Physics and Platforms for Quantum 3 credits
Simulation Experiments
231789 Selected Topics in Quantum Science 3 credits
and Technology
231889 Advanced Selected Topics in Quantum 3 credits
Science and Technology
Note : Courses in the field of specialization are courses at graduate level in Quantum Science and Technology (231…) and Physics (207…)

1.2 Other courses (if any)
Student may select courses with the subject related to Advanced Algorithm, Quantum Computation, Quantum Research, Quantum Game Theory, Analog Quantum Computer, Econometrics, Big Data in Economics and Finance, Management and Organization, Marketing, and so on, with the approval of the thesis advisory committee.
2. Advanced Undergraduate Courses (if any)
In case the student lacks some basic knowledge which is necessary for education, the student must enroll some advanced undergraduate courses(s) under the recommendation of program administrative committee.
B. Thesis
231898 Doctoral Thesis 48 credits
C. Non-credit Courses
1. Graduate School requirement – a foreign language –
2. Program requirement – None –
D. Academic Activities
1. A student has to attend seminar every semester during the normal program period and other upskill activities approved by advisor.
2. Doctoral thesis or a part of doctoral thesis must be published or at least accepted to publish in international journals listed in ISI, Scopus, IEEE, PubMed or Web of Science database at least 2 papers. At least one paper must be published in journal having ISI Impact Factor (Quartile 1 or 2) with the student as the first author.
3. At least 1 dissertation work or part of dissertation work must be presented as oral presentation in an international conference accepted by the field of study.
4. A student has to report thesis progress to the Graduate School every semester with the approval of the Chairman of the Faculty’s Graduate Study Committee.
E. Qualifying Examination
1. A student must complete a qualifying examination to evaluate his/her ability before presenting a thesis proposal.
2. An unsuccessful examinee may take re-examination within the following regular semester.
3. An unsuccessful examinee will be transferred to Master’s Degree studies with the approval of the Graduate Program Administrative Committee.
F. Comprehensive Examination
Having submitted a request form to the Graduate School, approved by thesis advisory committee or main thesis advisor, a student must then pass the comprehensive examination.

3.1.3 กระบวนวิชา
(1) หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
231701 เทคโนโลยีควอนตัม 3(3-0-6)
(Quantum Technology) [สำหรับหลักสูตรแบบ 2.2]
231891 สัมมนาปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม 1 1(1-0-2)
(Ph.D. Seminar in Quantum Science and Technology 1)
231892 สัมมนาปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม 2 1(1-0-2)
(Ph.D. Seminar in Quantum Science and Technology 2)
231893 สัมมนาปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม 3 1(1-0-2)
(Ph.D. Seminar in Quantum Science and Technology 3)
(2) หมวดวิชาเลือกในสาขาวิชาเฉพาะ
207703 กลศาสตร์ควอนตัม 1 3(3-0-6)
(Quantum Mechanics 1)
207704 กลศาสตร์ควอนตัม 2 3(3-0-6)
(Quantum Mechanics 2)
207705 พลศาสตร์ไฟฟ้าแบบฉบับ 1 3(3-0-6)
(Classical Electrodynamics 1)
207775 ทัศนศาสตร์ควอนตัม 1 3(3-0-6)
(Quantum Optics 1)
231701 เทคโนโลยีควอนตัม 3(3-0-6)
(Quantum Technology) [สำหรับหลักสูตรแบบ 2.1]
231711 ฟิสิกส์ อะตอม โมเลกุล และ ทัศนศาสตร์ สำหรับเทคโนโลยีควอนตัม 3(3-0-6)
(Atomic, Molecular and Optical Physics for Quantum
Technology)
231712 ฟิสิกส์และแพลตฟอร์มสำหรับการทดลองการจำลองควอนตัม 3(3-0-6)
(Physics and Platforms for Quantum Simulation Experiments)
231789 หัวข้อเลือกสรรทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม 3(3-0-6)
(Selected Topics in Quantum Science and Technology)
231889 หัวข้อเลือกสรรทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัมขั้นสูง 3(3-0-6)
(Advanced Selected Topics in Quantum Science and Technology)
(3) หมวดวิชาเลือกนอกสาขาวิชาเฉพาะ
– ไม่มี –
(4) หมวดปริญญานิพนธ์
231897 ดุษฎีนิพนธ์ 72 หน่วยกิต
(Doctoral Thesis)
231898 ดุษฎีนิพนธ์ 48 หน่วยกิต
(Doctoral Thesis)
231899 ดุษฎีนิพนธ์ 36 หน่วยกิต
(Doctoral Thesis)
(5) หมวดวิชาที่ไม่นับหน่วยกิตสะสม
[สำหรับหลักสูตรแบบ 1.1 และ 1.2]
– นักศึกษาต้องลงทะเบียนและผ่านกระบวนวิชาสัมมนา
231891 สัมมนาปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม 1
231892 สัมมนาปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม 2
231893 สัมมนาปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม 3
หมายเหตุ ความหมายของเลขรหัสกระบวนวิชา
รหัสกระบวนวิชาที่ใช้กำหนดเป็นตัวเลข 6 หลัก ดังต่อไปนี้
1. เลข 3 ตัวแรก แสดงถึง คณะ และภาควิชา/สาขาวิชาที่กระบวนวิชานั้นสังกัด
2. เลขหลักร้อย แสดงถึง กระบวนวิชาระดับบัณฑิตศึกษา
3. เลขหลักสิบ แสดงถึง หมวดหมู่ในสาขาวิชา
23180x เป็นหมวดหมู่วิชาบังคับพื้นฐาน
23181x – 23188x เป็นหมวดหมู่วิชาเฉพาะด้าน
23189x เป็นหมวดหมู่วิชาสัมมนาและดุษฎีนิพนธ์
4. เลขหลักหน่วย แสดงถึง อนุกรมของหมวดหมู่ของวิชา

3.1.4 แสดงแผนการศึกษา
3.1.4.1 แบบ 1.1
ปีที่ 1
ภาคการศึกษาที่ 1 หน่วยกิต ภาคการศึกษาที่ 2 หน่วยกิต
ลงทะเบียนเพื่อใช้บริการของมหาวิทยาลัย
Register for university services – 231898 ดุษฎีนิพนธ์
Doctoral Thesis 12
สอบผ่านเงื่อนไขภาษาต่างประเทศ
Pass foreign language examination requirement – 231891 สัมมนาปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม 1
Seminar in Quantum Science and Technology 1 –
สอบวัดคุณสมบัติ
Qualifying Examination – เสนอหัวข้อโครงร่างดุษฎีนิพนธ์
Present thesis proposal –
เข้าร่วมการสัมมนา
Attend seminar –
รวม – รวม 12

ปีที่ 2
ภาคการศึกษาที่ 1 หน่วยกิต ภาคการศึกษาที่ 2 หน่วยกิต
231898 ดุษฎีนิพนธ์
Doctoral Thesis 12 231898 ดุษฎีนิพนธ์
Doctoral Thesis 12
231892 สัมมนาปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม 2
Ph.D. Seminar in Quantum Science and Technology 2 – เข้าร่วมการสัมมนา
Attend seminar –
รวม 12 รวม 12
ปีที่ 3
ภาคการศึกษาที่ 1 หน่วยกิต ภาคการศึกษาที่ 2 หน่วยกิต
231898 ดุษฎีนิพนธ์
Doctoral Thesis 12 ลงทะเบียนเพื่อใช้บริการของมหาวิทยาลัย
Register for university services –
231893 สัมมนาปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม 3
Ph.D. Seminar in Quantum Science and Technology 3 – เข้าร่วมการสัมมนา
Attend seminar –
สอบประมวลความรู้
Comprehensive Examination –
สอบดุษฎีนิพนธ์
Doctoral thesis defense –
รวม 12 รวม –
รวมหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต

3.1.4.2 แบบ 1.2
ปีที่ 1
ภาคการศึกษาที่ 1 หน่วยกิต ภาคการศึกษาที่ 2 หน่วยกิต
ลงทะเบียนเพื่อใช้บริการของมหาวิทยาลัย
Register for university services – 231897 ดุษฎีนิพนธ์
Doctoral Thesis 12
สอบผ่านเงื่อนไขภาษาต่างประเทศ
Pass foreign language examination requirement – 231891 สัมมนาปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม 1
Seminar in Quantum Science and Technology 1 –
สอบวัดคุณสมบัติ
Qualifying Examination – เสนอหัวข้อโครงร่างดุษฎีนิพนธ์
Present thesis proposal –
เข้าร่วมการสัมมนา
Attend seminar –
รวม – รวม 12
ปีที่ 2
ภาคการศึกษาที่ 1 หน่วยกิต ภาคการศึกษาที่ 2 หน่วยกิต
231897 ดุษฎีนิพนธ์
Doctoral Thesis 12 231897 ดุษฎีนิพนธ์
Doctoral Thesis 12
231892 สัมมนาปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม 2
Ph.D. Seminar in Quantum Science and Technology 2 – เข้าร่วมการสัมมนา
Attend seminar –
รวม 12 รวม 12
ปีที่ 3
ภาคการศึกษาที่ 1 หน่วยกิต ภาคการศึกษาที่ 2 หน่วยกิต
231897 ดุษฎีนิพนธ์
Doctoral Thesis 12 231897 ดุษฎีนิพนธ์
Doctoral Thesis 12
231893 สัมมนาปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม 3
Ph.D. Seminar in Quantum Science and Technology 3 – เข้าร่วมการสัมมนา
Attend seminar –
รวม 12 รวม 12

ปีที่ 4
ภาคการศึกษาที่ 1 หน่วยกิต ภาคการศึกษาที่ 2 หน่วยกิต
231897 ดุษฎีนิพนธ์
Doctoral Thesis 12 ลงทะเบียนเพื่อใช้บริการ
ของมหาวิทยาลัย
Register for university services –
เข้าร่วมการสัมมนา
Attend seminar – สอบประมวลความรู้
Comprehensive Examination –
สอบดุษฎีนิพนธ์
Doctoral thesis defense –
เข้าร่วมการสัมมนา
Attend seminar
รวม 12 รวม –
รวมหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 72 หน่วยกิต

3.1.4.3 แบบ 2.1
ปีที่ 1
ภาคการศึกษาที่ 1 หน่วยกิต ภาคการศึกษาที่ 2 หน่วยกิต
xxxxxx กระบวนวิชาเลือก
Elective courses 3 xxxxxx กระบวนวิชาเลือก
Elective courses 3
xxxxxx กระบวนวิชาเลือก
Elective courses 3 231891 สัมมนาปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม 1
Seminar in Quantum Science and Technology 1 1
เข้าร่วมการสัมมนา
Attend seminar 231899 ดุษฎีนิพนธ์
Doctoral Thesis 6
สอบผ่านเงื่อนไขภาษาต่างประเทศ
Pass foreign language examination requirement สอบวัดคุณสมบัติ
Qualifying Examination
เสนอหัวข้อโครงร่างดุษฎีนิพนธ์
Present thesis proposal –
รวม 6 รวม 10

ปีที่ 2
ภาคการศึกษาที่ 1 หน่วยกิต ภาคการศึกษาที่ 2 หน่วยกิต
231899 ดุษฎีนิพนธ์
Doctoral Thesis 9 231899 ดุษฎีนิพนธ์
Doctoral Thesis 9
231892 สัมมนาปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม 2
Ph.D. Seminar in Quantum Science and Technology 2 1 เข้าร่วมการสัมมนา
Attend seminar
รวม 10 รวม 9
ปีที่ 3
ภาคการศึกษาที่ 1 หน่วยกิต ภาคการศึกษาที่ 2 หน่วยกิต
231899 ดุษฎีนิพนธ์
Doctoral Thesis 12 ลงทะเบียนเพื่อใช้บริการ
ของมหาวิทยาลัย
Register for university services –
231893 สัมมนาปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม 3
Ph.D. Seminar in Quantum Science and Technology 3 1 สอบประมวลความรู้
Comprehensive Examination –
สอบดุษฎีนิพนธ์
Doctoral thesis defense –
เข้าร่วมการสัมมนา
Attend seminar
รวม 13 รวม –
รวมหน่วยกิตตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต

3.1.4.4 แบบ 2.2
ปีที่ 1
ภาคการศึกษาที่ 1 หน่วยกิต ภาคการศึกษาที่ 2 หน่วยกิต
231701 เทคโนโลยีควอนตัม
Quantum Technology 3 xxxxxx กระบวนวิชาเลือก
Elective courses 3
xxxxxx กระบวนวิชาเลือก
Elective courses 3 xxxxxx กระบวนวิชาเลือก
Elective courses 3
xxxxxx กระบวนวิชาเลือก
Elective courses 3 xxxxxx กระบวนวิชาเลือก
Elective courses 3
เข้าร่วมการสัมมนา
Attend seminar – สอบวัดคุณสมบัติ
Qualifying Examination –
สอบผ่านเงื่อนไขภาษาต่างประเทศ
Pass foreign language examination requirement – เสนอหัวข้อโครงร่างดุษฎีนิพนธ์
Present thesis proposal –
เข้าร่วมการสัมมนา
Attend seminar –
รวม 9 รวม 9
ปีที่ 2
ภาคการศึกษาที่ 1 หน่วยกิต ภาคการศึกษาที่ 2 หน่วยกิต
xxxxxx กระบวนวิชาเลือก
Elective courses 3 231898 ดุษฎีนิพนธ์
Doctoral Thesis 9
231898 ดุษฎีนิพนธ์
Doctoral Thesis 9 231891 สัมมนาปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม 1
Seminar in Quantum Science and Technology 1 1
เข้าร่วมการสัมมนา
Attend seminar –
รวม 12 รวม 10

ปีที่ 3
ภาคการศึกษาที่ 1 หน่วยกิต ภาคการศึกษาที่ 2 หน่วยกิต
231898 ดุษฎีนิพนธ์
Doctoral Thesis 9 231898 ดุษฎีนิพนธ์
Doctoral Thesis 9
231892 สัมมนาปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม 2
Ph.D. Seminar in Quantum Science and Technology 2 1 เข้าร่วมการสัมมนา
Attend seminar
รวม 10 รวม 9
ปีที่ 4
ภาคการศึกษาที่ 1 หน่วยกิต ภาคการศึกษาที่ 2 หน่วยกิต
231898 ดุษฎีนิพนธ์
Doctoral Thesis 12 ลงทะเบียนเพื่อใช้บริการ
ของมหาวิทยาลัย
Register for university services –
231893 สัมมนาปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม 3
Ph.D. Seminar in Quantum Science and Technology 3 1 สอบประมวลความรู้
Comprehensive Examination –
สอบดุษฎีนิพนธ์
Doctoral thesis defense –
เข้าร่วมการสัมมนา
Attend seminar
รวม 13 รวม –
รวมหน่วยกิตตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต

3.1.5 คำอธิบายลักษณะกระบวนวิชา (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
ระบุไว้ในภาคผนวก

3.2 ชื่อ ตำแหน่งและคุณวุฒิของอาจารย์
3.2.1 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร/ อาจารย์ประจำหลักสูตร / อาจารย์ผู้สอน
ที่ ชื่อ-นามสกุล คุณวุฒิการศึกษา (สาขา),
สถาบัน, ปีที่สำเร็จการศึกษา
ภาระงานสอน
ชั่วโมง/สัปดาห์
จำนวนผลงาน
ทางวิชาการรวม (ผลงานในระยะ 5 ปีล่าสุด)
ปัจจุบัน เมื่อปรับปรุงหลักสูตร
ตรี บศ. ตรี บศ.
1 ผศ.ดร. วรานนท์ อนุกูล*
– Ph.D. (Physics), Cambridge University, UK, 2002
– M.Sc. (Physics), The University of Minnesota, USA, 1999
– วท.บ. (ฟิสิกส์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2539 5.63 7.09 7.00 10.00 14 (9)
2 อ.ดร. นิธิวดี ไทยเจริญ* – Ph.D. (Physics), University of Michigan, USA, 2017
– MSE (Electrical Engineering), University of Michigan, USA, 2015
– วท.ม. (ฟิสิกส์), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2555
– วท.บ. (ฟิสิกส์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2553 9 – 3 6 12(3)
3 รศ.ดร. สรรพวรรธน์ กันตะบุตร*
– Ph.D. (Theoretical Computer Science), Tufts University, USA, 2001
– M.S. (Computer Engineering), Syracuse University, USA, 1996
– บช.บ. (บัญชีบัณฑิต), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2534 21.52 1.5 21.52 1.5 45(5)
4 รศ.ดร. ระดม พงษ์วุฒิธรรม – Ph.D. (Electrical Engineering and Computer Science), Case Western Reserve University, USA, 2003
– M.Sc. (Mechanical Engineering), Stevens Institute of Technology, USA, 1997
– วศ.บ. (วิศวกรรมเครื่องกล), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537 46.5 4.5 46.5 4.5 30(14)
5 รศ.ดร. อนุชา วัชระภาสร – Ph.D. (Materials Science and Engineering), Stanford University, USA, 2003
– M.S. (Materials Science and Engineering), Stanford University, USA, 1997
– B.S. (Materials Science and Engineering), Northwestern University, USA, 1995 19.50 16.28 19.50 16.28 141 (33)
6. ผศ.ดร. นฤพนธ์ ฉัตราภิบาล – Ph.D. (Physics), Univ. of Maryland, College Park, USA, 2012
– B.S. (Physics), Syracuse University, USA, 2000 22.75 17.33 22.75 17.33 14(3)
7. ผศ.ดร. อัจฉรา ปัญญา
เจริญจิตติชัย – Ph.D.(Physics), Case Western Reserve University, USA, 2014
– วท.บ.(ฟิสิกส์), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2550 20.77 1 20.77 1 53(34)
8. รศ.ดร. ดวงมณี ว่องรัตนะไพศาล – Ph.D. (Physics), Lehigh University, USA, 2003
– M.S. (Physics), Lehigh University, USA, 2000
– วท.ม. (ฟิสิกส์), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2540
– ศษ.บ. (ฟิสิกส์-คณิต), มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2534 10 16 10 16 70(23)
9. ผศ.ดร. สุเมธ สกุลเสริมสุข
– Ph.D. (Physics), University of Birmingham, UK 2011
– วท.บ.(ฟิสิกส์), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2548 25.65 1.5 24.15 3 13(7)
10. ผศ.ดร. วรพล ยะมะกะ – ปร.ด. (เศรษฐศาสตร์), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2561
– ศ.ม., มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2556
– ศ.บ., มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2553 20 3 20 3 116(56)
11. อ.ดร. พิมลพรรณ
ส้มเพ็ชร – ปร.ด. (ฟิสิกส์), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2557
– วท.บ. (ฟิสิกส์), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2549 12 – 6 6 12(5)
12. ผศ.ดร. สาคร ริมแจ่ม – วท.ด. (ฟิสิกส์), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2549
– วท.บ. (ฟิสิกส์), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2541 12.4 22.7 12.4 22.7 101(31)
13. ผศ.ดร. ดลเดช
ตันตระวิวัฒน์ – Ph.D. (Microelectronics), Queen’s University of Belfast, UK, 2011
– M.Sc. (Electronics), Queen’s University of Belfast, UK, 2007
– วศ.บ. (วิศวกรรมไฟฟ้า), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2547 9 3 9 3 24(11)
14. รศ.ดร. ผทัยรัตน์
ภาสน์พิพัฒน์กุล – ศ.ด. (เศรษฐศาสตร์), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2552
– วท.ม. (เศรษฐศาสตร์เกษตร), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2544
– วท.บ. (เศรษฐศาสตร์เกษตร), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2539 3 9 3 9 60(23)
15. รศ.ดร.นิพนธ์ ธีรอําพน – Ph.D. (Electrical Engineering), University of Missouri-Columbia, USA, 2000
– M.S. (Electrical Engineering), University of Southern California, USA, 1996
– วศ.บ. (วิศวกรรมไฟฟ้า), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2536 6 6 6 6 194(43)
16. รศ.ดร. อุกฤษฏ์ มั่นคง – Ph.D. (Electrical Engineering), University of Cambridge, UK, 2008
– M.Eng. (Electrical and Information Science Engineering), University of Cambridge, UK, 2002
– B.A. (Electrical and Information Science Engineering) University of Cambridge, UK, 2002 21 3 21 3 31(10)
17. รศ.ดร.ปิยรัตน์
นิมมานพิภักดิ์ – ปร.ด. (เคมีเชิงฟิสิกส์), มหาวิทยาลัยมหิดล, 2546
– วท.บ. (เคมี), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2542 10.51 5.00 10.51 5.00 80(22)
18. ผศ.ดร.ธนะศักดิ์
หมวกทองหลาง – Ph.D. (Mathematics), University of Notre Dame, USA, 2005
– M.S. (Mathematics), University of Notre Dame, USA, 2002
– B.S. (Mathematics), Duquesne University, USA, 1999 18 9 18 9 28(10)
19. ผศ.ดร. พิพัฒน์ เรือนคำ – Ph.D. (Energy Science), Kyoto University, Japan, 2014
– M.S. (Energy Science), Kyoto University, Japan, 2011
– วท.บ. (ฟิสิกส์), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2550 21.52 1.5 21.52 1.5 48(26)
20. รศ.ดร.ศันสนีย์
เอื้อพันธ์วิริยะกุล – Ph.D. (Computer Engineering and Computer Science), University of Missouri-Columbia, USA, 2000
– M.S. (Electrical and Computer Engineering), University of Missouri-Columbia, USA, 1996
– วศ.บ. (เกียรตินิยม)(วิศวกรรมไฟฟ้า), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2536 13 5.10 13 5.10 145(29)
21. รศ. ดร. พรรัตน์
วัฒนกสิวิชช์ – Ph.D. (Physics Education), Oregon State University, USA, 2005
– B.A. (Physics), Lehigh Univ., USA, 1998
15.0 6.0 15.0 6.0 18 (5)
22. รศ.ดร. จูลิน ลิคะสิริ – Ph.D. (System & Control Engineering), Case Western Reserve University, USA, 2004
– M.S. (Management Science), Case Western Reserve University, USA, 1998
– วท.ม. (คณิตศาสตร์ประยุกต์), มหาวิทยาลัยมหิดล, 2537
– วท.บ. (คณิตศาสตร์), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2535 3 3 3 3 37 (8)
23. รศ.ดร. วินิตา บุณโยดม – Ph.D. (Physical Chemistry), University of Leeds, UK, 2000
– วท.ม. (เคมี), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2537
– วท.บ. (เคมี), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2533 4.5 13.5 4.5 13.5 69(27)
หมายเหตุ 1. * หมายถึง อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
2. อาจารย์ลำดับที่ 1- 23 คือ อาจารย์ประจำหลักสูตร

3.2.3 อาจารย์พิเศษ
– ไม่มี –
4. องค์ประกอบเกี่ยวกับประสบการณ์ภาคสนาม
– ไม่มี –
5. ข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำโครงงานหรืองานวิจัย
5.1 คำอธิบายโดยย่อ
เนื้อหางานวิจัย (ดุษฎีนิพนธ์) ที่นักศึกษาสนใจทำ เป็นงานวิจัยที่หลักสูตรมีศักยภาพและเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกับงานวิจัยของคณาจารย์ที่สอนในหลักสูตร โดยคณาจารย์ที่ประสงค์จะรับนักศึกษามีการประชุมปรึกษาหารือร่วมกับนักศึกษา เพื่อกำหนดหัวข้อการทำวิจัย ทั้งนี้เนื้อหางานวิจัยที่จะทำต้องมีทฤษฎีพื้นฐานทางฟิสิกส์ควอนตัม เคมีควอนตัม หรือศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีควอนตัม โดยเป็นการศึกษาและ/หรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ องค์ความรู้เชิงลึก อาจเน้นไปในด้านการศึกษาพื้นฐานและการประยุกต์ ซึ่งมีการพัฒนาทฤษฎีไปพร้อมกับการทดลองขั้นแนวหน้าเพื่อสามารถต่อยอดสู่นวัตกรรมควอนตัมขั้นสูง
5.2 มาตรฐานผลการเรียนรู้
– นักศึกษาสามารถอธิบายแนวคิดเชิงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม สืบค้นข้อมูลที่เป็นปัจจุบันเพื่อนำมาใช้ประยุกต์ส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย
– นักศึกษาสามารถออกแบบ ปฏิบัติ วิเคราะห์และใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในการวิจัย บูรณาการความรู้ที่เกี่ยวข้องและติดต่อสื่อสารกับบุคคลหรือหน่วยงานเพื่อให้งานวิจัยดำเนินงานไปได้อย่างต่อเนื่อง
– นักศึกษาแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ประยุกต์ข้อแนะนำที่ได้รับไปปรับปรุงงานวิจัย ชี้นำประเด็นจากงานวิจัยที่สำคัญและวางแผนการทำงานวิจัยอย่างเป็นระบบ
– นักศึกษาแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการนำเสนองานวิจัยเป็นภาษาอังกฤษได้อย่างดี พัฒนาทักษะเชิงคณิตศาสตร์และสถิติเพื่อมาประยุกต์กับงานวิจัย
– นักศึกษาแสดงให้เห็นถึงความมีจรรยาบรรณของนักวิจัย มีวินัยและความรับผิดชอบในการทำวิจัย
5.3 ช่วงเวลา
แบบ 1.1 ภาคการศึกษาที่ 2 ชั้นปีที่ 1
ภาคการศึกษาที่ 1 และ 2 ชั้นปีที่ 2
ภาคการศึกษาที่ 1 ชั้นปีที่ 3
แบบ 1.2 ภาคการศึกษาที่ 2 ชั้นปีที่ 1
ภาคการศึกษาที่ 1 และ 2 ชั้นปีที่ 2
ภาคการศึกษาที่ 1 และ 2 ชั้นปีที่ 3
ภาคการศึกษาที่ 1 ชั้นปีที่ 4
แบบ 2.1 ภาคการศึกษาที่ 2 ชั้นปีที่ 1
ภาคการศึกษาที่ 1 และ 2 ชั้นปีที่ 2
ภาคการศึกษาที่ 1 ชั้นปีที่ 3
แบบ 2.2 ภาคการศึกษาที่ 1 และ 2 ชั้นปีที่ 2
ภาคการศึกษาที่ 1 และ 2 ชั้นปีที่ 3
ภาคการศึกษาที่ 1 ชั้นปีที่ 4

5.4 จำนวนหน่วยกิต
แบบ 1.1 จำนวน 48 หน่วยกิต
แบบ 1.2 จำนวน 72 หน่วยกิต
แบบ 2.1 จำนวน 36 หน่วยกิต
แบบ 2.2 จำนวน 48 หน่วยกิต
5.5 การเตรียมการ
– คณาจารย์ที่สอนในหลักสูตรจัดเตรียมแนวทางวิจัยที่หลักสูตรมีศักยภาพและ/หรือเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกับงานวิจัยของคณาจารย์ที่สอนในหลักสูตร ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรบัณฑิตศึกษาประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม
– นักศึกษาเลือกหัวข้อวิจัยและนำแนวทางดังกล่าวไปศึกษา ค้นคว้าในรายละเอียดภายใต้คำแนะนำและให้คำปรึกษาจากอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อจัดทำเป็นโครงร่างดุษฎีนิพนธ์
– เมื่อนักศึกษาผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ และสอบผ่านภาษาอังกฤษตามข้อกำหนดแล้ว จึงจะมีสิทธิ์เสนอโครงร่างดุษฎีนิพนธ์ได้
– นักศึกษาเสนอโครงร่างดุษฎีนิพนธ์ ซึ่งประกอบด้วย ชื่อเรื่อง หลักการ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ทวนสอบเอกสารวิชาการ วัตถุประสงค์ ประโยชน์ทั้งทางด้านทฤษฎีและ/หรือประยุกต์ แผนการและขอบเขตการทำวิจัย ช่วงเวลาทำวิจัยและเอกสารอ้างอิง ทั้งนี้โครงร่างดุษฎีนิพนธ์ดังกล่าว ต้องผ่านความเห็นชอบจากประธานกรรมการที่ปรึกษาและกรรมการที่ปรึกษา คณะกรรมการบริหารหลักสูตรบัณฑิตศึกษาประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม กรรมการบัณฑิตศึกษาประจำคณะฯ ตามลำดับ
– ข้อกำหนดเกี่ยวกับการเรียน/การทำโครงงาน/การทำวิจัยในแต่ละชั้นปี
– แบบ 1.1
การดำเนินการวิจัยโดย นักศึกษามีการรวบรวมข้อมูล นำเสนอแนวทางการทำวิจัยและเริ่มดำเนินการทำวิจัย (ปีที่ 1) การดำเนินการวิจัย วิเคราะห์ผลและปรับปรุงงานวิจัย (ปีที่ 2) การดำเนินการวิจัย วิเคราะห์ผลและสรุปผลการวิจัย (ปีที่ 3)
– แบบ 1.2
การดำเนินการวิจัยโดย นักศึกษามีการรวบรวมข้อมูล นำเสนอแนวทางการทำวิจัยและเริ่มดำเนินการทำวิจัย (ปีที่ 1) การดำเนินการวิจัย วิเคราะห์ผลและปรับปรุงงานวิจัย (ปีที่ 2 และ 3) การดำเนินการวิจัย วิเคราะห์ผลและสรุปผลการวิจัย (ปีที่ 4)
– แบบ 2.1
การดำเนินการวิจัยโดย นักศึกษามีการพัฒนาทฤษฎีและทักษะการปฏิบัติผ่านกระบวนวิชาที่เรียน มีการรวบรวมข้อมูล นำเสนอแนวทางการทำวิจัยและเริ่มดำเนินการทำวิจัยบางส่วน (ปีที่ 1) การดำเนินการวิจัย วิเคราะห์ผลและปรับปรุงงานวิจัย (ปีที่ 2) การดำเนินการวิจัย วิเคราะห์ผลและสรุปผลการวิจัย (ปีที่ 3)

– แบบ 2.2
การดำเนินการวิจัยโดย นักศึกษามีการพัฒนาทฤษฎีและทักษะการปฏิบัติผ่านกระบวนวิชาที่เรียน มีการรวบรวมข้อมูล นำเสนอแนวทางการทำวิจัยและเริ่มดำเนินการทำวิจัยบางส่วน (ปีที่ 1) การดำเนินการวิจัย วิเคราะห์ผลและปรับปรุงงานวิจัย (ปีที่ 2 และ 3) การดำเนินการวิจัย วิเคราะห์ผลและสรุปผลการวิจัย (ปีที่ 4)
5.6 กระบวนการประเมินผล
เมื่อนักศึกษาทำดุษฎีนิพนธ์แล้วต้องจัดทำเป็นรูปเล่มที่สมบูรณ์ตามข้อกำหนดของบัณฑิตวิทยาลัย การจัดสอบจะดำเนินการหลังจากอาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ของนักศึกษาเห็นชอบให้สอบได้ ทั้งนี้นักศึกษาต้องส่งรูปเล่มดุษฎีนิพนธ์ดังกล่าวเสนอผ่านภาควิชาฯ เพื่อเสนอชื่อกรรมการสอบดุษฎีนิพนธ์ ให้คณะฯ แต่งตั้ง โดยกรรมการสอบดุษฎีนิพนธ์ต้องเป็นไปตามข้อบังคับการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา นักศึกษาจะถูกประเมินจากการนำเสนอโดยปากเปล่า ต่อคณะกรรมการฯ การตอบคำถาม และจากรายละเอียดในดุษฎีนิพนธ์ ซึ่งต้องมีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานทางวิชาการ

หมวดที่ 4 ผลการเรียนรู้และกลยุทธ์การสอนและการประเมินผล
1. การพัฒนาคุณลักษณะพิเศษของนักศึกษา
คุณลักษณะพิเศษ กลยุทธ์การสอนและกิจกรรมนักศึกษา
มีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม
มีจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ
มีค่านิยมและทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติงาน – ในการทำดุษฎีนิพนธ์หรืองานวิจัย ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ข้อมูลการทดลองทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม ผนวกกับการค้นคว้าต่อยอดองค์ความรู้เพื่อคุณภาพระดับสากล
– ในการทำวิจัยมีการส่งเสริมให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูลและร่วมงานประชุมวิชาการ เพื่อสร้างองค์ความรู้เชิงลึกที่สามารถต่อยอดไปสู่นวัตกรรมควอนตัมขั้นสูง และเพื่อที่จะสามารถชี้นำประเด็นและผลกระทบสำคัญของเทคโนโลยีควอนตัมที่ศึกษาต่อสังคมโลก
– มีการสอดแทรกผลกระทบของการศึกษาวิจัยด้านเทคโนโลยีควอนตัม ที่มีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
– ฝึกฝนให้มีความซื่อสัตย์ โดยเริ่มจากความซื่อสัตย์ในการวิเคราะห์และบันทึกข้อมูลการทดลองเชิงควอนตัมรวมถึงคุณภาพของผลงานวิจัย
มีภาวะผู้นำและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่นเมื่อต้องประสานงานหรือดำเนินงานวิจัยร่วมกับนักวิจัยหรือผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม
มีความรับผิดชอบ มุ่งมั่นและมีวินัย
– ในการทำดุษฎีนิพนธ์หรืองานวิจัย และในแต่ละกระบวนวิชา นักศึกษาต้องทำงานเป็นกลุ่ม มีการใช้เครื่องมือร่วมกัน มีการกำหนดให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อเครื่องมือที่ใช้ร่วมกัน เมื่อเกิดปัญหาต้องร่วมกันแก้ปัญหา เปลี่ยนกันเป็นผู้นำ ซึ่งเป็นการฝึกทั้งภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ รู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และการเป็นสมาชิกกลุ่มที่ดี
– มีกติกาที่จะสร้างวินัยในตนเอง เช่น การเข้าเรียนตรงเวลา การเข้าเรียนสม่ำเสมอ การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน มีความกล้าในการซักถามและแสดงความคิดเห็น
มีบุคลิกภาพที่ดีและมีความเชื่อมั่นในตนเองในการแสดงออกถึงองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม
– ในกระบวนวิชาสัมมนา นักศึกษาต้องนำเสนอ ตั้งคำถาม และตอบคำถามแสดงความคิดเห็น มีการสอดแทรกเรื่องการพูดในที่ประชุม การแต่งกาย เทคนิคการเจรจาสื่อสาร
– ในแต่ละกระบวนวิชาหรือในการระหว่างการทำวิจัย นักศึกษาต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีการทำงานร่วมกับผู้อื่น ต้องปฏิสัมพันธ์กับคนหลากหลายอาชีพ
2. การพัฒนาผลการเรียนรู้ในแต่ละด้าน
ผลลัพธ์การเรียนรู้ กลยุทธ์การสอน กลยุทธ์การประเมิน
PLO 1 บัณฑิตมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และ มีทักษะการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีควอนตัม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ องค์ความรู้เชิงลึก และมีทักษะในการพัฒนาทฤษฎีไปพร้อมกับการทดลองขั้นแนวหน้าเพื่อสามารถต่อยอดสู่นวัตกรรมควอนตัมขั้นสูงและเทคโนโลยีเชิงลึก (Deep Technology)
1.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา สามารถพัฒนาทฤษฎีและการทดลองขั้นแนวหน้าในการสร้างองค์ความรู้เชิงลึกเพื่อต่อยอดงานวิจัยสู่นวัตกรรมขั้นสูง
1.2 สามารถสืบค้น รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
1.3 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและมีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลงและเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ (1.1) ในระดับปริญญาเอกกระบวนการที่สำคัญที่ใช้ในการพัฒนาทักษะเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่และองค์ความรู้เชิงลึกคือนักศึกษาต้องผ่านกระบวนการเรียนการสอน กระบวนการสัมมนา และการฝึกฝนจาก
– การค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง
– การออกแบบเครื่องมือ และออกแบบ/วางแผนการทดลอง
– การสร้าง/ซ่อมเครื่องมือ
– การมีโอกาสใช้เครื่องมือที่ซับซ้อนและมีประสิทธิภาพ
– การวิเคราะห์และตรวจสอบด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย
– การใช้คณิตศาสตร์และวิทยาการข้อมูลประกอบการแก้ปัญหา
– การสังเคราะห์ วิเคราะห์ ตรวจสอบ แก้ไขปัญหา สรุปผล
– การเขียนผลงานทางวิชาการออกสู่สาธารณชน
(1.2) ในกระบวนวิชาบรรยาย มีการบรรยายถึงเนื้อหาหลักของแต่ละวิชา และในประเด็นที่
ผู้สอนเห็นว่านักศึกษาไม่ค่อยเข้าใจและให้ทำการบ้านส่งเพื่อเป็นการฝึกฝนตนเองและค้นคว้าตามแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
(1.3) ในกระบวนวิชาการทำดุษฎีนิพนธ์ นักศึกษาจะได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมวิชาการของกลุ่มวิจัยที่นักศึกษาทำดุษฎีนิพนธ์ ซึ่งแต่ละกลุ่มวิจัยจะมีกระบวนการการให้ความรู้และสืบค้นความรู้ผ่านการสัมมนา/ประชุม/ปรึกษาหารือทางวิชาการ ในกลุ่มอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ มีการประเมินจากผลสัมฤทธิ์การเรียนของนักศึกษา โดยวิธีการต่างๆ และมีคะแนนให้ ดังนี้
(1.1) การส่งการบ้าน
(1.2) การทดสอบย่อย การสอบกลางภาคการศึกษาและการสอบปลายภาคการศึกษา
(1.3) รายงานของนักศึกษา เช่น ในกระบวนวิชาสัมมนา วิชาบรรยายหรือวิชาปฏิบัติการ
(1.4) การนำเสนอในห้องสัมมนาหรือชั้นเรียน
(1.5) การสอบโครงร่างดุษฎีนิพนธ์และการสอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์

PLO 2 บัณฑิตสามารถทำวิจัยแบบสรรพศาสตร์ (Multidisciplinary) โดยประยุกต์องค์ความรู้ที่เกิดจากความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานและผู้เชี่ยวชาญจากสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อวิเคราะห์ปัญหาเชิงควอนตัมที่มีความซับซ้อนได้
2.1 สามารถวิเคราะห์ปัญหารวมทั้งประยุกต์ความรู้ทักษะและการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหาที่มีความซับซ้อน
2.2 สามารถบูรณาการความรู้ในที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
2.3 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ การทำวิจัยแบบสรรพศาสตร์ และการที่จะสามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ มาจาก
(2.1) ในกระบวนวิชาสัมมนา นักศึกษาต้องค้นคว้าเพื่อมานำเสนอและตอบคำถามของผู้ฟัง และทำหน้าที่เป็นผู้ฟังโดยต้องตั้งคำถามถามผู้พูด และเพื่อให้ได้รับความรู้ที่หลากหลายในสาขาและสาขาที่เกี่ยวข้อง จะมีวิทยากร/ผู้เชี่ยวชาญมาบรรยายพิเศษ และให้นักศึกษาเข้าร่วมฟังการสัมมนาในสาขาหรือหลักสูตรอื่น เช่น ฟิสิกส์ ฟิสิกส์ประยุกต์ การสอนฟิสิกส์และดาราศาสตร์ เป็นต้น
(2.2) การได้ไปทำวิจัย ณ สถาบันการศึกษาหรือสถาบันวิจัยที่มีความร่วมมือเพื่อที่จะสามารถประยุกต์องค์ความรู้ที่ได้มาปรับใช้เพื่อแก้ปัญหาและต่อยอดงานวิจัยของตัวเอง การประเมินผลจะดำเนินการผ่าน (2.1) การนำเสนอรายงานความก้าวหน้า
(2.2) ผลการประชุมประเมินการดำเนินงานวิจัยร่วมกับหน่วยงานที่มีความร่วมมือ
(2.3) การนำเสนอผลงานในการสัมมนาหรือในงานประชุมวิชาการ
(2.4) ผลงานดุษฎีนิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของผลงานดุษฎีนิพนธ์ได้รับการเผยแพร่ หรืออย่างน้อยได้รับการตอบรับให้เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูลสากล หรือได้รับการจดสิทธิบัตร
(2.5) การสอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์

PLO 3 บัณฑิตมีภาวะความเป็นผู้นำ กล้าแสดงออก รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้จักบทบาทหน้าที่ของตัวเองในฐานะผู้นำและผู้ตาม สามารถวางแผนงานวิจัยให้เสร็จตามที่กำหนด ใฝ่รู้ในการแสวงหาความก้าวหน้าทางวิชาการ และการเรียนรู้ตลอดชีวิต
3.1 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีม และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
3.2 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสมและเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวมพร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม
3.3 มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
3.4 คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ
3.5 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ในระดับปริญญาเอก กระบวนการที่สำคัญที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ คือ กระบวนการที่เกี่ยวข้องในการสัมมนาและการทำดุษฎีนิพนธ์ ดังนี้
(3.1) ในกระบวนการทำดุษฎีนิพนธ์ นักศึกษาต้องมีการติดต่อประสานงานกับบุคคลอื่นๆ ในหลากหลายรูปแบบ เช่น การต้องปรึกษาหารือกับช่าง/เจ้าหน้าที่ ที่ดูแล/จัดสร้าง/ซ่อมสร้างเครื่องมือ การประสานงานกับนักศึกษา อาจารย์ เจ้าหน้าที่ในกลุ่ม การต้องใช้เครื่องมือ/ทรัพยากร รวมกับผู้อื่น เป็นต้น ซึ่งเป็นการฝึกทักษะความสัมพันธ์ที่ดี และมีความรับผิดชอบต่อกันและกัน
(3.2) ในกระบวนการทำดุษฎีนิพนธ์นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเองเพื่อทำให้งานของตนเอง บรรลุผลอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ เนื่องจากไม่สามารถให้ผู้อื่นทำแทนได้
(3.3) ในกระบวนวิชาสัมมนาและดุษฎีนิพนธ์ เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นหรือเสนอความคิดเห็นอย่างเป็นอิสระโดยไม่ปิดกั้น และเมื่อมีการวิเคราะห์และรับฟังความคิดเห็นร่วมกันแล้ว ต้องยอมรับฟังสิ่งที่เป็นเหตุเป็นผล (3.1) ประเมินจากความคืบหน้าในผลงานดุษฎีนิพนธ์อย่างเป็นขั้นตอนตามแผนที่วางไว้
(3.2) ประเมินจากการนำเสนอและข้อมูลตอบกลับจากผู้ฟังการนำเสนอของนักศึกษาในการสัมมนาหรือในงานประชุมวิชาการ
(3.3) ประเมินจากการทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ที่ดูแลเครื่องมือ หรือเจ้าหน้าที่ที่ต้องเกี่ยวข้องว่ามีการให้เกียรติ ไม่ถือว่าผู้อื่นด้อยกว่าตนเอง การรับผิดชอบเตรียมตัวเองให้พร้อมมาก่อนล่วงหน้า

PLO 4 บัณฑิตมีการพัฒนาทักษะด้านภาษา สามารถติดต่อสื่อสาร นำเสนอผลงานด้วยภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดีและมีทักษะในการเขียนบทความวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ
4.1 สสามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม
4.2 มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับการใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารอย่างเหมาะสม สามารถแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือนำสถิติมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์ (4.1) ในกระบวนวิชาสัมมนา นักศึกษาจะได้เรียนรู้ในการใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสาร ในการ สืบค้นข้อมูลงานวิจัย เพื่อใช้ประกอบการพูดสัมมนาซึ่งต้องพูดอย่างน้อย 3 ภาคการศึกษาและในการเตรียมการทำดุษฎีนิพนธ์/และขณะทำดุษฎีนิพนธ์ นักศึกษาจะต้องค้นคว้าหาข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องตลอดเวลา จึงเป็นกระบวนการที่นักศึกษาได้พัฒนาทักษะ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
(4.2) ในกระบวนวิชาสัมมนาได้มีการจัดการบรรยายโดยวิทยากร/ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ ในเรื่องการเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอ และให้นักศึกษาฝึกทักษะการนำเสนอ/สื่อสารทั้งปากเปล่า การเขียนรายงาน พร้อมฝึกวิธีการ และรูปแบบการนำเสนอ และกำหนดให้มีผู้ถามซึ่งทำให้นักศึกษาได้พัฒนาตนเองเพื่อการนำเสนอที่กระชับ/ชัดเจน ทำให้ผู้อื่นได้เข้าใจ เป็นการพัฒนาทางด้านการสื่อสาร
(4.3) ในกระบวนการทำดุษฎีนิพนธ์ เพื่อที่จะนำข้อมูลไปประมวลผลได้ นักศึกษาจะได้ฝึกฝนทักษะวิธีการวิเคราะห์เชิงตัวเลขอย่างมากมายเพื่อดูทั้งความถูกต้องและการแปรค่าต่างของข้อมูลรวมถึงความสัมพันธ์ต่างๆในรูปสมการทางคณิตศาสตร์ทั้งอย่างง่ายและซับซ้อน (4.1) ประเมินโดยคณาจารย์ผู้รับผิดชอบกระบวนวิชาสัมมนา เช่น ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอข้อมูล-เนื้อหาที่นำเสนอ การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์และสถิติที่เกี่ยวข้อง
(4.2) ประเมินจากความสามารถในการอธิบายและอภิปราย การตอบปัญหาอย่างมีเหตุมีผล และมีการอ้างอิงถึงที่มาได้อย่างถูกต้อง
(4.3) ประเมินโดยคณะกรรมการสอบดุษฎีนิพนธ์ จากผลงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การนำเสนอและตอบปัญหา
(4.4) ประเมินจากการเตรียมเอกสารนำเสนอในรูปแบบ power point และ/หรือ poster การนำเสนอและข้อมูลตอบกลับจากผู้ฟังการนำเสนอของนักศึกษาในการสัมมนาหรือในการประชุมวิชาการ
(4.5) ประเมินจากคุณภาพการเตรียมบทความจากผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ

PLO 5 บัณฑิตมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณตามหลักวิชาการ/วิชาชีพ มีความรับผิดชอบและวินัยในตนเอง
5.1 ตระหนักในคุณค่า และคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริตมีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
5.2 มีวินัยตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆขององค์กรและสังคม (5.1) ในกระบวนวิชาสัมมนาและในการทำดุษฎีนิพนธ์จะสอดแทรกเกี่ยวกับจรรยาบรรณของอาชีพนักวิทยาศาสตร์ โดยเน้นถึงผลกระทบทั้งทางบวกและลบจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่อาจมีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมโดยรวม และดำเนินการทุกอย่างบนพื้นฐานของคุณธรรมและจริยธรรม
(5.2) ปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าร่วมสัมมนาให้ตรงต่อเวลา และเข้าร่วมสัมมนาอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
(5.3) ในการทำวิจัยนั้น นักศึกษาจะได้รับการปลูกฝังให้มีความซื่อสัตย์ต่อข้อมูลที่ได้จากการทดลองไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง และไม่ตกแต่งข้อมูล (5.1) ประเมินจากการร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกระบวนวิชาสัมมนา และการแสดงความคิดเห็นและความซื่อสัตย์ในข้อมูลและการทำวิจัย
(5.2) ประเมินจากการตรงต่อเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม และ/หรือ จากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
(5.3) ประเมินจากความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ในการเสร็จทันตามกำหนดนัดหมายและการมาพบตามกำหนดนัดหมาย
(5.4) ประเมินจากรายงานดุษฎีนิพนธ์และผลงานตีพิมพ์ โดยไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น ให้เกียรติและเคารพผลงานการตีพิมพ์ที่มีมาก่อนโดยมีการอ้างอิงถึงอย่างเหมาะสม

3. แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตร (PLO) สู่กระบวนวิชา (Curriculum Mapping)
ผลการเรียนรู้ของหลักสูตรมีความหมายดังนี้
คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ประกอบด้วย
PLO 1 บัณฑิตมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และ มีทักษะการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีควอนตัม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ องค์ความรู้เชิงลึก และมีทักษะในการพัฒนาทฤษฎีไปพร้อมกับการทดลองขั้นแนวหน้าเพื่อสามารถต่อยอดสู่นวัตกรรมควอนตัมขั้นสูงและเทคโนโลยีเชิงลึก (Deep Technology)
1.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา สามารถพัฒนาทฤษฎีและการทดลองขั้นแนวหน้าในการสร้างองค์ความรู้เชิงลึกเพื่อต่อยอดงานวิจัยสู่นวัตกรรมขั้นสูง
1.2 สามารถสืบค้น รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
1.3 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและมีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลงและเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ
PLO 2 บัณฑิตสามารถทำวิจัยแบบสรรพศาสตร์ (Multidisciplinary) โดยประยุกต์องค์ความรู้ที่เกิดจากความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานและผู้เชี่ยวชาญจากสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อวิเคราะห์ปัญหาเชิงควอนตัมที่มีความซับซ้อนได้
2.1 สามารถวิเคราะห์ปัญหารวมทั้งประยุกต์ความรู้ทักษะและการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหาที่มีความซับซ้อน
2.2 สามารถบูรณาการความรู้ในที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
2.3 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ
PLO 3 บัณฑิตมีภาวะความเป็นผู้นำ กล้าแสดงออก รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้จักบทบาทหน้าที่ของตัวเองในฐานะผู้นำและผู้ตาม สามารถวางแผนงานวิจัยให้เสร็จตามที่กำหนด ใฝ่รู้ในการแสวงหาความก้าวหน้าทางวิชาการ และการเรียนรู้ตลอดชีวิต
3.1 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีม และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
3.2 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสมและเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวมพร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม
3.3 มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
3.4 คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ
3.5 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
PLO 4 บัณฑิตมีการพัฒนาทักษะด้านภาษา สามารถติดต่อสื่อสาร นำเสนอผลงานด้วยภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดีและมีทักษะในการเขียนบทความวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ
4.1 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม
4.2 มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับการใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารอย่างเหมาะสม สามารถแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือนำสถิติมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์
PLO 5 บัณฑิตมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณตามหลักวิชาการ/วิชาชีพ มีความรับผิดชอบและวินัยในตนเอง
5.1 ตระหนักในคุณค่า และคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริตมีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
5.2 มีวินัยตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆขององค์กรและสังคม

แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลลัพธ์การเรียนรู้จากหลักสูตร (PLO) สู่กระบวนวิชา (Curriculum mapping)
กระบวนวิชา PLO 1 PLO 2 PLO 3 PLO 4 PLO 5
1.1 1.2 1.3 2.1 2.2 2.3 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 4.1 4.2 5.1 5.2
กระบวนวิชาบังคับ
231701 เทคโนโลยีควอนตัม
Quantum Technology
*หมายเหตุ: วิชาบังคับสำหรับ แบบ 2.2          
231891 สัมมนาปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์ และ
เทคโนโลยีควอนตัม 1
Ph.D. Seminar in Quantum Science and
Technology 1        
231892 สัมมนาปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์ และ
เทคโนโลยีควอนตัม 2
Ph.D. Seminar in Quantum Science and
Technology 2        
231893 สัมมนาปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์ และ
เทคโนโลยีควอนตัม 3
Ph.D. Seminar in Quantum Science and
Technology 3        
กระบวนวิชาเลือก
207703 กลศาสตร์ควอนตัม 1 Quantum Mechanics 1     
207704 กลศาสตร์ควอนตัม 2
Quantum Mechanics 2     
207705 พลศาสตร์ไฟฟ้าแบบฉบับ 1
Classical Electrodynamics 1         
207775 ทัศนศาสตร์ควอนตัม 1
Quantum Optics 1          
231701 เทคโนโลยีควอนตัม
Quantum Technology
*หมายเหตุ: วิชาเลือกสำหรับ แบบ 2.1          
231711 ฟิสิกส์ อะตอม โมเลกุล และ ทัศนศาสตร์ สำหรับ
เทคโนโลยีควอนตัม
Atomic, Molecular and Optical Physics for
Quantum Technology     
231712 ฟิสิกส์และแพลตฟอร์มสำหรับการทดลองการจำลอง
ควอนตัม
Physics and Platforms for Quantum
Simulation Experiments      
231789 หัวข้อเลือกสรรทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ควอนตัม
Selected Topics in Quantum Science and
Technology       
231889 หัวข้อเลือกสรรทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ควอนตัมขั้นสูง
Advanced Selected Topics in Quantum
Science and Technology       
ปริญญานิพนธ์
231897 ดุษฎีนิพนธ์
Doctoral Thesis               
231898 ดุษฎีนิพนธ์
Doctoral Thesis               
231899 ดุษฎีนิพนธ์
Doctoral Thesis               

คำอธิบายผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา
คุณธรรม จริยธรรม
(1.1) ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
(1.2) มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
(1.3) มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
(1.4) เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
ความรู้
(2.1) มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา
(2.2) สามารถวิเคราะห์ปัญหา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา
(2.3) สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ และมีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ
(2.4) สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ทักษะทางปัญญา
(3.1) คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ
(3.2) สามารถสืบค้น รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหา เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
(3.3) สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม
ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
(4.1) มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(4.2) สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม และเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม
(4.3) มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
(5.1) มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับการใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารอย่างเหมาะสม
(5.2) สามารถแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือนำสถิติมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์
(5.3) สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม

ตารางแสดงความเชื่อมโยงระหว่างผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (PLO) กับผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF)
มาตรฐานการเรียนรู้ตาม TQF PLO 1 PLO 2 PLO 3 PLO 4 PLO 5
1.1 1.2 1.3 2.1 2.2 2.3 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 4.1 4.2 5.1 5.2
1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม
1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ
และซื่อสัตย์สุจริต มีจรรยาบรรณทางวิชาการและ
วิชาชีพ 
1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง
และสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ
ขององค์กรและสังคม 
1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็น
ทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับ
ความสำคัญ 
1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้ง
เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 
2. ด้านความรู้
2.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎี
ที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา 
2.2 สามารถวิเคราะห์ปัญหา รวมทั้งประยุกต์ความรู้
ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไข
ปัญหา 
2.3 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ และมี
ความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้
เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของ
เทคโนโลยีใหม่ ๆ 
2.4 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับ
ความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 
3. ด้านทักษะทางปัญญา
3.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ 
3.2 สามารถสืบค้น รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุป
ประเด็นปัญหา เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่าง
สร้างสรรค์ 
3.3 สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไข
ปัญหาได้อย่างเหมาะสม 
4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
4.1 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถสื่อสารกับกลุ่มคน
หลากหลายทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ 
4.2 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็น
ที่เหมาะสม และเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการ
แก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้ง
แสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของ
กลุ่ม 
4.3 มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง
และทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง 
5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
5.1 มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบัน
ต่อการทำงานที่เกี่ยวกับการใช้สารสนเทศและ
เทคโนโลยีสื่อสารอย่างเหมาะสม 
5.2 สามารถแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์
หรือนำสถิติมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้อง
อย่างสร้างสรรค์ 
5.3 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและ
การเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่าง
เหมาะสม 

หมวดที่ 5 หลักเกณฑ์ในการประเมินผลนักศึกษา
1. กฎระเบียบหรือหลักเกณฑ์ ในการให้ระดับคะแนน
ใช้ระบบอักษรลำดับขั้นและค่าลำดับขั้นในการวัดและประเมินผลการศึกษาในแต่ละกระบวนวิชา โดยแบ่งการกำหนดอักษรลำดับขั้นเป็น 3 กลุ่ม คือ อักษรลำดับขั้นที่มีค่าลำดับขั้น อักษรลำดับขั้นที่ไม่มี
ค่าลำดับขั้น และอักษรลำดับขั้นที่ยังไม่มีการประเมินผล
1.1 อักษรลำดับขั้น ให้กำหนด ดังนี้
อักษรลำดับขั้น ความหมาย ค่าลำดับขั้น
A ดีเยี่ยม (excellent) 4.00
B+ ดีมาก (very good) 3.50
B ดี (good) 3.00
C+ ดีพอใช้ (fairly good) 2.50
C พอใช้ (fair) 2.00
D+ อ่อน (poor) 1.50
D อ่อนมาก (very poor) 1.00
F ตก (failed) 0.00

1.2 อักษรผลการศึกษาที่ไม่มีค่าลำดับขั้น ให้กำหนด ดังนี้
อักษรลำดับขั้น ความหมาย
S เป็นที่พอใจ (satisfactory)
U ไม่เป็นที่พอใจ (unsatisfactory)

1.3 อักษรสถานะการศึกษาที่ไม่มีการประเมินผลหรือยังไม่มีการประเมินผล ให้กำหนด ดังนี้
อักษรลำดับขั้น ความหมาย
I การวัดผลยังไม่สมบูรณ์ (incomplete)
P การเรียนการสอนยังไม่สิ้นสุด (in progress)
V เข้าร่วมศึกษา (visiting)
W ถอนกระบวนวิชา (withdrawn)
T ปริญญานิพนธ์ (thesis in progress)
ยังอยู่ในระหว่างดำเนินการ

กระบวนวิชาบังคับของสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม นักศึกษาจะต้องได้ค่าลำดับขั้นไม่ต่ำกว่า C หรือ S มิฉะนั้นจะต้องลงทะเบียนเรียนซ้ำอีก
กระบวนวิชาที่กำหนดให้วัดและประเมินผลด้วยอักษรลำดับขั้น S หรือ U ได้แก่กระบวนวิชา 231891 สัมมนาปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม 1 231892 สัมมนาปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม 2 231893 สัมมนาปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม 3 231897 ดุษฎีนิพนธ์ 231898 ดุษฎีนิพนธ์ 231899 ดุษฎีนิพนธ์

2. กระบวนการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา
2.1 การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ขณะนักศึกษายังไม่สำเร็จการศึกษา
2.1.1 การทวนสอบในระดับกระบวนวิชา
1. มีคณะกรรมการบริหารหลักสูตรบัณฑิตศึกษาประจำสาขาวิชาติดตามการจัดการเรียน
การสอน ให้เป็นไปตามเนื้อหาและวิธีการ ที่กำหนดไว้ในรายละเอียดของกระบวนวิชา
2. มีคณะกรรมการหรือทีมผู้สอนร่วม พิจารณาความเหมาะสมของข้อสอบในการวัดผลการ
เรียนรู้ตามที่กำหนดไว้ในรายละเอียดของกระบวนวิชา
3. มีการประเมินการให้คะแนน/ลำดับขั้น โดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ หรือ
กรรมการประจำภาควิชาและกรรมการบริหารประจำคณะ
4. มีการประเมินการเรียนการสอนในระดับรายวิชาโดยนักศึกษา
2.1.2 การทวนสอบในระดับหลักสูตร
1. มีการติดตามสัมฤทธิผลการเรียนของนักศึกษาในหลักสูตรว่าเป็นไปตามแผนการศึกษา
และสำเร็จการศึกษาภายในเวลาของหลักสูตร
2. มีการสอบถามความคิดเห็นจากนักศึกษา และอาจารย์ที่ปรึกษาของนักศึกษา เพื่อเป็น
ข้อมูลประกอบการพัฒนาหลักสูตร
2.2 การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้หลังจากนักศึกษาสำเร็จการศึกษา
1. มีการสำรวจการได้งานทำและการทำงานตรงสาขาในสถานประกอบการหรือสถาบัน/
องค์กรที่เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ
2. มีการประเมินหลักสูตรทุกๆ 5 ปี โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้สอน บัณฑิต ผู้ใช้บัณฑิต และ
กรรมการบริหารหลักสูตร
3. มีการประเมินบัณฑิตโดยผู้ใช้บัณฑิต
3. เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
หลักสูตร แบบ 1
1. สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination)
2. สอบผ่านภาษาต่างประเทศตามเงื่อนไขของบัณฑิตวิทยาลัย
3. ปฏิบัติครบตามเงื่อนไขของสาขาวิชา
4. สอบผ่านการสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination)
5. สอบผ่านการสอบประเมินผลดุษฎีนิพนธ์ และเปิดโอกาสให้ผู้สนใจเข้าร่วมฟังการนำเสนอผลการทำดุษฎีนิพนธ์ และ/หรือ ซักถามได้
6. การเผยแพร่ดุษฎีนิพนธ์
หลักสูตรแบบ 1.1
– ผลงานดุษฎีนิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์ได้รับการเผยแพร่ หรืออย่างน้อยได้รับการตอบรับให้เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติ ที่อยู่ในฐานข้อมูล ISI, Scopus, IEEE, PubMed หรือ Web of Science อย่างน้อย 2 เรื่อง โดยผลงานตีพิมพ์อย่างน้อย 1 เรื่องจะต้องอยู่ในวารสารที่มี ISI Impact Factor (Quatile 1 หรือ 2) และมีชื่อนักศึกษาเป็นชื่อแรก
– เสนอผลงานดุษฎีนิพนธ์ หรือส่วนหนึ่งของผลงานดุษฎีนิพนธ์แบบบรรยาย ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชา อย่างน้อย 1 เรื่อง
หลักสูตรแบบ 1.2
– ผลงานดุษฎีนิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์ได้รับการเผยแพร่ หรืออย่างน้อยได้รับการตอบรับให้เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติ ที่อยู่ในฐานข้อมูล ISI, Scopus, IEEE, PubMed หรือ Web of Science อย่างน้อย 2 เรื่องที่มีชื่อนักศึกษาเป็นชื่อแรก โดยผลงานตีพิมพ์อย่างน้อย 1 เรื่องจะต้องอยู่ในวารสารที่มี ISI Impact Factor (Quatile 1 หรือ 2)
– เสนอผลงานดุษฎีนิพนธ์ หรือส่วนหนึ่งของผลงานดุษฎีนิพนธ์ แบบบรรยาย ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชา อย่างน้อย 1 เรื่อง
7. เป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่าด้วยการพิจาณาเกียรติและศักดิ์ของนักศึกษาที่จะได้รับการเสนอชื่อให้ได้รับปริญญา หรือประกาศนียบัตรบัณฑิต หรือประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.2550
หลักสูตร แบบ 2
1. สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination)
2. สอบผ่านภาษาต่างประเทศตามเงื่อนไขของบัณฑิตวิทยาลัย
3. ศึกษากระบวนวิชา และปฏิบัติครบตามเงื่อนไขของสาขาวิชา
4. มีผลการศึกษาได้ค่าลำดับขั้นสะสมเฉลี่ยทั้งหมดไม่น้อยกว่า 3.00 และค่าลำดับขั้นสะสมเฉลี่ยในสาขาวิชาเฉพาะไม่น้อยกว่า 3.00
5. สอบผ่านการสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination)
6. สอบผ่านการสอบประเมินผลดุษฎีนิพนธ์ และเปิดโอกาสให้ผู้สนใจเข้าร่วมฟังการนำเสนอผลการทำดุษฎีนิพนธ์ และ/หรือ ซักถามได้
7. การเผยแพร่ดุษฎีนิพนธ์

หลักสูตร แบบ 2.1
– ผลงานดุษฎีนิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์ได้รับเผยแพร่ หรืออย่างน้อยได้รับการตอบรับให้เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติ ที่อยู่ในฐานข้อมูล ISI, Scopus, IEEE, PubMed หรือ Web of Science หรือ เผยแพร่เป็นบทความฉบับเต็ม (full paper) ในเอกสารเผยแพร่การประชุมวิชาการ (proceedings) ระดับนานาชาติที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชา อย่างน้อย 2 เรื่อง โดยผลงานตีพิมพ์อย่างน้อย 1 เรื่องจะต้องอยู่ในวารสารที่มี ISI Impact Factor (Quatile 1 หรือ 2) และมีชื่อนักศึกษาเป็นชื่อแรก
– เสนอผลงานดุษฎีนิพนธ์ หรือส่วนหนึ่งของผลงานดุษฎีนิพนธ์ แบบบรรยาย ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชา อย่างน้อย 1 เรื่อง
หลักสูตร แบบ 2.2
– ผลงานดุษฎีนิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์ได้รับการเผยแพร่ หรืออย่างน้อยได้รับการตอบรับให้เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติ ที่อยู่ในฐานข้อมูล ISI, Scopus, IEEE, PubMed หรือ Web of Science อย่างน้อย 2 เรื่อง โดยผลงานตีพิมพ์อย่างน้อย 1 เรื่องจะต้องอยู่ในวารสารที่มี ISI Impact Factor (Quatile 1 หรือ 2) และมีชื่อนักศึกษาเป็นชื่อแรก
– เสนอผลงานดุษฎีนิพนธ์ หรือส่วนหนึ่งของผลงานดุษฎีนิพนธ์ แบบบรรยาย ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชา อย่างน้อย 1 เรื่อง
8. เป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่าด้วยการพิจาณาเกียรติและศักดิ์ของนักศึกษาที่จะได้รับการเสนอชื่อให้ได้รับปริญญา หรือประกาศนียบัตรบัณฑิต หรือประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.2550

หมวดที่ 6 การพัฒนาคณาจารย์
1. การเตรียมการสำหรับอาจารย์ใหม่
(1) มีการปฐมนิเทศแนะแนวการเป็นครูแก่อาจารย์ใหม่ ให้มีความรู้และเข้าใจนโยบายของสถาบัน คณะตลอดจนในหลักสูตรที่สอน
(2) ส่งเสริมอาจารย์ให้มีการเพิ่มพูนความรู้ สร้างเสริมประสบการณ์เพื่อส่งเสริมการสอนและการวิจัยอย่างต่อเนื่อง การสนับสนุนด้านการศึกษาต่อ ฝึกอบรม ดูงานทางวิชาการและวิชาชีพในองค์กรต่างๆ การประชุมทางวิชาการทั้งในประเทศและ/หรือต่างประเทศ หรือการลาเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์
2. การพัฒนาความรู้และทักษะให้แก่คณาจารย์
2.1 การพัฒนาทักษะการจัดการเรียนการสอน การวัดและการประเมินผล
(1) ส่งเสริมอาจารย์ให้มีการเพิ่มพูนความรู้ สร้างเสริมประสบการณ์เพื่อส่งเสริมการสอนและการวิจัยอย่างต่อเนื่อง การสนับสนุนด้านการศึกษาต่อ ฝึกอบรม ดูงานทางวิชาการและวิชาชีพในองค์กรต่างๆ การประชุมทางวิชาการทั้งในประเทศและ/หรือต่างประเทศ หรือการลาเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์
(2) การเพิ่มพูนทักษะการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลให้ทันสมัย
2.2 การพัฒนาวิชาการและวิชาชีพด้านอื่นๆ
(1) การมีส่วนร่วมในกิจกรรมบริการวิชาการแก่ชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความรู้และคุณธรรม
(2) มีการกระตุ้นอาจารย์ทำผลงานทางวิชาการสายตรงในสาขาวิชา
(3) ส่งเสริมการทำวิจัยสร้างองค์ความรู้ใหม่และองค์ความรู้เชิงลึก เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและมีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพ

หมวดที่ 7 การประกันคุณภาพหลักสูตร
1. การกำกับมาตรฐาน
การบริหารจัดการหลักสูตรเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ/มาตรฐานคุณวุฒิสาขาวิชา ตลอดระยะเวลาที่มีการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตร
• อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
จำนวนอย่างน้อย 3 คน มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งศาสตราจารย์ และมีผลงานทางวิชาการที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา และเป็นผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในการพิจารณาแต่งตั้งให้บุคคลดำรงตำแหน่งทางวิชาการ อย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
• อาจารย์ประจำหลักสูตร
มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์และมีผลงานทางวิชาการที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา และเป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในการพิจารณาแต่งตั้งให้บุคคลดำรงตำแหน่งทางวิชาการ อย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
• มีการปรับปรุงหลักสูตรอย่างน้อยทุก 5 ปี โดยนำความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ใช้บัณฑิต และผู้มีส่วนได้-ส่วนเสีย และการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และความก้าวหน้าทางวิชาการ มาประกอบการพิจารณา
2. บัณฑิต
• มีการประเมินคุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ในมุมมองของผู้ใช้บัณฑิต โดยพิจารณาจากคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่หลักสูตรกำหนด ซึ่งครอบคลุมผลการเรียนรู้อย่างน้อย 5 ด้าน คือ 1) ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2) ด้านความรู้ 3) ด้านทักษะทางปัญญา 4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
• การเผยแพร่ผลงานปริญญานิพนธ์และเกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
หลักสูตร แบบ 1.1
– ผลงานดุษฎีนิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์ได้รับการเผยแพร่ หรืออย่างน้อยได้รับการตอบรับให้เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติ ที่อยู่ในฐานข้อมูล ISI, Scopus, IEEE, PubMed หรือ Web of Science อย่างน้อย 2 เรื่อง โดยผลงานตีพิมพ์อย่างน้อย 1 เรื่องจะต้องอยู่ในวารสารที่มี ISI Impact Factor (Quatile 1 หรือ 2) และมีชื่อนักศึกษาเป็นชื่อแรก
– เสนอผลงานดุษฎีนิพนธ์ หรือส่วนหนึ่งของผลงานดุษฎีนิพนธ์แบบบรรยาย ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชา อย่างน้อย 1 เรื่อง
หลักสูตร แบบ 1.2
– ผลงานดุษฎีนิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์ได้รับการเผยแพร่ หรืออย่างน้อยได้รับการตอบรับให้เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติ ที่อยู่ในฐานข้อมูล ISI, Scopus, IEEE, PubMed หรือ Web of Science อย่างน้อย 2 เรื่องที่มีชื่อนักศึกษาเป็นชื่อแรก โดยผลงานตีพิมพ์อย่างน้อย 1 เรื่องจะต้องอยู่ในวารสารที่มี ISI Impact Factor (Quatile 1 หรือ 2)
– เสนอผลงานดุษฎีนิพนธ์ หรือส่วนหนึ่งของผลงานดุษฎีนิพนธ์ แบบบรรยาย ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชา อย่างน้อย 1 เรื่อง
หลักสูตร แบบ 2.1
– ผลงานดุษฎีนิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์ได้รับเผยแพร่ หรืออย่างน้อยได้รับการตอบรับให้เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติ ที่อยู่ในฐานข้อมูล ISI, Scopus, IEEE, PubMed หรือ Web of Science หรือ เผยแพร่เป็นบทความฉบับเต็ม (full paper) ในเอกสารเผยแพร่การประชุมวิชาการ (proceedings) ระดับนานาชาติที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชา อย่างน้อย 2 เรื่อง โดยผลงานตีพิมพ์อย่างน้อย 1 เรื่องจะต้องอยู่ในวารสารที่มี ISI Impact Factor (Quatile 1 หรือ 2) และมีชื่อนักศึกษาเป็นชื่อแรก
– เสนอผลงานดุษฎีนิพนธ์ หรือส่วนหนึ่งของผลงานดุษฎีนิพนธ์ แบบบรรยาย ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชา อย่างน้อย 1 เรื่อง
หลักสูตร แบบ 2.2
– ผลงานดุษฎีนิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์ได้รับการเผยแพร่ หรืออย่างน้อยได้รับการตอบรับให้เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติ ที่อยู่ในฐานข้อมูล ISI, Scopus, IEEE, PubMed หรือ Web of Science อย่างน้อย 2 เรื่อง โดยผลงานตีพิมพ์อย่างน้อย 1 เรื่องจะต้องอยู่ในวารสารที่มี ISI Impact Factor (Quatile 1 หรือ 2) และมีชื่อนักศึกษาเป็นชื่อแรก
– เสนอผลงานดุษฎีนิพนธ์ หรือส่วนหนึ่งของผลงานดุษฎีนิพนธ์ แบบบรรยาย ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชา อย่างน้อย 1 เรื่อง
3. นักศึกษา
• มีกระบวนการรับนักศึกษาที่เหมาะสม โดยกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกและคุณสมบัติของนักศึกษาให้สอดคล้องกับลักษณะของหลักสูตร และมีการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา เพื่อให้นักศึกษามีความพร้อมในการเรียนและสามารถสำเร็จการศึกษาได้ตามระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนด
• มีการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถ และศักยภาพของนักศึกษาในรูปแบบต่างๆ เสริมสร้างความเป็นพลเมืองดีที่มีจิตสำนึกสาธารณะ และเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
• มีการแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาทั่วไปเพื่อให้คำปรึกษาด้านวิชาการ และแนะแนวให้แก่นักศึกษาทุกคน โดยอาจารย์จะต้องกำหนดชั่วโมงให้คำปรึกษา (Office Hours) เพื่อให้นักศึกษาสามารถเข้าปรึกษาได้
• มีการสำรวจข้อมูลการคงอยู่ของนักศึกษา อัตราการสำเร็จการศึกษา เพื่อประเมินแนวโน้มผลการดำเนินงาน
• มีระบบการจัดการข้อร้องเรียนของนักศึกษาที่มีประสิทธิภาพ โดยมีการประเมินความพึงพอใจของการรับและการส่งเสริมการพัฒนานักศึกษา และผลการจัดการข้อร้องเรียน
4. อาจารย์
• มีระบบการรับอาจารย์ใหม่ที่สอดคล้องกับระเบียบ/ข้อบังคับของมหาวิทยาลัย และต้องมีคะแนนทดสอบความสามารถภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด ซึ่งสอดคล้องกับประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง มาตรฐานความสามารถภาษาอังกฤษของอาจารย์ประจำ
• มีระบบการบริหาร และระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และนโยบายของมหาวิทยาลัย และแนวทางของหลักสูตร
• มีระบบการพัฒนาคุณภาพอาจารย์ เพื่อให้อาจารย์มีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เปิดสอน และมีความก้าวหน้าในการผลิตผลงานทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง
• มีการสำรวจข้อมูลอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก ตำแหน่งทางวิชาการ ผลงานทางวิชาการ การคงอยู่ของอาจารย์ และความพึงพอใจต่อกระบวนการรับอาจารย์และการบริหารของอาจารย์ เพื่อประเมินแนวโน้มผลการดำเนินงาน
5. หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
• มีกระบวนการออกแบบ/ปรับปรุงหลักสูตรและกระบวนวิชาให้มีเนื้อหาที่ทันสมัย ได้มาตรฐานทางวิชาการ/วิชาชีพ สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
• มีระบบและกลไกการพิจารณาอนุมัติหัวข้อดุษฎีนิพนธ์
• มีการกำหนดอาจารย์ผู้สอนในแต่ละกระบวนวิชา โดยคำนึงถึงความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญในกระบวนวิชาที่สอน และมีการกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการจัดทำแผนการเรียนรู้ และการจัดการเรียนการสอน (มคอ.3 และ มคอ.4)
• มีระบบและกลไกการแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ เพื่อช่วยเหลือ กำกับ ติดตามในการทำดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ การค้นคว้าอิสระ และการตีพิมพ์ผลงาน
• มีการประเมินผู้เรียน กำกับให้มีการประเมินตามสภาพจริง และมีวิธีการประเมินที่หลากหลาย (มคอ.5 มคอ.6 และ มคอ.7)

6. สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
• มีระบบการดำเนินงานของภาควิชา/คณะ/มหาวิทยาลัย โดยการมีส่วนร่วมของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ในการจัดเตรียมสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่จำเป็นต่อการเรียนการสอน ทั้งทางด้านกายภาพ อุปกรณ์ เทคโนโลยี และสิ่งอำนวยความสะดวกหรือทรัพยากรที่เอื้อต่อการเรียนรู้ อย่างเพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิผล
• มีการสำรวจความพึงพอใจและความต้องการของอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษาต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และนำผลการสำรวจมาพัฒนาปรับปรุง
7. ตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงาน (Key Performance Indicators)
แบบ 1.1 และ 2.1
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน ปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 ปีที่ 4 ปีที่ 5
1. มีการประชุมหลักสูตรเพื่อวางแผน ติดตาม และทบทวนการดำเนินงานหลักสูตรอย่างน้อยปีการศึกษาละสองครั้ง โดยมีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเข้าร่วมประชุมอย่างน้อย ร้อยละ 80 และมีการบันทึกการประชุมทุกครั้ง
x
x
x
x
x
2. มีรายละเอียดของหลักสูตร ตามแบบ มคอ.2 ที่สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ หรือ มาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา x x x x x
3. มีรายละเอียดของกระบวนวิชา และรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ตามแบบ มคอ.3 และ มคอ.4 อย่างน้อยก่อนการเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษาให้ครบทุกกระบวนวิชา x x x x x
4. จัดทำรายงานผลการดำเนินการของกระบวนวิชา และรายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม ตามแบบ มคอ.5 และ มคอ.6
ให้ครบทุกกระบวนวิชาที่เปิดสอนในหลักสูตร ภายใน 30 วัน
หลังวันปิดภาคการศึกษา x x x x x
5. จัดทำรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร ตามแบบ มคอ.7 ภายใน 60 วัน หลังสิ้นสุดปีการศึกษา x x x x x
6. มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้
ที่กำหนดในมคอ.3 และมคอ.4 (ถ้ามี) อย่างน้อยร้อยละ 25
ของกระบวนวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา x x x x x
7. มีการพัฒนา/ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอน หรือ การประเมินผลการเรียนรู้ จากผลการประเมินการดำเนินงานที่รายงาน ใน มคอ.7 ปีที่แล้ว x x x x
8. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่ ได้รับคำแนะนำ ด้านการบริหารจัดการหลักสูตร x x x x x
9. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกคนได้รับการพัฒนาทางวิชาการ และ/หรือวิชาชีพอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง x x x x x
10. จำนวนบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอน (ถ้ามี) ได้รับการพัฒนาวิชาการ และ/หรือวิชาชีพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ต่อปี x x x x x
11. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้าย/บัณฑิตใหม่ที่มีต่อคุณภาพหลักสูตร เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5.0 x x x
12. ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตใหม่ เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5.0 x x
รวมตัวบ่งชี้ (ข้อ) ในแต่ละปี 9 10 10 11 11
ตัวบ่งชี้บังคับ (ข้อที่) 1-5 1-5 1-5 1-5 1-5
ตัวบ่งชี้ต้องผ่านรวม (ข้อ) 8 8 8 9 10
เกณฑ์ประเมิน: หลักสูตรได้มาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิฯต้องผ่านเกณฑ์ประเมินดังนี้
ตัวบ่งชี้บังคับ (ตัวบ่งชี้ที่ 1-5) มีผลดำเนินการบรรลุตามเป้าหมาย และมีจำนวนตัวบ่งชี้ที่มีผลดำเนินการบรรลุเป้าหมายไม่น้อยกว่า 80 % ของตัวบ่งชี้รวม โดยพิจารณาจากจำนวนตัวบ่งชี้บังคับและตัวบ่งชี้รวมในแต่ละปี
แบบ 1.2 และ 2.2
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน ปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 ปีที่ 4 ปีที่ 5
1. มีการประชุมหลักสูตรเพื่อวางแผน ติดตาม และทบทวนการดำเนินงานหลักสูตรอย่างน้อยปีการศึกษาละสองครั้ง โดยมีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเข้าร่วมประชุมอย่างน้อย ร้อยละ 80 และมีการบันทึกการประชุมทุกครั้ง
x
x
x
x
x
2. มีรายละเอียดของหลักสูตร ตามแบบ มคอ.2 ที่สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ หรือ มาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา x x x x x
3. มีรายละเอียดของกระบวนวิชา และรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ตามแบบ มคอ.3 และ มคอ.4 อย่างน้อยก่อนการเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษาให้ครบทุกกระบวนวิชา x x x x x
4. จัดทำรายงานผลการดำเนินการของกระบวนวิชา และรายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม ตามแบบ มคอ.5 และ มคอ.6 ให้ครบทุกกระบวนวิชาที่เปิดสอนในหลักสูตร ภายใน 30 วัน
หลังวันปิดภาคการศึกษา x x x x x
5. จัดทำรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร ตามแบบ มคอ.7 ภายใน 60 วัน หลังสิ้นสุดปีการศึกษา x x x x x
6. มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดในมคอ.3 และมคอ.4 (ถ้ามี) อย่างน้อยร้อยละ 25
ของกระบวนวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา x x x x x
7. มีการพัฒนา/ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอน หรือการประเมินผลการเรียนรู้ จากผลการประเมินการดำเนินงานที่รายงานใน มคอ.7 ปีที่แล้ว x x x x
8. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่ ได้รับคำแนะนำด้านการบริหารจัดการหลักสูตร x x x x x
9. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกคนได้รับการพัฒนาทางวิชาการ และ/หรือวิชาชีพอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง x x x x x
10. จำนวนบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอน (ถ้ามี) ได้รับการพัฒนาวิชาการ และ/หรือวิชาชีพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ต่อปี x x x x x
11. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้าย/บัณฑิตใหม่ที่มีต่อคุณภาพหลักสูตร เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5.0 x x
12. ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตใหม่ เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5.0 x
รวมตัวบ่งชี้ (ข้อ) ในแต่ละปี 9 10 10 11 12
ตัวบ่งชี้บังคับ (ข้อที่) 1-5 1-5 1-5 1-5 1-5
ตัวบ่งชี้ต้องผ่านรวม (ข้อ) (ไม่น้อยกว่า 80% ของตัวบ่งชี้รวมในแต่ละปี) 8 8 8 9 10
เกณฑ์ประเมิน: หลักสูตรได้มาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิฯต้องผ่านเกณฑ์ประเมินดังนี้
ตัวบ่งชี้บังคับ (ตัวบ่งชี้ที่ 1-5) มีผลดำเนินการบรรลุตามเป้าหมาย และมีจำนวนตัวบ่งชี้ที่มีผลดำเนินการบรรลุเป้าหมายไม่น้อยกว่า 80 % ของตัวบ่งชี้รวม โดยพิจารณาจากจำนวนตัวบ่งชี้บังคับและตัวบ่งชี้รวมในแต่ละปี

หมวดที่ 8 กระบวนการการประเมินและปรับปรุงหลักสูตร
1. การประเมินประสิทธิผลของการสอน
1.1 กระบวนการประเมินและปรับปรุงแผนกลยุทธ์การสอน
 มีการประเมินผลการสอนของอาจารย์โดยนักศึกษา และนำผลการประเมินมาวิเคราะห์
เพื่อหาจุดอ่อนและจุดแข็งในการสอนของอาจารย์ผู้สอน เพื่อปรับกลยุทธ์การสอน
ให้เหมาะสม โดยอาจารย์แต่ละท่าน
 มีการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยการสอบ
 มีการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยการปฏิบัติงานกลุ่ม
 วิเคราะห์เพื่อหาจุดอ่อนและจุดแข็งในการเรียนรู้ของนักศึกษา เพื่อปรับกลยุทธ์การสอน
ให้เหมาะสมกับนิสิตแต่ละชั้นปี โดยอาจารย์แต่ละท่าน
1.2 กระบวนการประเมินทักษะของอาจารย์ในการใช้แผนกลยุทธ์การสอน
 ให้นักศึกษาได้ประเมินผลการสอนของอาจารย์ในทุกด้าน ทั้งในด้านทักษะ กลยุทธ์การสอน และการใช้สื่อในทุกรายวิชา
2. การประเมินหลักสูตรในภาพรวม
 ประเมินโดยนักศึกษาปีสุดท้าย
 ประเมินโดยบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา
 ประเมินโดยผู้ใช้บัณฑิต/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ
3. การประเมินผลการดำเนินงานตามรายละเอียดหลักสูตร
การประเมินคุณภาพการศึกษาประจำปี ตามดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุในหมวดที่ 7 ข้อ 7 โดยคณะกรรมการประเมินอย่างน้อย 3 คน ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาอย่างน้อย 1 คน
ที่ได้รับการแต่งตั้งจากมหาวิทยาลัย
4. การทบทวนผลการประเมินและวางแผนปรับปรุง
ให้กรรมการวิชาการประจำสาขาวิชา/ภาควิชา รวบรวมข้อมูลจากการประเมินการเรียนการสอนของอาจารย์ นักศึกษา บัณฑิต และผู้ใช้บัณฑิต และข้อมูลจาก มคอ.5,6,7 เพื่อทราบปัญหาของการบริหารหลักสูตรทั้งในภาพรวมและในแต่ละรายวิชา และนำไปสู่การดำเนินการปรับปรุงกระบวนวิชาและหลักสูตรต่อไป สำหรับการปรับปรุงหลักสูตรนั้นจะกระทำทุกๆ 5 ปี ทั้งนี้เพื่อให้หลักสูตรมีความทันสมัยและสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต

ภาคผนวก
1. คำอธิบายลักษณะกระบวนวิชา

207703 กลศาสตร์ควอนตัม 1 3(3-0-6)
Quantum Mechanics 1
เงื่อนไขที่ต้องผ่านก่อน: ไม่มี
แนวคิดพื้นฐานของกลศาสตร์ควอนตัม พลศาสตร์ควอนตัม โมเมนตัมเชิงมุม การรวมโมเมนตัมเชิงมุม ทฤษฎีการรบกวน ตัวดำเนินการความหนาแน่น สถิติเชิงควอนตัม และ การวัด
Fundamental concepts of quantum mechanics, quantum dynamics, angular momentum, addition of angular momentum, perturbation theory, density operators, quantum statistics and measurement

207704 กลศาสตร์ควอนตัม 2 3(3-0-6)
Quantum Mechanics 2
เงื่อนไขที่ต้องผ่านก่อน: ว.ฟส. 703 (207703)
ทฤษฎีการรบกวนที่ขึ้นกับเวลา การประยุกต์สำหรับการแผ่รังสี สมมาตรในกลศาสตร์ควอนตัม ทฤษฎีการกระเจิง และ กลศาสตร์ควอนตัมสัมพัทธภาพ
Time-dependent perturbation theory, applications to radiation, symmetry in quantum mechanics, scattering theory, and relativistic quantum mechanics

207705 พลศาสตร์ไฟฟ้าแบบฉบับ 1 3(3-0-6)
Classical Electrodynamics 1
เงื่อนไขที่ต้องผ่านก่อน: ไม่มี
ไฟฟ้าสถิต ปัญหาค่าขอบทางไฟฟ้าสถิต การกระจายแบบหลายขั้ว สนามไฟฟ้าในตัวกลาง แม่เหล็กสถิต สนามแม่เหล็กในตัวกลาง ปัญหาค่าขอบทางแม่เหล็กสถิต สนามที่เปลี่ยนแปลงตามเวลาและกฎของฟาราเดย์ และ สมการของแมกซ์เวลล์ การแปลงเกจ ทฤษฎีบทของพอยท์ติง ศักย์หน่วง
Electrostatics, boundary-value problems in electrostatics, multipole expansion, electric fields in matter, magnetostatics, magnetic fields in matter, boundary-value problems in magnetostatics, time-varying fields and Faraday’s law, and Maxwell’s equations, gauge transformation, Poynting’s theorem, retarded potential

207775 ทัศนศาสตร์ควอนตัม 1 3(3-0-6)
QUANTUM OPTICS 1
เงื่อนไขที่ต้องผ่านก่อน: ว.ฟส. 703 (207703) และ ว.ฟส. 705 (207705)
ทฤษฎีแสงแบบฉบับและที่เกินกว่า ทฤษฎีควอนตัมของแสง การเปลี่ยนระดับพลังงานของอะตอม อันตรกิริยาของโฟตอน-อะตอม
Classical theory of light and beyond, quantum theory of light, radiative transitions in atoms, atom–photon interactions

231701 เทคโนโลยีควอนตัม 3(3-0-6)
Quantum Technology
เงื่อนไขที่ต้องผ่านก่อน: ไม่มี
ภาพกว้างเทคโนโลยีควอนตัม กลศาสตร์ควอนตัมเบื้องต้น คิวบิตและกฏที่ใช้ในกลศาสตร์ควอนตัม ทรัพยากรเชิงควอนตัม เครือข่ายการคำนวณควอนตัม การจำลองควอนตัม มาตรวิทยาเชิงควอนตัมและเซ็นเซอร์ควอนตัม การสื่อสารเชิงควอนตัม
Overview of quantum technology, introduction to quantum mechanics, qubit and rules in quantum mechanics, quantum resources, quantum computing network, quantum simulation, quantum metrology and quantum sensors, quantum communication
231711 ฟิสิกส์ อะตอม โมเลกุล และทัศนศาสตร์สำหรับเทคโนโลยีควอนตัม 3(3-0-6)
Atomic, Molecular and Optical Physics for Quantum Technology
เงื่อนไขที่ต้องผ่านก่อน: ว.ทค. 701 (231701) หรือตามความเห็นชอบของผู้สอน
ระบบสุญญากาศ: ปั๊มสุญญากาศและการปิดผนึกสุญญากาศ ระบบเลเซอร์และชนิดของเลเซอร์ การปรับความถี่และระบบรักษาเสถียรภาพความถี่ เครื่องลดความเร็วซีมานและระบบการขนส่งเชิงแม่เหล็ก การชนเย็นและการชนที่ใช้แสงช่วย เครื่องกล้ำแสงเชิงตำแหน่ง แล็ตทิซแสงและคีมแสง กับดักแม่เหล็ก แพลตฟอร์มอะตอมเย็น ระบบตรวจจับ: ตัวถูกสังเกตและการวัด สายพานอะตอม กล้องจุลทรรศน์แก๊สควอนตัม ฉนวนมอตต์–ระบบของไหลยิ่งยวด มาตรวัดแรงโน้มถ่วงอะตอม เซ็นเซอร์วัดสนาม เครื่องจำลองควอนตัมชนิดเฟอร์มิออน เครื่องจำลองควอนตัมชนิดโบซอน
Vacuum system: vacuum pump and vacuum sealing, laser system and type of lasers, frequency tuning and stabilization system, Zeeman slower and magnetic transport system, cold collision and light assisted collision, spatial light modulator, optical lattice and optical tweezer, magnetic trap, cold atom platform, detection system: observable and measurement, atom conveyer belt, quantum gas microscope, Mott insulator – superfluidity system, atom gravimeter, field sensors, fermionic quantum simulator, bosonic quantum simulator
231712 ฟิสิกส์และแพลตฟอร์มสำหรับการทดลองการจำลองควอนตัม 3(3-0-6)
Physics and Platforms for Quantum Simulation Experiments
เงื่อนไขที่ต้องผ่านก่อน: ว.ทค. 701 (231701) หรือตามความเห็นชอบของผู้สอน
บทนำสู่การจำลองควอนตัมและการทดลองที่เกี่ยวข้อง ระบบควอนตัมดอต ระบบโฟโตนิกส์ ระบบอะตอมในสถานะเป็นกลาง ระบบไอออนที่ถูกกักขัง ระบบศูนย์กลางไนโตรเจน-ที่ว่าง ระบบวงจรตัวนำยิ่งยวด ระบบทอพอลอยี
Introduction to quantum simulation and related experiments, quantum dot system, photonics system, neutral atom system, trapped ion system, nitrogen-vacancy center system, superconducting circuit system, topological system
231789 หัวข้อเลือกสรรทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม 3(3-0-6)
Selected Topics in Quantum Science and Technology
เงื่อนไขที่ต้องผ่านก่อน: ตามความเห็นชอบของผู้สอน
การบรรยายเกี่ยวกับหัวข้อที่เลือกสรรทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัมที่เป็นที่สนใจในปัจจุบัน
Lectures on selected topics of current interest in quantum science and technology

231889 หัวข้อเลือกสรรทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัมขั้นสูง 3(3-0-6)
Advanced Selected Topics in Quantum Science and Technology
เงื่อนไขที่ต้องผ่านก่อน: ตามความเห็นชอบของผู้สอน
การบรรยายเกี่ยวกับหัวข้อที่เลือกสรรทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัมขั้นสูงที่เป็นที่สนใจในปัจจุบัน
Lectures on advanced selected topics of current interest in quantum science and technology

231891 สัมมนาปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม 1 1(1-0-2)
Ph.D. Seminar in Quantum Science and Technology 1
เงื่อนไขที่ต้องผ่านก่อน: ไม่มี
การนำเสนอและการอภิปรายโดยนักศึกษา เกี่ยวกับงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัมในปัจจุบัน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเสนอโครงร่างหัวข้อการค้นคว้าวิจัย
Presentation and discussion by students about current research in quantum science and technology leading to their proposed research topics

231892 สัมมนาปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม 2 1(1-0-2)
Ph.D. Seminar in Quantum Science and Technology 2
เงื่อนไขที่ต้องผ่านก่อน: ว.ทค. 891 (231891)
การนำเสนอและการอภิปรายโดยนักศึกษา ในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการค้นคว้าวิจัย
Presentation and discussion by students in topics related to their research study
231893 สัมมนาปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัม 3 1(1-0-2)
Ph.D. Seminar in Quantum Science and Technology 3
เงื่อนไขที่ต้องผ่านก่อน: ว.ทค. 892 (231892)
การนำเสนอและการอภิปราย โดยนักศึกษา ในหัวข้อการค้นคว้าวิจัยและความก้าวหน้าของการทำดุษฎีนิพนธ์
Presentation and discussion by students in topics of their research study and thesis progress
231897 ดุษฎีนิพนธ์ 72 หน่วยกิต
Doctoral Thesis
เงื่อนไขที่ต้องผ่านก่อน: ได้รับอนุมัติหัวข้อโครงร่างแล้ว หรือลงทะเบียนพร้อมกับการเสนอขออนุมัติหัวข้อโครงร่าง
231898 ดุษฎีนิพนธ์ 48 หน่วยกิต
Doctoral Thesis
เงื่อนไขที่ต้องผ่านก่อน: ได้รับอนุมัติหัวข้อโครงร่างแล้ว หรือลงทะเบียนพร้อมกับการเสนอขออนุมัติหัวข้อโครงร่าง
231899 ดุษฎีนิพนธ์ 36 หน่วยกิต
Doctoral Thesis
เงื่อนไขที่ต้องผ่านก่อน: ได้รับอนุมัติหัวข้อโครงร่างแล้ว หรือลงทะเบียนพร้อมกับการเสนอขออนุมัติหัวข้อโครงร่าง

2. คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการร่างหลักสูตร

3. ผลงานทางวิชาการของอาจารย์
1) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร/อาจารย์ประจำหลักสูตร
ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ ปี 2017 – 2021
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรานนท์ อนุกูล (H-index: 3)
1. งานวิจัย
1.1. ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ
ระดับนานาชาติ
1) Panthinuan K., Pilapong C., Anukool W., Sakulsermsuk S., 2020, “Design of three-axis square Helmholtz coils for compact atomic magnetometer,” The 4th International Conference on Photonics Solutions (ICPS2019), SPIE Digital Library, 113310P, doi: 10.1117/12.2552928.
2) Kittiya A., Watcharangkool A., Wannawichian S., Anukool W., 2020, “Diffuse interstellar bands from the spectrum of autoionising helium,” The 4th International Conference on Photonics Solutions (ICPS2019), SPIE Digital Library, Proc. SPIE 11331, 113310N, doi: 10.1117/12.2550805.
3) Ittipratheep N., Udomsom S., Mankong U., Chamsuk P., Bouthwong A., Anukool W., Umezawa T., Matsumoto A., 2020, “3D printed assembly and software development for silicon photonics sensor device measurement,” Proc. SPIE 11331, Fourth International Conference on Photonics Solutions (ICPS2019), 113310E, doi: 10.1117/12.2553021.
4) Photia T., Temnuch W., Srisuphaphon S., Tanasanchai N., Anukool W., Wongrach K., Manit P., Chiangga S., Deachapunya S., 2019, “High-precision grating period measurement”, Applied Optics, 58(2), pp. 270-273.
5) Srakaew K. Phrompao J., Anukool W., 2019, “Experimental apparatus and methods for synthesizing 1D single-atom array,” Journal of Physics: Conference Series (JPCS), IOP Conference Series 10, 1380, pp. 012059.
6) Sanghiran Lee V., Nimmanpipug P., Anukool W., Jeong H., Zain S. Md, Khian Hooi C, 2019, “Quasiparticle energies of ground state and excited state of metal clusters using all-electron mixed basis of plane waves (PWs) and atomic orbitals (AOs),” The 4th International Conference on Photonics Solutions (ICPS), SPIE Digital Library, pp. 32-35.
7) Anukool W., Lim J., Song Y. and Ahn W., 2018, “Quantum Computing Systems: A Brief Overview”, Journal of the Korean Physical Society, 73, pp. 841-845.
ระดับชาติ
ไม่มี

1.2. นำเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการ
ระดับนานาชาติ
1) Anukool, W., 2021, “Quantum Engineering Initiative at RCQT, Chiang Mai University”, UM Computational Science and Engineering (CSE) Symposium, 19 Feb 2021, Online Conference, pp. 1-4.
ระดับชาติ
1) Anukool W., 2019, “Quantum science, engineering, and technology towards Physics Beyond 2030,” Siam Physics Congress SPC2019: Physics beyond disruption society, June 7, 2019, Hansa JB Hotel, Hatyai, Songkhla, Thailand, pp. 24-28.

1.3. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
ไม่มี

อาจารย์ ดร. นิธิวดี ไทยเจริญ (H-index: 9)
1. งานวิจัย
1.1. ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ
ระดับนานาชาติ
1) Thaicharoen N., Moore R. K., Anderson A. D., Powel C. R., Peterson E., and Raithel G., 2019, Electromagnetically-induced transparency, absorption, and microwave field sensing in a Rb vapor cell with a three-color all-infrared laser system, Phys. Rev. A 100, 063427.
2) Thaicharoen N., Miller S., and Raithel G., 2018, Expansion behavior and pair correlations in continuously excited Rydberg systems, Phys. Rev. A 98, 023402.
ระดับชาติ
ไม่มี

1.2. นำเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการ
ระดับนานาชาติ
ไม่มี
ระดับชาติ
ไม่มี

1.3. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
ไม่มี

2. สิทธิบัตร
1) Anderson D. A., Raithel G., Holloway C., Gordon J., Schwarzkopf A., Miller S. A., Thaicharoen N., Atom-based electromagnetic radiation electric-field and power sensor
US Patent: US9970973B2, granted May 15, 2018
European patent: filed April 18, 2018
International patent: WO2016205330A1, filed June 15, 2016

รองศาสตราจารย์ ดร. สรรพวรรธน์ กันตะบุตร (H-index: 3)
1. งานวิจัย
1.1. ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ
ระดับนานาชาติ
1) Juneam, N., and Kantabutra, S., 2017, “Fast and Efficient Parallel Coarsest Refinement”, Fundamenta Informaticae 150(2), pp. 211-220.
2) Juneam, N., and Kantabutra, S., 2017, “On the Parallel Complexity of Minimum Sum of Diameters Clustering”, Journal of Internet Technology 18(4), pp. 899-905.
3) Jindaluang, W., Chawachat, J., Chouvatut, V., Fakcharoenphol, J., and Kantabutra, S., 2017, “An Improved Approximation Algorithm for the s-t Path Movement Problem,” Chiang Mai Journal of Science, 44(1), pp. 279-286.
ระดับชาติ
ไม่มี

1.2. นำเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการ
ระดับนานาชาติ
1) Mukdasanit, S., and Kantabutra, S., 2018, “Time Complexity of the Edge Replacement Problem in a Cyber Security System,” Proceedings of the 22nd IEEE International Computer Science and Engineering Conference (ICSEC2018), November 21-24, 2018, Chiang Mai, Thailand.
2) Mukdasanit, S., and Kantabutra, S., 2017, “The Complexity of the Infinity Replacement Problem in the Cyber Security Model,” Proceedings of the 21st IEEE International Computer Science and Engineering Conference (ICSEC2017), November 15-18, 2017, Bangkok, Thailand.
ระดับชาติ
ไม่มี

1.3. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
ไม่มี

รองศาสตราจารย์ ดร. ระดม พงษ์วุฒิธรรม (H-index: 9)
1. งานวิจัย
1.1. ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ
ระดับนานาชาติ
1) Lin, W., Rattanamongkhonkun, K., Pongvuthithum, R., 2019, “LgV-Type adaptive controllers for uncertain non-affine systems and application to a DC-Microgrid with PV and battery”, IEEE Transactions on Automatic Control, 64(5), pp. 2182-2189.
2) Pongvuthithum, R., Moran, J., Sankui, T., 2019, “The Design Process for a Closed Combustion Chamber Flow Blurring Nozzle”, Distributed Generation and Alternative Energy Journal, 34(1), pp. 9-31.
3) Rattanamongkhonkun, K., Pongvuthithum, R., Lin, W., 2018, “Nonsmooth feedback stabilization of a class of nonlinear systems with unknown control direction and time delay”, International Journal of Robust and Nonlinear Control, 28(17), pp. 5358-5374.
4) Pongvuthithum, R., Rattanamongkhonkun, K., Lin, W., 2018, “Asymptotic Regulation of Time-Delay Nonlinear Systems with Unknown Control Directions”, IEEE Transactions on Automatic Control, 63(5), pp. 1495-1502.
5) Pongvuthithum, R., Moran, J., Sankui, T., 2018, “A flow blurring nozzle design for combustion in a closed system”, Applied Thermal Engineering, 131, pp. 587-594.
6) Lin, W., Rattanamongkhonkun, K., Pongvuthithum, R., 2018, “Adaptive Stabilization of Uncertain Non-Affine Systems with Nonlinear Parameterization” IFAC-PapersOnLine, 51(15), pp. 616-621.
7) Rattanamongkhonkun, K., Pongvuthithum, R., Lin, W., 2018, “Global Stabilization of a Class of Time-Delay Nonlinear Systems with Unknown Control Directions by Nonsmooth Feedback”, IFAC-PapersOnLine, 51(14), pp. 78-83.
8) Karnjanaparichat, T., Pongvuthithum, R., 2017, “Adaptive tracking control of multi-link robots actuated by pneumatic muscles with additive disturbances”, Robotica, 35(11), pp. 2139-2156.
ระดับชาติ
ไม่มี

1.2. นำเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการ
ระดับนานาชาติ
1) Leungsubthawee, K., Chamchang, P., Pongvuthithum, R., Likasiri, C., 2019, ”Maximum matching for multi-capacitated fleet backhaul management”, AIP Conference Proceedings, 2116, pp. 110005 (4 หน้า).
2) Pongvuthithum, R., Rattanamongkhonkun, K., Lin, W., 2019, “Adaptive control of a general class of upper triangular systems with parametric uncertainty”, 18th European Control Conference, pp. 3444-3449.
3) Rattanamongkhonkun, K., Pongvuthithum, R., Lin, W., Tao, G., 2018, “Feedback stabilization of nonlinear systems with unknown control directions and time-delay”, 2017 Asian Control Conference, pp. 138-143.
ระดับชาติ
ไม่มี

1.3. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
1) ระดม พงษ์วุฒิธรรม. 2563 การควบคุมแบบเปลี่ยนตามเวลาสำหรับระบบที่มีการหน่วงและไม่เป็นเชิงเส้น TRF Research Career Development Grant สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย 62 หน้า
2) ระดม พงษ์วุฒิธรรม และคณะ 2562 การศึกษาและพัฒนาซีลรองเพลากังหันน้ำของเขื่อนสิริกิติ์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 68 หน้า
3) ระดม พงษ์วุฒิธรรม และคณะ 2561 หุ่นยนต์ที่ใช้กลไกขาแบบขนานสำหรับปฏิบัติการเชิงยุทธวิธีในหลากหลายภูมิประเทศ ระยะที่ 1 สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) 86 หน้า

รองศาสตราจารย์ ดร. อนุชา วัชระภาสร (H-index: 18)
1. งานวิจัย
1.1. ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ
ระดับนานาชาติ
1) Prayoonphokkharat P., Amonpattaratkit P., Watcharapasorn A., 2020, “Crystal structure and XANES study of Sn-substituted YBa2Cu3O7-y powder prepared by solid-state synthesis method”, Applied Physics A: Materials Science and Processing 126, pp. 140 (1-7).
2) Jaiban P., Lu M.-H., Eknapakul T., Chaiyachad S., Yao S. H., Pisitpipathsin N., Unruan M., Siriroj S., He R.-H., Mo S.-K., Watcharapasorn A., Yimnirun R., Tokura Y., Shen Z.-X., Hwang H. Y., Maensiri S. and Meevasana W., 2020, “Spectral weight reduction of two-dimensional electron gases at oxide surfaces across the ferroelectric transition”, Scientific Report, 10, pp. 16834.
3) Naksata M., Watcharapasorn A., Hongsibsong S., Sapbamrer R., 2020, “Development of personal protective clothing for reducing exposure to insecticides in pesticide applicators, International Journal of Environmental Research and Public Health”, 17(9), pp. 3303.
4) Boonsong P., Wannasut P., Sriprachuabwong C., Tuantranont A. and Watcharapasorn A., 2020, “Synthesis and characterization of SmBa2Cu3Oy powder prepared by solid-state reaction”, Science of Advanced Materials, 12, pp. 180-185.
5) Boonsong P., Wannasut P., Watcharapasorn A., 2020, “Effect of calcination condition on phase formation characteristics of NdBa2Cu3Oy powder prepared by solid-state reaction”, Chiang Mai Journal of Science, 47(4 Special Issue 2), pp. 654–664.
6) Jaiban P., Wannasut P., Watcharapasorn A., 2020, Visible and ultraviolet light absorption of Cuo-doped Fe alloy coatings prepared by HVOF thermal spray technique”, Chiang Mai Journal of Science, 47(3), pp. 580–587.
7) Jaiban, P., Wannasut, P., Kantha, P., Promsawat, M., Watcharapasorn, A., 2020, “Effects of Mg and La co-doping on dielectric, ferroelectric, and piezoelectric properties of barium calcium zirconate titanate ceramics”, Chiang Mai Journal of Science, 47(4), pp. 633–641.
8) Wannasut, P., Jaiban, P., Keawprak, N., and Watcharapasorn, A., 2019, “Thermoelectric properties of YBa2Cu3O7-x-Ca3Co4O9 segmented oxide ceramic”, Journal of Electronic Materials, 48(6), pp. 3514-3518.
9) Jaiban, P., Wannasut, P., Yimnirun, R., and Watcharapasorn, A., 2019, “Microstructural effect on dielectric, ferroelectric, and piezoelectric properties and ultraviolet light response of Ba0.7Ca0.3TiO3 ceramics with accepter dopant”, Material Research Bulletin, 118, pp. 110501.
10) Jaiban, P., Wannasut, P., Pisitpipathsin, N., Namsar, O., Chanlek, N., Pojprapai, S., Yimnirun, R., Guo, R., Bhalla, A.S., and Watcharapasorn, A., 2019, “Phase characteristic, microstructure, and electrical properties of (1-x)BaZr0.2Ti0.8O3-(x)Ba0.7Ca0.3)0.985La0.01TiO3 ceramic”, Ceramics International, 45, pp. 17502-17511.
11) Prayoonphokkharat, P., Wannasut, P., Sriprachuabwong, C., Tuantranont, A., and Watcharapasorn, A., 2019, “Effect of Milling Techniques on The Particle Characteristics of Conductive Pr-Substituted YBa2Cu3O7-y Compound”, Journal of Physics: Conf. Series, 1259, pp. 012024.
12) Wannasut, P., Prayoonphokkharat, P., Jaiban, P., Keawprak, N., and Watcharapasorn, A., 2019, “Thermoelectric properties of YBa2Cu3O7-x-NayCoO2 segmented oxide ceramics”, Materials Letters, 236, pp. 378-382.
13) Jaiban, P., Tongtham, M., Wannasut, P., and Watcharapasorn, A., 2019, “Dielectric response on ultraviolet light irradiation of Ba0.85Ca0.15Zr0.1Ti0.9O3 based ceramics”, Materials Letters 243, pp. 169-172.
14) Prayoonphokkharat, P., Amonpattaratkit, P., and Watcharapasorn, A., 2019, “Crystal structure and XANES study of defect perovskite (Y1-xPrx)1+δBa2-δCu3O7-y compounds prepared by solid state synthesis method”, Electronic Materials Letters 15, pp. 377–382.
15) Boonsong, P., Wannasut, P., Buntham, S., Rachakom, A., Sriprachuabwong, C., Tuantranont, A., and Watcharapasorn, A., 2018, “Electrical and thermal transport properties of dysprosium barium copper oxide ceramic”, Chiang Mai Journal of Science 45(7), pp. 2809-2816.
16) Boonsong, P., Wannasut, P., Rachakom, A., and Watcharapasorn, A., 2018, “Quantitative phase analysis and crystal structure of DyBCO ceramics prepared at diferent sintering conditions”, Chiang Mai Journal of Science, 45(4), pp. 1835-1842.
17) Wannasut, P., Keawprak, N., and Watcharapasorn, A., 2018, “Preparation of Bilayer YBa2Cu3O7-x-NayCoO2 thermoelectric deramic by solid-state sintering method”, Chiang Mai Journal of Science 45(3), pp. 1543-1548.
18) Wannasut, P., Boonsong, P., Prayoonphokharat, P., Kaewprak, N., and Watcharapasorn, A., 2018, “Effects of sintering temperature on physical properties, phase, microstructure and oxygen stoichiometry of NayCoO2 ceramics”, Chiang Mai Journal of Science, 45(5), pp. 2015-2020.
19) Wannasut, P., Prayoonphokkharat, P., Keawprak, N., Jaiban, P., and Watcharapasorn, A., 2018, “Effects of sintering temperature on phase, physical properties and microstructure of Ca3Co4O9 ceramic”, Solid State Phenomena, 283, pp. 101-106.
20) Wannasut, P., Pisitpipathsin, N., Watcharapasorn, A., and Jaiban, P., 2018, “Dielectric, ferroelectric and piezoelectric properties of (Ba0.7Ca0.3)1-x/2Ti1-xFexO3-x ceramics”, Chiang Mai Journal of Science, 45(7), pp. 2817-2825.
21) Jaimeewong, P., Sittinon, S., Buntham, S., Bomlai, P., Namsar, O., Pojprapai, S., and Watcharapasorn, A., 2018, “Ferroelectric, piezoelectric and dielectric behaviors of CoO- and Fe2O3-Doped BCZT ceramics”, Physica Status Solidi A, pp. 1701023.
22) Jaimeewong, P., Ngernchuklin, P., Promsawat, N., Pojprapai, S., Jiansirisomboon, S., Promsawat, M., and Watcharapasorn, A., 2018, “Characterization of phase evolution, microstructure and electrical properties of sol-gel auto-combustion derived BCZT ceramics”, Journal of Nanoscience and Nanotechnology, 18, pp. 4230-4235.
23) Jaiban, P., Pisitpipathsin, N., Wannasut, P., and Watcharapasorn, A., 2018, “Dielectric and ferroelectric properties of Nb-doped Ba0.7Ca0.3TiO3 ceramics”, Ferroelectrics, 533, pp. 165-172.’
24) Jaiban, P., Watcharapsorn, A., Yimnirun, R., Guo, R., and Bhalla, A.S., 2018, “Dielectric, ferroelectric and piezoelectric properties of (Ba0.7Ca0.3)Ti1-xCuxO3-x ceramics”, Journal of Alloys and Compounds, 759, pp. 120-127.
25) Buntham, S., Boonsong, P., Jaiban, P., Keawprak, N., and Watcharapasorn, A., 2018, “Effects of cobalt dopant on microstructure and electrical properties of Bi0.5Na0.5TiO3 ceramics”, Chiang Mai Journal of Science, 45(6), pp. 2481-2490.
26) Prayoonphokkarat, P. and Watcharapasorn, A., 2017, “Transport properties and thermoelectric figure of merit of YBa2Cu3O7-x-Bi0.5Na0.5TiO3 ceramics”, Science of Advanced Materials, 9, pp. 1872-1875.
27) Wannasut, P., Jaita, P., Jiansirisomboon, S., and Watcharapasorn, A., 2017, “Piezoelectric and ferroelectric properties of lead-free Bi0.5(Na0.80K0.20)0.5TiO3-(Ba0.98Nd0.20)TiO3 binary system”, Integrated Ferroelectrics, 177, pp. 10-16.
28) Wannasut, P., Eaksuwanchai, P., and Watcharapasorn, A., 2017, “Investigation of bilayer YBa2Cu3O7-x-Ca3Co4O9 thermoelectric ceramic prepared by solid-state sintering method”, Journal of Materials Science and Applied Energy, 6(1), pp. 83-87.
29) Wannasut, P., Keawprak, N., and Watcharapasorn, A., 2017, “Preparation of bilayer YBa2Cu3O7-x-NayCoO2 thermoelectric ceramic by solid-state sintering method”, Chiang Mai Journal of Science, 44(3), pp. 1543-1548.
30) Wannasut, P., Keawprak, N., Jaiban, P., and Watcharapasorn, A., 2017, “Preparation and physical properties of segmented thermoelectric YBa2Cu3O7-x-Ca3Co4O9 ceramics”, IOP Conf. Series: Materials Science and Engineering, 303, pp. 012010.
31) Jaiban, P., Watcharapasorn, A., Yimnirun, R., Guo, R., and Bhalla, A.S., 2017, “Effects of donor and acceptor doping on dielectric and ferroelectric properties of Ba0.7Ca0.3TiO3 lead-free ceramics”, Journal of Alloys and Compounds, 695, pp. 1329-1335.
32) Jaiban, P. and Watcharapasorn, A., 2017, “Effects of Mg doping on electrical properties of Ba0.7Ca0.3TiO3 ceramics”, Materials Today Communications, 11, pp. 184-190.
33) Buntham, S., Keawprak, N., and Watcharapasorn, A., 2017, “Thermoelectric and magnetic properties of Bi0.5Na0.5TiO3-doped NaxCoO2 ceramics”, Journal of Nanoscience and Nanotechnology, 17, pp. 3439-3442.
ระดับชาติ
ไม่มี

1.2. นำเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการ
ระดับนานาชาติ
ไม่มี
ระดับชาติ
ไม่มี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นฤพนธ์ ฉัตราภิบาล (H-index: 3)
1. งานวิจัย
1.1. ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ
ระดับนานาชาติ
1) Nanthanasit, P., Chattrapiban, N., Jitvisate, M., Nimmanpipug, P., Rimjaem, S., 2021, “Theoretical study of intermolecular interactions in protic ionic liquids: A single ion pair picture”, Journal of Physics: Conference Series, 1719, 012023, pp. 1-6.
2) Maichum, S., Mongkolkiattichai, J., Chattrapiban, N., 2018, “Temporal auto-correlation function pushed to one-pixel limit”, Journal of Physics: Conference Series, 1144, 012170, pp. 1-4.
3) Yapo, S., Pussadee, S., Seesomboon, E., Chattrapiban, N., 2018, “Surface water wave topography construction using free surface systhetic Schlieren method for ripple tank wave phenomena demonstration”, Journal of Physics: Conference Series, 2018, 1144, 012119, pp. 1-4.
ระดับชาติ
ไม่มี

1.2. นำเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการ
ระดับนานาชาติ
ไม่มี
ระดับชาติ
ไม่มี

1.3. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
ไม่มี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อัจฉรา ปัญญา เจริญจิตติชัย (H-index: 10)
1. งานวิจัย
1.1. ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ
ระดับนานาชาติ
1) Kaewmeechai C., Laosiritaworn Y., Jaroenjittichai A.P., 2021, “Hybrid functional investigation of band offsets for non-polar, Ga-polar and Al-polar interfaces in GaN/AlN heterojunction”, Journal of Physics Condensed Matter, 33(3), 35005.
2) Kaewmeechai C., Laosiritaworn Y., Jaroenjittichai A.P., 2020, “DFT band alignment of polar and nonpolar GaN/MgGeN2, ZnO/MgGeN2 and GaN/ZnO heterostructures for optoelectronic device design”, Applied Surface Science, 533, 147503.
3) Nilarat C., Jaroenjittichai P., Jaroenjittichai A.P., 2019, “Light curve analysis of a transitional millisecond pulsar PSR J1023+0038 with Kepler K2 mission”, Journal of Physics: Conference Series, 1380(1), 12145.
4) Kaewmeechai C., Laosiritaworn Y., Jaroenjittichai A.P., 2019, “Electronic structure of nontoxic-inorganic perovskite: CsMgBr3 using DFT calculation”, Journal of Physics: Conference Series, 1380(1), 12112.
5) Wanwieng N., Kaewmeechai C., Laosiritaworn Y., Jaroenjittichai A.P., 2019, “Electronic structures of CsPb(X x Y1-x)3 perovskites”, Journal of Physics: Conference Series, 1380(1), 12115.
6) Pramchu S., Jaroenjittichai A.P., Laosiritaworn Y., 2019, “Effects of bromine substitution for iodine on structural stability and phase transition of CsPbI3”, Applied Surface Science, 496, 143593.
7) Pramchu S., Cheiwchanchamnangij T., Laosiritaworn Y., Jaroenjittichai A.P., 2019, “Enhancing surface stabilization of CH3NH3PbI3 perovskite by Cl and Br doping: First-principles study”, Journal of Applied Physics, 125(11), 115302.
8) Supatutkul C., Pramchu S., Jaroenjittichai A.P., Laosiritaworn Y., 2019, “The study of magnetic and electronic properties of Ni doped ZnO in low dimensional polar and non-polar surfaces structure by density functional theory, Integrated Ferroelectrics, 195, 1,208,219.
9) Jaroenjittichai A.P., Laosiritaworn Y., 2018, Benefits driven migration between agricultural and manufacturing sectors: Econophysics modelling via Monte Carlo simulation on Ising spin model, Journal of Physics: Conference Series, 1144, 1, 12182.
10) Supatutkul C., Jaroenjittichai A.P., Laosiritaworn Y., 2018, The effect of heat inducing magnetic instabilities on dynamic hysteresis characteristics in Ising ultra-thin films, Journal of Physics: Conference Series, 1144, 1, 12141.
11) Wanwieng N., Laosiritaworn Y., Jaroenjittichai A.P., 2018, “Enthalpy of formation of CsSn(Cl x (Br,I) 1-x ) 3 and CsPb(Cl x (Br,I) 1-x ) 3”, Journal of Physics: Conference Series, 1144, 1, 12137.
12) Pramchu S., Jaroenjittichai A.P., Laosiritaworn Y., 2018, First-principles investigations of structural stability and electronic band structure of CH 3 NH 2 BiI 3 for lead-free perovskite solar cell application, Journal of Physics: Conference Series, 1144, 1, 12019.
13) Kaewmeechai C., Laosiritaworn Y., Jaroenjittichai A.P., 2018, HSE hybrid functional calculation of band gap deformation potential in MgGeN 2, Journal of Physics: Conference Series, 1144, 1, 12045.
14) Supatutkul C., Jaroenjittichai A.P., Laosiritaworn Y., 2018, Stochastic Lagrangian particle simulation of air pollution dynamic at mountain base and vicinity, Journal of Physics: Conference Series, 1144, 1, 12138.
15) Supatutkul C., Pramchu S., Jaroenjittichai A.P., Laosiritaworn Y., 2018, The optical properties and structural stability calculation of blue phosphorus and ZnO van der Waal heterostructure, Journal of Physics: Conference Series, 1144, 1, 12023.
16) Kanchiang K., Cheiwchanchamnangij T., Laosiritaworn Y., Pramchu S., Jaroenjittichai A.P., 2018, Structural and electronic properties of MgGe x Sn (1-x) N 2 semiconductors: The density functional theory investigation, Journal of Physics: Conference Series, 1144, 1, 12149.
17) Nilarat C., Jaroenjittichai P., Jaroenjittichai A.P., Reichart D.E., Haislip J.B., Kouprianov V.V., 2018, Optical monitoring of a transitional millisecond pulsar: PSR J1023+0038, Journal of Physics: Conference Series, 1144, 1, 12107.
18) Jaroenjittichai A.P., Laosiritaworn Y., 2018, The competitive effect of non-magnetic defect and films thickness on the ferromagnetic critical temperature in Ising thin-films, MATEC Web of Conferences, 249, 1008.
19) Jaroenjittichai A.P., Laosiritaworn Y., 2018, Band alignment of cesium-based halide perovskites, Ceramics International, 44, pp .161-163.
20) Pramchu S., Jaroenjittichai A.P., Laosiritaworn Y., 2018, First-principles calculations of ferroelectricity and structural stability in Bi- and Alkali-Metal-Modified BaTiO3 for PTC thermistor applications, Ceramics International, 44, pp. 19-21.
21) Supatutkul C., Pramchu S., Jaroenjittichai A.P., Laosiritaworn Y., 2018, Influence of interfacial Sn-doping on band alignment of ZnO-nanorods/MAPbI3 interface: The density functional calculation, Ceramics International, 44, pp. 177-180.
22) Pramchu S., Jaroenjittichai A.P., Laosiritaworn Y., 2018, First-principles study of structural properties and morphotropic phase boundaries of Ag1-xKxNbO3 solid solutions, Ferroelectrics, 535, 1, pp. 161-170.
23) Pramchu S., Jaroenjittichai A.P., Laosiritaworn Y., 2018, “Tuning carbon dioxide capture capability with structural and compositional design in mmen-(Mg,Zn) (dobpdc) metal-organic framework: density functional theory investigation”, Greenhouse Gases: Science and Technology, 8, 3, pp. 580-586.
24) Pramchu S., Jaroenjittichai A.P., Laosiritaworn Y., 2018, DFT calculations of strain and interface effects on electronic structures and magnetic properties of L10-FePt/Ag heterojunction of GMR applications, AIP Advances, 8, 3, 35310.
25) Kaewmeechai C., Laosiritaworn Y., Jaroenjittichai A.P., 2018, DFPT calculations on phonons and thermodynamic properties in Mg-IV-N2, Lecture Notes in Engineering and Computer Science, 2235.
26) Laosiritaworn Y., Jaroenjittichai A.P., Laosiritaworn W.S., 2018, Gathering effect of interacting agents on stock market price: Econophysic modeling via agent-based Monte Carlo simulation, Lecture Notes in Engineering and Computer Science, 2235.
27) Jaroenjittichai A.P., Laosiritaworn Y., 2017, Effect of External Economic-Field Cycle and Market Temperature on Stock-Price Hysteresis: Monte Carlo Simulation on the Ising Spin Model, Journal of Physics: Conference Series, 901, 1, 12170.
28) Kaewmeechai C., Laosiritaworn Y., Jaroenjittichai A.P., 2017, First-principles calculations of zone center phonons and related thermal properties of MgSiN2, Journal of Physics: Conference Series, 901, 1, 12031.
29) Pramchu S., Jaroenjittichai A.P., Laosiritaworn Y., 2017, First Principles Study of Electronic Band Structure and Structural Stability of Al2C Monolayer and Nanotubes, Journal of Physics: Conference Series, 901, 1, 12171.
30) Supatutkul C., Pramchu S., Jaroenjittichai A.P., Laosiritaworn Y., 2017, “Electronic properties of two-dimensional zinc oxide in hexagonal, (4,4)-tetragonal, and (4,8)-tetragonal structures by using Hybrid Functional calculation”, Journal of Physics: Conference Series, 901, 1, 12172.
31) Pramchu S., Jaroenjittichai A.P., Laosiritaworn Y., 2017, Phonon and phonon-related properties of MgSiN2 and MgGeN2 ceramics: First principles studies, Ceramics International, 43, pp. 444-448.
32) Supatutkul C., Pramchu S., Jareonjittichai A.P., Laosiritaworn Y., 2017, “First principle study of the conductive type stability in Sn, Li and Li-Ni doped ZnO nanosheet”, Ceramics International, 43, pp. 525-528.
33) Kanchiang K., Pramchu S., Jareonjittichai A.P., Laosiritaworn Y., 2017, Revisited stress-dependent curie-temperature in BCC iron: LSDA+U cleansing of magnon ambiguities, Chiang Mai University Journal of Natural Sciences, 16, 3, pp. 207-214.
34) Supatutkul C., Jaroenjittichai A.P., Laosiritaworn Y., 2017, Comparative investigation of ferromagnetic hysteresis properties of ising and heisenberg thin-films: The mean-field analysis, Chiang Mai Journal of Science, 44, 1, pp. 255-266.
ระดับชาติ
ไม่มี

1.2. นำเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการ
ระดับนานาชาติ
ไม่มี
ระดับชาติ
ไม่มี

1.3. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
ไม่มี

รองศาสตราจารย์ ดร. ดวงมณี ว่องรัตนะไพศาล (H-index: 15)
1. งานวิจัย
1.1. ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ
ระดับนานาชาติ
1) Charoensri, K.; Rodwihok, C.; Wongratanaphisan, D.; Ko, J. A.; Suk Chung, J.; Jin Park, H., 2021, “Enhanced antibacterial activity of cornstarch-based ZnO nanoparticles bionanocomposite film by using phenylamine functionalized surface charge” Polymers, 13, 425, pp. 1-15.
2) Rodwihok, C.; Charoensri, K.; Wongratanaphisan, D.; Mook Choi, W.; Hyun Hur, S.; Jin Park, H.; Suk Chung, J. 2021, “Improved Photocatalytic Activity of Surface Charge Functionalized ZnO Nanoparticles Using Aniline” Journal of Materials Science & Technology, 76, pp. 1-10.
3) Prathan, A.; Sanglao, J.; Wang, T.; Bhoomanee, C.; Ruankham, P.; Gardchareon, A.; Wongratanaphisan, D., 2020, “Controlled Structure and Growth Mechanism behind Hydrothermal Growth of TiO2 Nanorods” Scientific Reports, 10 (1), 8065, pp. 1-11.
4) Bhoomanee, C.; Sanglao, J.; Wang, T.; Ruankham, P.; Gardchareon, A.; Wongratanaphisan, D., 2020, “Hydrothermally Treated TiO2 Nanorods as Electron Transport Layer in Planar Perovskite Solar Cells” Physica Status Solidi (a) Applications and Materials Science 2020, 2000238, pp. 1-8.
5) Rodwihok, C.; Wongratanaphisan, D.; Van Tam, T.; Mook Choi, W.; Hyun Hur, S.; Suk Chung, J., 2020, Cerium-Oxide-Nanoparticle-Decorated Zinc Oxide with Enhanced Photocatalytic Degradation of Methyl Orange. Applied Science, 10, pp. 1697-1711.
6) Chaisan, K., Wongratanaphisan, D., Choopun, S., Sagawa, T., and Ruankham, P., 2019, “Enhanced crystal formation of methylammonium lead iodide via self-assembled monolayers and their solvation for perovskite solar cells”, Journal of Materials Science: Materials in Electronics, 30, pp. 939-949.
7) Khaywimut, C., Bhoomanee, C., Choopun, S., Wongratanaphisan, D., Pengpad, A., and Ruankham, P., 2019, “Effects of bromide-mixing in methylammonium lead Iodide on photovoltaic properties of ZnO-based perovskite solar cells”, IOP Conference Series: Materials Science and Engineering, 526, no. 12014, pp. 1-4.
8) Malison, P., Bhoomanee, C., Choopun, S., Wongratanaphisan, D., Sagawa, T., and Ruankham, P., 2019, “Effects of Sn incorporation in ZnO thin films on properties of perovskite solar cells”, IOP Conference Series: Materials Science and Engineering, 526, no. 12018, pp. 1-4.
9) Rodwihok, C., Wongratanaphisan, D., Linh Thi Ngo, Y., Khandelwal, M., Hyun Hur, S., and Suk Chung, J., 2019, “Effect of GO additive in ZnO/rGO nanocomposite with enhanced photosensitivity and photocatalytic activity”, Nanomaterials, 9(10), 1441, pp. 1-18.
10) Bhoomanee, C., Ruankham, P., Choopun, S., Prathan, A., and Wongratnanphisan, D., 2019, “Effect of Al-doped ZnO for electron transporting layer in planar perovskite solar cells”, Materials Today: Proceedings, 17(4), pp. 1259-1267.
11) Prathan, A., Bhoomanee, C., Ruankham, P., Choopun, S., Gardchareon, A., Phadungdhitidahada, S., and Wongratnanphisan, D., 2019, “Hydrothermal growth of well-aligned TiO2 nanorods on fluorine-doped tin oxide glass”, Materials Today: Proceedings, 17(4), pp. 1514-1520.
12) Kaewyai, K., Choopun, S., Gardchareon, A., Ruankham, P., Phadunghitidhada, S., and Wongratanaphisan D., 2019, “Mechanism and experimental evidence of rapid morphological variant of copper oxide nanostructures by microwave heating”, Applied Surface Science, 474, pp. 9-16.
13) Wongratanaphisan, D., Kaewyai, K., Choopun, S., Gardchareon, A., Ruankham, P., and Phadunghitidhada, S., 2019, “CuO-Cu2O nanocomposite layer for light-harvesting enhancement in ZnO dye-sensitized solar cells”, Applied Surface Science, 474, pp. 85-90.
14) Bhoomanee, C., Ruankham, P., Choopun, S., and Wongratanaphisan, D., 2019, “Diffusion-induced doping effects of Ga in ZnO/Ga/ZnO and AZO/Ga/AZO multilayer thin films”, Applied Surface Science, 474, pp. 127-134.
15) Rodwihok, C., Choopun, S., Ruankham, P., Gardchareon, A., Phadungdhitidhada, S., and Wongratanaphisan, D., 2019, “UV sensing properties of ZnO nanowires/nanorods”, Applied Surface Science, 477, pp. 159-165.
16) Yarangsi, V., Ruankham, P., Gardchareon, A., Wongratanaphisan, D., Choopun, S., and Phadungdhitidahada, S., 2018, “CuOx/SnO2 nanostructures by microwave-assisted thermal oxidation for ethanol sensing”, Journal of Physics: Conference Series, 1144, no.012151, pp. 1-4.
17) Prathan, A., Bhoomanee, C., Ruankham, P., Choopun, S., Gardchareon, A., Phadungdhitidahada, S., and Wongratanaphisan, D., 2018, “Effect of seed layer on growth of rutile TiO2 nanorods”, Journal of Physics: Conf. Series, 1144, pp. 012148.
18) Sonthila, A., Ruankham, P., Choopun, S., Wongratanaphisan, D., Phadungdhitidhada, S., and Gardchareon, A., 2017, “Effect of Copper Oxide Nanoparticles as a barrier for Efficiency Improvement in ZnO Dye-Sensitized Solar Cells”, Journal of Physics: Conference Series, 901, no. 12097, pp. 1-6.
19) Phadungdhitidhada, S., Ruankham, P., Gardchareon, A., Wongratanaphisan, D., and Choopun, S., 2017, “Rapid synthesis of tin oxide nanostructures by microwave-assisted thermal oxidation for sensor applications”, Advances in Natural Sciences: Nanoscience and Nanotechnology, 8, no.35004, pp. 1-6.
20) Pimpang, P., Zoolfakar, A.S., Rani, R.A., Kadir, R.A., Wongratanaphisan, D., Gardchareon, A., Kalantar-zadeh, K., and Choopun, S., 2017, “Hydrogen sensors based on gold nanoclusters assembled onto ZnO nanostructures at low operating temperature”, Ceramics International, 43, pp. S511-S515.
21) Ruankham, P., Wongratanaphisan, D., Gardchareon, A., Phadungdhitidhada, S., Choopun, S., and Sagawa, T., 2017, “Full coverage of perovskite layer onto ZnO nanorods via a modified sequential two-step deposition method for efficiency enhancement in perovskite solar cells”, Applied Surface Science, 410, pp. 393-400.
22) Sutthana, S., Ruankham, P., Wongratanaphisan, D., Gardchareon, A., Phadungdhitidhada, S., Boonyawan, D., and Choopun, S., 2017, “Interface modification of CH3NH3PbI3/PCBM by pre-heat treatment for efficiency enhancement of perovskite solar cells”, Current Applied Physics, 17, pp. 488-494.
23) Kaewyai, K., Choopun, S., Gardchareon, A., Ruankham, P., Phadungdhitidhada, S., and Wongratanaphisan, D., 2017, “Effects of mixed-phase copper oxide nanofibers in ZnO dye-sensitized solar cells on efficiency enhancement”, Journal of Nanoscience and Nanotechnology, 17, pp. 5475-5480.
ระดับชาติ
ไม่มี

1.2. นำเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการ
ระดับนานาชาติ
ไม่มี
ระดับชาติ
ไม่มี

1.3. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
ไม่มี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุเมธ สกุลเสริมสุข (H-index: 6)
1. งานวิจัย
1.1. ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ
ระดับนานาชาติ
1) Wetchakun, N., Wetchakun, K., Sakulsermsuk, S., 2020, Influence of Fe dopant concentrations on physicochemical and photocatalytic properties of Bi2WO6/CeO2 nanocomposites for rhodamine B degradation, International Journal of Industrial Chemistry 11, pp. 161-175.
2) Wetchakun, K., Wetchakun, N., Sakulsermsuk, S., 2019, An overview of solar/visible light-driven heterogeneous photocatalysis for water purification: TiO2- and ZnO-based photocatalysts used in suspension photoreactors. Journal of Industrial and Engineering Chemistry 71, pp. 19-49.
3) Tippo, P., Singjai, P., Choopun, S. and Sakulsermsuk, S., 2018,Preparation and electrical properties of nanocrystalline BCNO. Materials Letters 211, pp. 51-54.
4) Sakulsermsuk, S., Chaiwichian, S., Singjai, P., Wetchakun, N., 2017, Crystallinity effect on the photocatalytic performance of TiO2 thin films prepared by CVD process. Microscopy and Microanalysis Research 1(1), pp. 1-5.
ระดับชาติ
ไม่มี
1.2. นำเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการ
ระดับนานาชาติ
1) Panthinuan, K., Pilapong, C., Anukool, W., Sakulsermsuk, S., 2020, Design of three-axis square Helmholtz coils for compact atomic magnetometer. Proceedings of SPIE – The International Society for Optical Engineering 11331, 113310P.
2) Hankhuntond, A., Singjai, P., Sakulsermsuk, S., 2017, Superhydrophobicity of hierarchical nanostructure of candle soot films. Journal of Physics: Conference Series 901(1), 012154.
3) Panyathip, R., Choopun, S., Singjai, P., Sakulsermsuk, S., 2017, Temperature dependence of graphene and N-doped graphene for gas sensor applications Journal of Physics: Conference Series 901(1), 012076.
ระดับชาติ
ไม่มี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรพล ยะมะกะ (H-index: 8)
1. งานวิจัย
1.1. ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ
ระดับนานาชาติ
1) Nunti, C., Yamaka, W., & Boonyakunakorn, P., 2020, Comparing the economics welfare on leading rice exports countries based on copula SEM: the case of India, Thailand, and Vietnam. In Journal of Physics: Conference Series, Vol. 1592, No. 1, pp. 012076.
2) Khanthawithoon, K., Maneejuk, P., & Yamaka, W., 2020, Analyzing the Relationship Among Aging Society, Investment in Artificial Intelligence and Economic Growth. In Behavioral Predictive Modeling in Economics, pp. 407-421.
3) Rakpho, P., Yamaka, W., & Zhu, K., 2020, Artificial Neural Network with Histogram Data Time Series Forecasting: A Least Squares Approach Based on Wasserstein Distance. In Behavioral Predictive Modeling in Economics, pp. 351-362.
4) Maneejuk, N., Ratchakom, S., Maneejuk, P., & Yamaka, W., 2020, Does the Environmental Kuznets Curve Exist? An International Study. Sustainability, 12(21), pp. 9117.
5) Dinh, H. Q., Satpati, S., Singh, A. K., & Yamaka, W., 2020, Symbol-triple distance of repeated-root constacyclic codes of prime power lengths. Journal of Algebra and Its Applications, 19(11), pp. 2050209.
6) Maneejuk, P., Yamaka, W., & Sriboonchitta, S., 2020, Entropy inference in smooth transition kink regression. Communications in Statistics-Simulation and Computation, pp. 1-24.
7) Dinh, H. Q., Pathak, S., Upadhyay, A. K., & Yamaka, W., 2020, New DNA Codes from Cyclic Codes over Mixed Alphabets, Mathematics, 8(11), pp. 1977.
8) Liao, R., Yamaka, W., & Sriboonchitta, S., 2020, Exchange Rate Volatility Forecasting by Hybrid Neural Network Markov Switching Beta-t-EGARCH. IEEE Access, 8, pp. 207563-207574.
9) Maneejuk, P., & Yamaka, W., 2020, An analysis of the impacts of telecommunications technology and innovation on economic growth. Telecommunications Policy, 44(10), pp. 102038.
10) Yamaka, W., & Sriboonchitta, S., 2020, Forecasting Using Information and Entropy Based on Belief Functions. Complexity, Volume 2020, Article ID 3269647.
11) Yamaka, W., & Thongkairat, S., 2020, A Mixed Copula-Based Vector Autoregressive Model for Econometric Analysis. International Journal of Uncertainty, Fuzziness and Knowledge-Based Systems, 28(Supp01), pp. 113-121.
12) Phadkantha, R., & Yamaka, W., 2020, Why the Use of Convex Combinations Works Well for Interval Data: A Theoretical Explanation. International Journal of Uncertainty, Fuzziness and Knowledge-Based Systems, 28(Supp01), pp. 81-85.
13) Cao, Y., Cao, Y., Dinh, H. Q., Bag, T., & Yamaka, W., 2020, Explicit Representation and Enumeration of Repeated-Root (δ+ αu²)-Constacyclic Codes Over F₂ m [u]/‹ u 2λ›. IEEE Access, 8, pp. 55550-55562.
14) Dinh, H. Q., Kewat, P. K., Kushwaha, S., & Yamaka, W., 2020, On constacyclic codes of length ps over Fpm [u, v]∕< u2, v2, uv− vu. Discrete Mathematics, 343(8), pp. 111890.
15) Bag, T., Dinh, H. Q., Upadhyay, A. K., Bandi, R., & Yamaka, W., 2020, Quantum codes from skew constacyclic codes over the ring Fq [u, v]∕< u2− 1, v2− 1, uv− vu. Discrete Mathematics, 343(3), pp. 111737.
16) Dinh, H. Q., Gaur, A., Singh, A. K., Singh, M. K., & Yamaka, W., 2020, b-Symbol Distance of Constacylic Codes of Length p s Over F p m+ uF p m. IEEE Access, 8, pp. 67330-67341.
17) Maneejuk, P., & Yamaka, W., 2020, Significance test for linear regression: how to test without P-values?. Journal of Applied Statistics, pp. 1-19.
18) Yamaka, W., & Maneejuk, P., 2020, Analyzing the Causality and Dependence between Gold Shocks and Asian Emerging Stock Markets: A Smooth Transition Copula Approach. Mathematics, 8(1), pp. 120.
19) Kaewsompong, N., Maneejuk, P., & Yamaka, W., 2020, Bayesian Estimation of Archimedean Copula-Based SUR Quantile Models. Complexity, Volume 2020, Article ID 6746303.
20) Noppasit, R., Yamaka, W., Maneejuk, P., Puttachai, W., & Sriboonchitta, S., 2020, Multifactor capital asset pricing model in emerging and advanced markets using two error components model. International Journal of Applied Decision Sciences, 13(2), pp. 247-266.
21) Maneejuk, P., Yamaka, W., & Sriboonchitta, S., 2019, Does the Kuznets curve exist in Thailand? A two decades’ perspective (1993–2015). Annals of Operations Research, pp. 1-32.
22) Maneejuk, P., & Yamaka, W., 2019, Predicting Contagion from the US Financial Crisis to International Stock Markets Using Dynamic Copula with Google Trends. Mathematics, 7(11), pp. 1032.
23) Yamaka, W., Maneejuk, P., & Sriboonchitta, S., 2019, Markov Switching Beta-skewed-t EGARCH. In International Symposium on Integrated Uncertainty in Knowledge Modelling and Decision Making, pp. 184-196.
24) Thongkairat, S., Yamaka, W., & Sriboonchitta, S., 2019, Hedging Benefit of Safe-Haven Gold in Terms of Co-skewness and Covariance in Stock Market. In International Symposium on Integrated Uncertainty in Knowledge Modelling and Decision Making, pp. 172-183.
25) Tansuchat, R., & Yamaka, W., 2019, Nonlinear Dependence Structure in Emerging and Advanced Stock Markets. In International Symposium on Integrated Uncertainty in Knowledge Modelling and Decision Making, pp. 210-221.
26) Maneejuk, P., Yamaka, W., & Leeahtam, P., 2019, Modeling Nonlinear Dependence Structure Using Logistic Smooth Transition Copula Model. Thai Journal of Mathematics, pp. 121-134.
27) Thongkairat, S., Yamaka, W., & Sriboonchitta, S., 2019, Economic Policy Uncertainty Effect on Precious Metal Markets: A Markov-Switching Model with Mixture Distribution Regimes. Thai Journal of Mathematics, pp. 77-92.
28) Yamaka, W., & Maneejuk, P., 2019, Bayesian Empirical Likelihood Estimation of Smooth Kink Regression. Thai Journal of Mathematics, pp. 217-233.
29) Tarkhamtham, P., Yamaka, W., Yamaka, W., & Yamaka, W., 2019, High-Order Generalized Maximum Entropy Estimator in Kink Regression Model. Thai Journal of Mathematics, pp. 185-200.
30) Yamaka, W., Phadkantha, R., & Sriboonchitta, S., 2019, Modeling Dependence of Agricultural Commodity Futures through Markov Switching Copula with Mixture Distribution Regimes. Thai Journal of Mathematics, pp. 93-107.
31) Yamaka, W., Rakpho, P., & Sriboonchittac, S., 2019, Bayesian Markov Switching Quantile Regression with Unknown Quantile $\tau $: Application to Stock Exchange of Thailand (SET). Thai Journal of Mathematics, pp. 1-13.
32) Thongkairat, S., Yamaka, W., & Sriboonchitta, S., 2019, Bayesian Approach for Mixture Copula Model. In International Econometric Conference of Vietnam, pp. 818-827.
33) Sapsaad, N., Pastpipatkul, P., Yamaka, W., & Sriboonchitta, S., 2019, Effect of FDI on the Economy of Host Country: Case Study of ASEAN and Thailand. In International Econometric Conference of Vietnam, pp. 840-852.
34) Tarkhamtham, P., Yamaka, W., & Sriboonchitta, S., 2019, Modeling the Dependence Among Crude Oil, Stock and Exchange Rate: A Bayesian Smooth Transition Vector Autoregression. In International Econometric Conference of Vietnam, pp. 828-839.
35) Maneejuk, P., Yamaka, W., & Nachaingmai, D., 2019, Bayesian Analysis of the Logistic Kink Regression Model Using Metropolis-Hastings Sampling. In International Econometric Conference of Vietnam, pp. 1073-1083.
36) Puttachai, W., Yamaka, W., Maneejuk, P., & Sriboonchitta, S., 2019, Analysis of the Global Economic Crisis Using the Cox Proportional Hazards Model. In International Econometric Conference of Vietnam, pp. 863-872.
37) Saijai, W., Yamaka, W., Maneejuk, P., & Sriboonchitta, S., 2019, Time-Varying Spillover Effect Among Oil Price and Macroeconomic Variables. In International Econometric Conference of Vietnam, pp. 1121-1131.
38) Phadkantha, R., Yamaka, W., & Sriboonchitta, S., 2019, Analysis of Herding Behavior Using Bayesian Quantile Regression. In International Econometric Conference of Vietnam, pp. 795-805.
39) Srichaikul, W., Yamaka, W., & Sriboonchitta, S., 2019, The Effect of Energy Consumption on Economic Growth in BRICS Countries: Evidence from Panel Quantile Bayesian Regression. In International Econometric Conference of Vietnam, pp. 853-862.
40) Rakpho, P., Yamaka, W., & Sriboonchitta, S., 2019, Markov Switching Dynamic Multivariate GARCH Models for Hedging on Foreign Exchange Market. In International Econometric Conference of Vietnam, pp. 806-817.
41) Kaewsompong, N., Yamaka, W., & Maneejuk, P., 2019, Export Price and Local Price Relation in Longan of Thailand: The Bivariate Threshold VECM Model. In International Econometric Conference of Vietnam, pp. 1016-1027.
42) Namwong, N., Yamaka, W., & Tansuchat, R., 2019, Trading Signal Analysis with Pairs Trading Strategy in the Stock Exchange of Thailand. In International Conference of the Thailand Econometrics Society, pp. 378-388.
43) Chakpitak, N., Tarkhamtham, P., Yamaka, W., & Sriboonchitta, S., 2019, Structural Breaks Dependence Analysis of Oil, Natural Gas, and Heating Oil: A Vine-Copula Approach. In International Conference of the Thailand Econometrics Society, pp. 451-462.
44) Thongkairat, S., Yamaka, W., & Chakpitak, N., 2019, Portfolio Optimization of Stock, Oil and Gold Returns: A Mixed Copula-Based Approach. In International Conference of the Thailand Econometrics Society, pp. 474-487.
45) Chakpitak, N., Yamaka, W., & Maneejuk, P., 2019, Predictive Recursion Maximum Likelihood for Kink Regression Model. In International Conference of the Thailand Econometrics Society, pp. 572-581.
46) Srichaikul, W., Yamaka, W., & Sriboonchitta, S., 2019, The Impacts of Macroeconomic Variables on Economic Growth: Evidence from China, Japan, and South Korea. In International Conference of the Thailand Econometrics Society, pp. 552-562.
47) Chakpitak, N., Phadkantha, R., & Yamaka, W., 2019, Modeling the Dependence Dynamics and Risk Spillovers for G7 Stock Markets. In International Conference of the Thailand Econometrics Society, pp. 497-513.
48) Rakpho, P., Yamaka, W., & Sriboonchitta, S., 2019, Markov Switching Quantile Model Unknown tau Energy Stocks Price Index Thailand. In International Conference of the Thailand Econometrics Society, pp. 488-496.
49) Thongkairat, S., Yamaka, W., & Sriboonchitta, S., 2019, A Regime Switching Vector Error Correction Model of Analysis of Cointegration in Oil, Gold, Stock Markets. In International Conference of the Thailand Econometrics Society, pp. 514-524.
50) Phadkantha, R., Yamaka, W., & Sriboonchitta, S., 2019, Forecasting Exchange Rate with Linear and Non-linear Vector Autoregressive. In International Conference of the Thailand Econometrics Society, pp. 541-551.
51) Yamaka, W., Tarkhamtham, P., Maneejuk, P., & Sriboonchitta, S., 2019, A Regime Switching Skew-Distribution Model of Contagion. In International Conference of the Thailand Econometrics Society, pp. 439-450.
52) Maneejuk, P., Yamaka, W., & Sriboonchitta, S., 2019, Measuring US Business Cycle Using Markov-Switching Model: A Comparison Between Empirical Likelihood Estimation and Parametric Estimations. In International Conference of the Thailand Econometrics Society, pp. 596-606.
53) Chakpitak, N., Srichaikul, W., Yamaka, W., & Sriboonchitta, S., 2019, Determinants of Foreign Direct Investment Inflow in ASEAN Countries: Panel Threshold Approach and Panel Smooth Transition Regression Approach. In International Conference of the Thailand Econometrics Society, pp. 563-571.
54) Phadkantha, R., Yamaka, W., & Sriboonchitta, S., 2019, A Regime Switching Time-Varying Copula Approach to Oil and Stock Markets Dependence: The Case of G7 Economies. In International Conference of the Thailand Econometrics Society, pp. 525-540.
55) Chakpitak, N., Rakpho, P., & Yamaka, W., 2019, Markov Switching Constant Conditional Correlation GARCH Models for Hedging on Gold and Crude Oil. In International Conference of the Thailand Econometrics Society, pp. 463-473.
ระดับชาติ
ไม่มี

1.2. นำเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการ
ระดับนานาชาติ
ไม่มี
ระดับชาติ
ไม่มี

1.3. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
1) วรพล ยะมะกะ. 2563 การพยากรณ์โดยใช้ข้อมูลและเอนโทรปีภายใต้ฟังก์ชั่นบีลีฟ. ทุนสนับสนุนการวิจัยจากศุนย์บริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 30 หน้า

อาจารย์ ดร. พิมลพรรณ ส้มเพ็ชร (H-index: 6)
1. งานวิจัย
1.1. ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ
ระดับนานาชาติ
1) Koepsell J., Hirthe S., Bourgund D., Sompet P., Vijayan J., Salomon G., Gross C., and Bloch I., 2020, Robust bilayer charge pumping for spin-and density-resolved quantum gas microscopy., Physical Review Letters 125, pp. 010403.
2) Vijayan J., Sompet P., Salomon G., Koepsell J., Hirthe S., Bohrdt A., Grusdt F., Bloch I., and Gross C., 2020, Time-Resolved Observation of Spin-Charge Deconfinement in Fermionic Hubbard Chains, Science 367, pp. 186-189.
3) Koepsell J., Vijayan J., Sompet P., Grusdt F., Hilker T. A., Demler E., Salomon G., Bloch I., and Gross C., 2019, Imaging magnetic polarons in the doped Fermi–Hubbard model, Nature 572, pp. 358-362.
4) Sompet P., Szigeti S. S., Schwartz E., Bradley A. S. and Andersen M. F., 2019, Thermally robust spin correlations between two 85 Rb atoms in an optical microtrap, Nature communications 10, pp. 1889.
5) Sompet P., Fung Y. H., Schwartz E., Hunter M. D. J., Phrompao J., Andersen M. F., 2017, Zeeman-insensitive cooling of a single atom to its two-dimensional motional ground state in tightly focused optical tweezers, Phys. Rev. A 95(3), pp. 031403(R).
ระดับชาติ
ไม่มี

1.2. นำเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการ
ระดับนานาชาติ
ไม่มี
ระดับชาติ
ไม่มี

1.3. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
ไม่มี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาคร ริมแจ่ม (H-index: 8)
1. งานวิจัย
1.1. ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ
ระดับนานาชาติ
1) Pakluea, S., Rimjaem, S., Saisut, J., Thongbai, C., 2020, “Coherent THz transition radiation for polarization imaging experiments”, Nuclear Instruments and Methods in Physics Research, Section B: Beam Interactions with Materials and Atoms, 464, pp. 28-31.
2) Kongmon, E., Jitvisate, M., Panchaisri, B., Techarang, J., Thumanu, K., Rimjaem, S., 2020, “Classification of ion-beam-induced traits in Thai jasmine rice mutants using synchrotron radiation FTIR microspectroscopy”, Nuclear Instruments and Methods in Physics Research, Section B: Beam Interactions with Materials and Atoms, 465, pp. 37-41.
3) Apiwattanakul, P., Rimjaem, S., 2020, “Electron beam dynamic study and Monte Carlo simulation of acceleratorbased irradiation system for natural rubber vulcanization”, Nuclear Instruments and Methods in Physics Research, Section B: Beam Interactions with Materials and Atoms, 466, pp. 69-75.
4) Saisa-ard, C., Saisut, J., Rimjaem, S., 2019, “Electron beam dynamics in the 3D magnetic field of alpha magnet at the PBP-CMU Electron Linac Laboratory”, Nuclear Instruments and Methods in Physics Research, Section A: Accelerators, Spectrometers, Detectors and Associated Equipment, 916, pp. 102-115.
5) Saisa-ard, C., Rimjaem, S., 2019, “Design and beam dynamic simulation of the thermionic RF electron gun with external resonant cavity for transverse emittance reduction”, Nuclear Instruments and Methods in Physics Research, Section A: Accelerators, Spectrometers, Detectors and Associated Equipment, 940, pp. 243-253.
6) Jitvisate, M., Rimjaem, S., Saisut, J., Thongbai, C., 2019, “Accelerator-based terahertz transmission imaging at the PBP-CMU Electron Linac Laboratory in Thailand”, Infrared Physics and Technology, 100, pp. 67-72.
7) Jaikaew, P., Rimjaem, S., 2019, “Design of radiation shielding for the 4-MeV RF linac using the Monte Carlo simulation”, Journal of Physics: Conference Series, 1380, 012153.
8) Kitisri, P., Thongbai, C., Suphakul, S., Rimjaem, S., 2019, “Simulation and measurement of electromagnetic undulator prototype for production of THz radiation”, Journal of Physics: Conference Series,1380, 012078.
9) Kongmali, K., Rimjaem, S., 2019, “Simulation of square-frame dipole coils for steering of electron beam”, Journal of Physics: Conference Series, 1380, 012154.
10) Nanthanasit, P., Rimjaem, S., 2019, “Investigation on current transformers for measuring of electron beam pulse current”, Journal of Physics: Conference Series, 1380, 012149.
11) Pakluea, S., Jitvisate, M., Rimjaem, S., 2019, “Calibration of pyroelectric infrared detectors using a light bulb as a black body radiation source”, Journal of Physics: Conference Series, 1380, 012152.
12) Techakaew, K., Rimjaem, S., 2019, “Calibration of energy slits and simulation of electron trajectories in the alpha magnet’s 3D field”, Journal of Physics: Conference Series, 1380, 012053.
13) Rimjaem, S., Thongbai, C., Saisut, J., 2018, “A THz Spectroscopy System Based on Coherent Radiation from Ultrashort Electron Bunches”, Journal of Infrared, Millimeter, and Terahertz Waves, 39, pp. 681-700.
14) Saisut, J., Thongbai, C., Rimjaem, S., ,2018, “Coherent transition radiation from femtosecond electron bunches at the accelerator-based THz light source in Thailand”, Infrared Physics and Technology, 92, pp. 387-391.
15) Chaisueb, N., Thongbai, C., Chunjarean, S., Rimjaem, S., 2018, “Development of a compact electromagnetic undulator for linac-based coherent THz radiation source in Thailand”, Nuclear Instruments and Methods in Physics Research, Section A: Accelerators, Spectrometers, Detectors and Associated Equipment, 902, pp. 1-8.
16) Kongmali, K., Kitisri, P., Rimjaem, S., 2018, “2D and 3D simulations of the permanent magnet undulator for generation of MIR-FEL”, Journal of Physics: Conference Series,1144, 012094.
17) Jaikaew, J., Rimjaem, S., 2018, “Design of dual flattening filter for 4-MeV electron beam irradiation system”, Journal of Physics: Conference Series, 1144, 012109.
18) Nanthanasit, P., Jaikaew, P., Kongmon, E., Rimjaem, S., 2018, “Investigation on Electron Absorbed Dose in a Mixture of Natural Rubber Latex and Cross-linking Agents”, Journal of Physics: Conference Series, 1144, 012117.
19) Saisut, J., Rimjaem, S., Thongbai, C., Kongmon, E., Rhodes M.W., 2018, “RF System of Linear Accelerator for Natural Rubber Research”, Journal of Physics: Conference Series, 1144, 012157.
20) Kongmon, E., Wongkummoon, P., Rimjaem, S., 2018, “Simulations and measurements of the dipole magnet using in the 4-MeV electron spectrometer”, Journal of Physics: Conference Series, 1144, 012108.
21) Kosaentor, K., Apiwattanakul, P., Rimjaem, S., 2018, “Study on Penetration of 4-MeV Electron Beam in Natural Rubber Latex, Journal of Physics: Conference Series, 1144, 012114.
22) Foosang, W., Saisut, J., Buakor, K., Kangrang, N., Pakluea, S., Rimjaem, S., 2018, “Study on the Resonant Cavity for Low-level RF System at the PBP-CMU Electron Linac Laboratory”, Journal of Physics: Conference Series, 1144, 012113.
23) Chaisueb, N., Thongbai, C., Saisut, J., Kangrang, N., Wichaisirimongkol, P., Rimjaem, S., 2018, “Study on Thermionic RF Electron Gun after Retuning Process”, Journal of Physics: Conference Series, 1144, 012143.
24) Kosaentor, K., Thongbai, C., Kongmon, E., Rimjaem, S., 2017, “Simulation of irradiation-based processing system for natural rubber vulcanization”, Key Engineering Materials, 751, pp. 252-257.
25) Rimjaem, S., Thongbai, C., Saisut, J., Kongmon, E., Rhodes, M.W., 2017, “Electron linear accelerator system for natural rubber vulcanization”, Nuclear Instruments and Methods in Physics Research, Section B: Beam Interactions with Materials and Atoms, 406, pp. 233-238.
26) Buakor, K., Rimjaem, S., 2017, “Beam Dynamics Simulation of Photocathode RF Electron Gun at the PBP-CMU Linac Laboratory”, Journal of Physics: Conference Series, 901, 012026.
27) Sukara, S., Rimjaem, S., 2017, “Simulation of Gamma Rays Attenuation Through Matters Using the Monte Carlo Program”, Journal of Physics: Conference Series, 901, 012141.
28) Pakluea, S., Rimjaem, S., 2017, “Design and Development of Emittance Measurement Device by Using the Pepper-pot Technique”, Journal of Physics: Conference Series, 901, 12025
ระดับชาติ
ไม่มี

1.2. นำเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการ
ระดับนานาชาติ
1) Thongpakdi, W., Rimjaem, S., 2017, “Development of Injector System for MIR/THz Free-Electron Laser Facility in Thailand”, IPAC 2017 -Proceedings of the 8th International Particle Accelerator Conference, pp. 2767- 2769.
2) Buakor, K., Chaisueb, N., Damminsek, K., Saisut, J., Thongbai, C., Thongpakdi, W., Rimjaem, S., 2017, “Development of Linac-Based MIR/THz FEL Facility and Photocathode RF-gun in Thailand,” IPAC 2017 -Proceedings of the 8th International Particle Accelerator Conference, pp. 2763- 2766.
3) Kosaentor, K., Kongmon, E., Saisut, J., Thongbai, C., Thongpakdi, W., Rimjaem, S., 2017, “Monte Carlo Simulation of Electron Beam Irradiation System for Natural Rubber Vulcanization”, IPAC 2017 -Proceedings of the 8th International Particle Accelerator Conference, pp. 4747- 4749.
ระดับชาติ
ไม่มี

1.3. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
ไม่มี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ดลเดช ตันตระวิวัฒน์ (H-index: 10)
1. งานวิจัย
1.1. ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ
ระดับนานาชาติ
1) Juntrapirom S., Tantraviwat D., Thongsook O., Anuchai S., Pornsuwan S., Channei D., Inceesungvorn B., 2021, Natural sunlight driven photocatalytic coupling of primary amines over TiO2/BiOBr heterojunction, Appl. Surf. Sci., 545, pp. 705-709.
2) Japa M., Tantraviwat D., Phasayavan W., Nattestad A., Chen J., Inceesungvorn B., 2021, Simple preparation of nitrogen-doped TiO2 and its performance in selective oxidation of benzyl alcohol and benzylamine under visible light, Colloid Surface A, 610, 125743.
3) Phasayavan W., Japa M., Pornsuwan S., Tantraviwat D., Kielar F., Golovko V.B., Jungsuttiwong S., Inceesungvorn B., 2021, Oxygen-deficient bismuth molybdate nanocatalysts: Synergistic effects in boosting photocatalytic oxidative coupling of benzylamine and mechanistic insight, J. Colloid Interface Sci., 581, pp. 719-728.
4) Juntrapirom S., Anuchai S., Thongsook O., Pornsuwan S., Meepowpan P., Thavornyutikarn P., Phanichphant S., Tantraviwat D., Inceesungvorn B., 2020, Photocatalytic activity enhancement of g-C3N4/BiOBr in selective transformation of primary amines to imines and its reaction mechanism, Chem. Eng. J. 394, 124934.
5) Manotham S., Butnoi P., Jaita P., Tantraviwat D., Boothrawong N., Rujijanagul G., 2020, Role of ZnO nanoparticle doping on depolarization temperature, piezoelectric and energy harvesting properties of lead-free Bi0.5(Na0.84K0.16)0.5TiO3 ceramics, Materials Research Bulletin, 128, 110859.
6) Wangkawong K., Phanichphant S., Tantraviwat D., Inceesungvorn B., 2020, Photocatalytic efficiency improvement of Z-scheme CeO2/BiOI heterostructure for RHB degradation and benzylamine oxidation under visible light irradiation, J Taiwan Inst Chem E, 108, pp. 55-63.
7) Tantraviwat D., Buarin P., Suntalelat S., Sripumkhai W., Pattamang P., Rujijanagul G., Inceesungvorn B., 2020, Highly dispersed porous polydimethylsiloxane for boosting power-generating performance of triboelectric nanogenerators, Nano Energy, 67, 104214.
8) Tantraviwat D., Yamwong W., Techakijkajorn U., Imai K., Inceesungvorn B., 2018, Schottky Barrier Height Engineering of Ti/n-Type Silicon Diode by Means of Ion Implantation, Walailak Journal of Science and Technology (WJST), 15, pp. 803-809.
9) Tantraviwat D., Anuchai S., Ounnunkad K., Saipanya S., Aroonyadet N., Rujijanagul G., Inceesungvorn B., 2018, Structural properties of tungsten-doped cobalt molybdate and its application in electrochemical oxygen evolution reaction, J Mater Sci: Mater Electron, 29, pp. 13103–13111.
10) Anuchai S., Phanichphant S., Tantraviwat D., Pluengphon P., Bovornratanaraks T., Inceesungvorn B., 2018, Low temperature preparation of oxygen-deficient tin dioxide nanocrystals and a role of oxygen vacancy in photocatalytic activity improvement, J. Colloid Interface Sci., 512, pp. 105-114.
11) Juntrapirom S., Tantraviwat D., Suntalelat S., Thongsook O., Phanichphant S., Inceesungvorn B., 2017, Visible light photocatalytic performance and mechanism of highly efficient SnS/BiOI heterojunction, J. Colloid Interface Sci., 504, pp. 711-720.
ระดับชาติ
ไม่มี

1.2. นำเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการ
ระดับนานาชาติ
ไม่มี
ระดับชาติ
ไม่มี

1.3. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
ไม่มี

รองศาสตราจารย์ ดร. ผทัยรัตน์ ภาสน์พิพัฒน์กุล (H-index: 8)
1. งานวิจัย
1.1. ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ
ระดับนานาชาติ
1) Boonyakunakorn P., Pastpipatkul P., Sriboonchitta S., 2019, Value at Risk of SET Returns Based on Bayesian Markov-Switching GARCH Approach, International Conference of the Thailand Econometrics Society, pp. 329-341.
2) Boonyakunakorn P., Pastpipatkul P., Sriboonchitta S., 2019, Value at Risk of the Stock Market in ASEAN-5, International Econometric Conference of Vietnam, pp. 452-462.
3) Sapsaad N., Pastpipatkul P., Yamaka W., Sriboonchitta S., 2019, Effect of FDI on the Economy of Host Country: Case Study of ASEAN and Thailand, International Econometric Conference of Vietnam, pp. 840-852.
4) Pastpipatkul P., Khabwang D., Boonyakunakorn P., 2019, The Impact of the Factors on Stock Markets Correlation by Using Gravity Model., International Journal of Intelligent Technologies & Applied Statistics, 12, 2.
5) Pastpipatkul P., Yamaka W., Sriboonchitta S., 2018, Portfolio Selection with Stock, Gold and Bond in Thailand Under Vine Copulas Functions. In: Anh L., Dong L., Kreinovich V., Thach N. (eds) Econometrics for Financial Applications., ECONVN 2018. Studies in Computational Intelligence, vol 760., pp. 698-711.
6) Pastpipatkul P., Saeor S., 2018, Analysis of Relationship Between Digital Technology and International Trade of Thailand., International Journal of Intelligent Technologies & Applied Statistics, 11, 3.
7) Pastpipatkul P., Yamaka W., Maneejuk P., Sriboonchitta S., 2018, An empirical likelihood estimator of stochastic frontier model., Journal of Physics: Conference Series, 1053, 1, 12137.
8) Nimmonrat N., Pastpipatkul P., Yamaka W., Maneejuk P., 2018, Price transmission mechanism for natural gas in Thailand, International Econometric Conference of Vietnam, pp. 684-697.
9) Yamaka W., Pastpipatkul P., Sriboonchitta S., 2018, Bayesian empirical likelihood estimation for kink regression with unknown threshold, International Conference of the Thailand Econometrics Society, pp. 752-766.
10) Boonyakunakorn P., Pastpipatkul P., Sriboonchitta S., 2018, Forecasting Thailand’s exports to ASEAN with non-linear models, International Conference of the Thailand Econometrics Society, pp. 339-349.
11) Thamprasert K., Pastpipatkul P., Yamaka W., 2018, Interval-valued estimation for the five largest market capitalization stocks in the Stock Exchange of Thailand by Markov-Switching CAPM, International Econometric Conference of Vietnam, pp. 916-925.
12) Pastpipatkul P., Yamaka W., Sriboonchitta S., 2018, Portfolio selection with stock, gold and bond in Thailand under vine copulas functions, International Econometric Conference of Vietnam, pp. 698-711.
13) Boonyakunakorn P., Pastpipatkul P., Sriboonchitta S., 2018, Thai Export Efficiency in AFTA: Copula-Based Gravity Stochastic Frontier Model with Autocorrelated Inefficiency, International Symposium on Integrated Uncertainty in Knowledge Modelling and Decision Making, pp. 457-466.
14) Pastpipatkul P., Boonyakunakorn P., Sriboonchitta S., 2018, Major export destinations of Thailand: evidence from copula-based simultaneous kink equation, Journal of Physics: Conference Series, 1053, 112139.
15) Pastpipatkul P., Boonyakunakorn P., Sriboonchitta S., 2017, Gravity Model of Trade with Linear Quantile Mixed Models Approach, Robustness in Econometrics, pp. 561-574.
16) Sriboochitta S., Yamaka W., Maneejuk P., Pastpipatkul P., 2017, A generalized information theoretical approach to non-linear time series model, Robustness in Econometrics, pp. 333-348.
17) Pastpipatkul P., Yamaka W., Sriboonchitta S., 2017, Predictive recursion maximum likelihood of threshold autoregressive model, Robustness in Econometrics, pp. 349-362.
18) Pastpipatkul P., Maneejuk P., Sriboonchitta S., 2017, Markov Switching Regression with Interval Data: Application to Financial Risk via CAPM Advanced Science Letters, 23, 11, pp. 10794-10798.
19) Pastpipatkul P., Maneejuk P., Sriboonchitta S., 2017, Testing the validity of economic growth theories using copula-based seemingly unrelated quantile kink regression, Robustness in Econometrics, pp. 523-541.
20) Pastpipatkul, P., Boonyakunakorn, P., & Sriboonchitta, S., 2017, Gravity Model of Trade with Linear Quantile Mixed Models Approach, In Robustness in Econometrics, pp. 561-574.
21) Pastpipatkul P., Maneejuk P., Sriboonchitta S., 2017, Markov Switching Regression with Interval Data: Application to Financial Risk via CAPM., Advanced Science Letters, Volume 23, Number 11, pp. 10794-10798(5).
22) Pastpipatkul P., Maneejuk P., Sriboonchitta S., 2017, Testing the Validity of Economic Growth Theories Using Copula-Based Seemingly Unrelated Quantile Kink Regression. In: Kreinovich V., Sriboonchitta S., Huynh VN. (eds) Robustness in Econometrics. Studies in Computational Intelligence, vol 692., pp. 523-541.
23) Pastpipatkul P., Yamaka W., Sriboonchitta S., 2017, Predictive Recursion Maximum Likelihood of Threshold Autoregressive Model. In: Kreinovich V., Sriboonchitta S., Huynh VN. (eds) Robustness in Econometrics. Studies in Computational Intelligence, vol 692., pp. 349-362.
ระดับชาติ
ไม่มี

1.2. นำเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการ
ระดับนานาชาติ
ไม่มี
ระดับชาติ
ไม่มี

1.3. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
ไม่มี

รองศาสตราจารย์ ดร. นิพนธ์ ธีรอำพน (H-index: 16)
1. งานวิจัย
1.1. ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ
ระดับนานาชาติ
1) Wongkhuenkaew R., Auephanwiriyakul S., Chaiworawitkul M., and Theera-Umpon N., 2021, Three-Dimensional Tooth Model Reconstruction Using Statistical Randomization-Based Particle Swarm Optimization, Applied Sciences, Vol. 11, No. 5, 21 pages.
2) Park K. H., Batbaatar E., Piao Y., Theera-Umpon N., and Ryu K. H., 2021, Deep Learning Approach for Hematopoietic Cancer Subtype Classification, International Journal of Environmental Research and Public Health, Vol. 18, No. 4, 24 pages.
3) Munkhdalai L., Park K. H., Batbaatar E., Theera-Umpon N., and Ho Ryu K., 2020, Deep Learning-Based Demand Forecasting for Korean Postal Delivery Service,” IEEE Access, Vol. 8, 11 pages.
4) Theera-Umpon N., Poonkasem I., Auephanwiriyakul S., and Patikulsila D., 2020, Hard exudate detection in retinal fundus images using supervised learning, Neural Comput. Appl., Article vol. 32, no. 17, pp. 13079-13096.
5) Klangjorhor J., Phanphaisarn A., Teeyakasem P., Chaiyawat P., Phinyo P., Settakorn J., Theera-Umpon N., and Pruksakorn D., 2020, In vitro drug sensitivity (IDS) of patient-derived primary osteosarcoma cells as an early predictor of the clinical outcomes of osteosarcoma patients, Cancer Chemother. Pharmacol., Article vol. 85, no. 6, pp. 1165-1176.
6) Davagdorj K., Pham V. H., Theera-Umpon N., and Ryu K. H., 2020, Xgboost-based framework for smoking-induced noncommunicable disease prediction, Int. J. Environ. Res. Public Health, Article vol. 17, no. 18, pp. 1-22.
7) Amarbayasgalan T., Pham V. H., Theera-Umpon N., and Ryu K. H., 2020, Unsupervised anomaly detection approach for time-series in multi-domains using deep reconstruction error, Symmetry, Article vol. 12, no. 8, Art no. 1251.
8) Watcharawipha A., Theera-Umpon N., and Auephanwiriyakul S., 2019, Space independent image registration using curve-based method with combination of multiple deformable vector fields, Symmetry, Article vol. 11, no. 10, Art no. 1210.
9) Klomsae A., Auephanwiriyakul S., and Theera-Umpon N., 2019, A string grammar possibilistic-fuzzy C-medians, Soft Comput., Article vol. 23, no. 17, pp. 7637-7653.
10) Kim M. K., Cha J., Lee E., Pham V. H., Lee S., and Theera-Umpon N., 2019, Simplified neural network model design with sensitivity analysis and electricity consumption prediction in a commercial building, Energies, Article vol. 12, no. 7, Art no. 1201.
11) Frazao L. B., Theera-Umpon N., and Auephanwiriyakul S., 2019, Diagnosis of diabetic retinopathy based on holistic texture and local retinal features, (in English), Inf Sci, Article vol. 475, pp. 44-66.
12) Theera-Umpon N., Han K. H., Bae W. S., Lee S., and Pham V. H., 2018, Verifying secure authentication protocol for communication between IoT-based medical devices, (in English), J. Univers. Comput. Sci., Article vol. 24, no. 9, pp. 1258-1270.
13) Teeyapan K., Theera-Umpon N., and Auephanwiriyakul S., 2018, A twin-hyperellipsoidal support vector classifier, J. Intelligent Fuzzy Syst., Conference Paper vol. 35, no. 6, pp. 6141-6152.
14) Surathong S., Auephanwiriyakul S., and Theera-Umpon N., 2018, Incorporating fuzzy sets into dempster-shafer theory for decision fusion, JP J. Heat Mass Transf., Article vol. 15, no. Special Issue 3, pp. 299-309.
15) Sebakor M., Theera-Umpon N., and Auephanwiriyakul S., 2018, Smart control plane for information centric network-internet service provider networks, (in English), J. Cent. South Univ., Article vol. 25, no. 10, pp. 2410-2422.
16) Phitakwinai S., Auephanwiriyakul S., and Theera-Umpon N., 2018, Fuzzy multilayer perceptron with cuckoo search, JP J. Heat Mass Transf., Article vol. 15, no. Special Issue 2, pp. 257-275.
17) Maisen C., Auephanwiriyakul S., and Theera-Umpon N., 2018, Learning vector quantization inference classifier in breast abnormality classification, (in English), J. Intelligent Fuzzy Syst., Conference Paper vol. 35, no. 6, pp. 6101-6116.
18) Lim E. G., Wang J., Juans G., Wang Z., Leach M. P., Lee S., and Theera-Umpon N., 2018, Design of Wearable Radio Frequency Identification Antenna, Wireless Pers Commun, Article vol. 98, no. 4, pp. 3059-3070.
19) Li M., Yu X., Ryu K. H., Lee S., and Theera-Umpon N., 2018, Face recognition technology development with Gabor, PCA and SVM methodology under illumination normalization condition, Cluster Comput., Article vol. 21, no. 1, pp. 1117-1126.
20) Klomsae A., Auephanwiriyakul S., and Theera-Umpon N., 2018, String Grammar Unsupervised Possibilistic Fuzzy C-Medians for Gait Pattern Classification in Patients with Neurodegenerative Diseases, Comput. Intell. Neurosci., Article vol. 2018, Art no. 1869565.
21) Zhai Y. J., Yu D. L., Qian K. J., Lee S., and Theera-Umpon N., 2017, A soft sensor-based fault-tolerant control on the air fuel ratio of spark-ignition engines, (in English), Energies, Article vol. 10, no. 1, Art no. 131.
22) Teeyapan K., Theera-Umpon N., and Auephanwiriyakul S., 2017, Ellipsoidal support vector data description, (in English), Neural Comput. Appl., Article vol. 28, pp. 337-347.
23) Lee S., Cha J., Theera-Umpon N., and Kim K. S., 2017, Analysis of a similarity measure for non-overlapped data,” (in English), Symmetry, Article vol. 9, no. 5, Art no. 68.
24) Klomsae A., Auephanwiriyakul S., and Theera-Umpon N., 2017, A string grammar fuzzy-possibilistic C-medians, (in English), Appl. Soft Comput. J., Article vol. 57, pp. 684-695.
25) Klomsae A., Auephanwiriyakul S., and Theera-Umpon N., 2017, A novel string grammar unsupervised possibilistic C-medians algorithm for sign language translation systems, (in English), Symmetry, Article vol. 9, no. 12, Art no. 321.
26) Farkoush S. G., Kim C. H., Jung H. C., Lee S., Theera-Umpon N., and Rhee S. B., 2017, Power factor improvement of distribution system with EV chargers based on SMC method for SVC, J. Electr. Eng. Technol., Article vol. 12, no. 4, pp. 1340-1347.
ระดับชาติ
ไม่มี

1.2. นำเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการ
ระดับนานาชาติ
1) Pholkerd P., Auephanwiriyakul S., and Theera-Umpon N., 2020, Companies Trading Signs Prediction Using Fuzzy Hybrid Operator with Swarm Optimization Algorithms, in Advances in Intelligent Systems and Computing, P. Vasant, I. Zelinka, and G. W. Weber, Eds., vol. 1072: Springer, pp. 420-429.
2) Munkhdalai L., Li M., Theera-Umpon N., Auephanwiriyakul S., and Ryu K. H., 2020, VAR-GRU: A Hybrid Model for Multivariate Financial Time Series Prediction, in Lecture Notes in Computer Science (including subseries Lecture Notes in Artificial Intelligence and Lecture Notes in Bioinformatics), Nguyen N. T., Trawinski B., Jearanaitanakij K., Chittayasothorn S., and Selamat A., Eds., vol. 12034 LNAI: Springer, pp. 322-332.
3) Suttitanawat K., Uppanun A., Auephanwiriyakul S., Theera-Umpon N., and Wuttisarnwattana P., 2019, Lung nodule detection from chest X-ray images using interval type-2 fuzzy logic system, in Proceedings – 8th IEEE International Conference on Control System, Computing and Engineering, ICCSCE 2018, Institute of Electrical and Electronics Engineers Inc., pp. 223-226.
4) Surathong S., Auephanwiriyakul S., and Theera-Umpon N., 2019, Decision fusion using fuzzy dempster-shafer theory, in Advances in Intelligent Systems and Computing, H. Unger, S. Sodsee, and P. Meesad, Eds., vol. 769: Springer Verlag, pp. 115-125.
5) Sukumpee T., Theera-Umpon N., Chamnongkich S., and Auephanwiriyakul S., 2019, Kinematic-based knee angle correction for gait analysis using single kinect sensor, in Proceedings – 8th IEEE International Conference on Control System, Computing and Engineering, ICCSCE 2018, Institute of Electrical and Electronics Engineers Inc., pp. 212-216.
6) Prathan S., Auephanwiriyakul S., Theera-Umpon N., and Marukatat S., 2019, Image-based silkworm egg classification and counting using counting neural network,” in ACM International Conference Proceeding Series, Association for Computing Machinery, pp. 21-26.
7) Poonkasem I., Theera-Umpon N., Auephanwiriyakul S., and Patikulsila D., 2019, Detection of hard exudates in fundus images using convolutional neural networks,” in Proceedings – 2019 7th International Conference on Green and Human Information Technology, ICGHIT 2019, Institute of Electrical and Electronics Engineers Inc., pp. 77-81.
8) Petaitiemthong N., Chuenpet P., Auephanwiriyakul S., and Theera-Umpon N., 2019, Person Identification from Ear Images Using Convolutional Neural Networks, in Proceedings – 9th IEEE International Conference on Control System, Computing and Engineering, ICCSCE 2019, Institute of Electrical and Electronics Engineers Inc., pp. 148-151.
9) Chantapakul W., Auephanwiriyakul S., Theera-Umpon N., and Khunlertgit N., 2019, Person identification from full-body movement using string grammar fuzzy-possibilistic C-medians,” in Proceedings – 8th IEEE International Conference on Control System, Computing and Engineering, ICCSCE 2018, Institute of Electrical and Electronics Engineers Inc., pp. 16-19.
10) Auephanwiriyakul S. and Theera-Umpon N., 2019, A novel self organizing feature map for uncertain data,” in Proceedings – 2019 7th International Conference on Green and Human Information Technology, ICGHIT 2019, Institute of Electrical and Electronics Engineers Inc., pp. 49-54.
11) Udomsom S., Mankong U., Theera-Umpon N., Ittipratheep N., Umezawa T., Matsumoto A., and Yamamoto N., 2018, Silicon photonic resonator for label-free bio-sensing application,” in Proceedings of SPIE – The International Society for Optical Engineering, K. Yoshimori and A. Roeksabutr, Eds., vol. 10714.
12) Somsap P., Theera-Umpon N., and Auephanwiriyakul S., 2018, Imaginary hand movement classification using electroencephalography, in Proceedings – 7th IEEE International Conference on Control System, Computing and Engineering, ICCSCE 2017, vol. 2017-November: Institute of Electrical and Electronics Engineers Inc., pp. 263-268.
13) Manorost P., Theera-Umpon N., and Auephanwiriyakul S., 2018, Fetal electrocardiogram extraction by independent component analysis, in Proceedings – 7th IEEE International Conference on Control System, Computing and Engineering, ICCSCE 2017, vol. 2017-November: Institute of Electrical and Electronics Engineers Inc., pp. 220-225.
14) Jinthanasatian P., Auephanwiriyakul S., and Theera-Umpon N., 2018, Microarray data classification using neuro-fuzzy classifier with firefly algorithm,” in 2017 IEEE Symposium Series on Computational Intelligence, SSCI 2017 – Proceedings, Institute of Electrical and Electronics Engineers Inc., pp. 1-6.
15) Puntura A., Theera-Umpon N., and Auephanwiriyakul S., 2017, Optimizing support vector machine parameters using cuckoo search algorithm via cross validation, in Proceedings – 6th IEEE International Conference on Control System, Computing and Engineering, ICCSCE 2016, Institute of Electrical and Electronics Engineers Inc., pp. 102-107.
16) Prommool P., Auephanwiriyakul S., and Theera-Umpon N., 2017, Vision-based automatic vehicle counting system using motion estimation with Taylor series approximation, in Proceedings – 6th IEEE International Conference on Control System, Computing and Engineering, ICCSCE 2016, Institute of Electrical and Electronics Engineers Inc., pp. 485-489.
17) Maisen C., Auephanwiriyakul S., and Theera-Umpon N., 2017, A novel learning vector quantization inference classifier, in Lecture Notes in Computer Science (including subseries Lecture Notes in Artificial Intelligence and Lecture Notes in Bioinformatics), Tojo S., Nguyen L. M., Nguyen N. T., and Trawinski B., Eds., vol. 10191 LNAI: Springer Verlag, pp. 528-544.
ระดับชาติ
ไม่มี

1.3. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
ไม่มี

รองศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษฏ์ มั่นคง (H-index: 3)
1. งานวิจัย
1.1. ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ
ระดับนานาชาติ
1) Kamphikul P., Mankong U., and Wongsan R., 2019, “Creating a Gain Improvement Technique for a Horn Antenna using a Metamaterial Structure Inserted with a Thin Dielectric Sheet,” The Open Electrical & Electronic Engineering Journal, Vol. 13, pp. 30-40.
2) Mankong U., Mekbungwan P., Inagaki K., and Kawanishi T., 2018, “Vector Modulation by Laser and Electroabsorption Modulator With Digital Pre-coding and Pre-compensation,” in Journal of Lightwave Technology, vol. 36, no. 19, pp. 4633-4639.
ระดับชาติ
ไม่มี

1.2. นำเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการ
ระดับนานาชาติ
1) Rattakorn, P., Mankong, U., Potha, S., 2020, “Three-dimensional VLC indoor positioning system using smart device camera receiver with image processing technique,” Proceedings of SPIE – The International Society for Optical Engineering, 11331, Art. No. 113310C, pp.1-11.
2) Ittipratheep, N., Udomsom, S., Mankong, U., Chamsuk, P., Bouthwong, A., Anukool, W., Umezawa, T., Matsumoto, A., (2020), “3D printed assembly and software development for silicon photonics sensor device measurement,” Proceedings of SPIE – The International Society for Optical Engineering, 11331, Art. No. 113310E, pp.1-8, 2020.
3) Mankong U., Itthipratheep N., and Udomsom S., 2019, “Flexible Tunable Silicon on Insulator Multimode Interference Coupler Using Multi-Heater Design,” Progress in Electromagnetics Research Symposium, 9017576, pp. 3545-3552.
4) Ittipratheep N., Mankong U., Udomsom S., Matsumoto A., Umezawa T., and Yamamoto N., 2019, “Silicon Photonic Resonator Design with Tunable Multimode Interference Coupling Structures,” Progress in Electromagnetics Research Symposium, 9017248, pp. 1530-1536.
5) Mankong U., Mekbungwan P., Inagaki K., Kanno A. and Kawanishi T., 2018, “Electro Absorption Modulator for Advanced Modulation Formats,” The 23rd Optoelectronics and Communication Conference (OECC2018), Jeju, Korea, July 2-8, pp. 1-2.
6) Udomsom S., Mankong U., Theera-Umpon N., Itthipratheep N., Umezawa T., Matsumoto A. and Yamamoto N., 2018, “Silicon Photonic Resonator for Label-free Bio-sensing Application,” in Proceedings of SPIE – The International Society for Optical Engineering, Vol. 10714, Art. No. 107140T, pp. 1-10.
7) Mekbungwan P., Mankong U., Inagaki K., and Kawanishi T., 2017, “Phase-Balanced Differential Vector Modulation by Laser and Electroabsorption Modulator,” in 2017 IEEE International Topical Meeting on Microwave Photonics (MWP), Beijing, China, October 23-26, pp. 1-4.
8) Mankong U., Mekbungwan P., Inagaki K., Kanno A. and Kawanishi T., 2017, “Vector Modulation Using EA Modulator,” in Lasers and Electro-Optics Pacific Rim (CLEO-PR), 2017 Conference on, Singapore, 31 Jul – 4 Aug 2017, pp. 1-2.
ระดับชาติ
ไม่มี

1.3. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
ไม่มี

รองศาสตราจารย์ ดร.ปิยรัตน์ นิมมานพิภักดิ์ (H-index: 13)
1. งานวิจัย
1.1. ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ
ระดับนานาชาติ
1) Wongrattanakamon, P., Yooin, W., Sirithunyalug, B., Nimmanpipug, P. and Jiranusornkul, S., 2021, Tentative Peptide‒Lipid Bilayer Models Elucidating Molecular Behaviors and Interactions Driving Passive Cellular Uptake of Collagen-Derived Small Peptides, Molecules, 26 (3), 710.
2) Nanthanasit, P., Chattrapiban, N., Jitvisate, M., Nimmanpipug, P., Rimjaem, S., 2021, Theoretical study of intermolecular interactions in protic ionic liquids: A single ion pair picture, Journal of Physics: Conference Series, 1719 (1), art. no. 012023.
3) Nimmanpipug, P., Lee, V.S., Kruanopparatana, P., Yu, L.D., 2020, Geant4-DNA simulation of radiation effects in DNA on strand breaks from ultra-low-energy particles. Nuclear Instruments and Methods in Physics Research, Section B: Beam Interactions with Materials and Atoms, 475, pp. 77-83.
4) Lee, V.S., Chong, W.L., Sukumaran, D.S., Nimmanpipug, P., Letchumanan, V., Goh, B-H, Lee, L-H, Zain, S. Md., Rahman, N.A., 2020, Computational screening and identifying binding interaction of anti-viral and anti-malarial drugs: Toward the potential cure for Wuhan coronavirus, Progress in Drug Discovery & Biomedical Science, 3(1).
5) Keyen, U., Nimmanpipug, P., Lee, V.S., 2020, Crystal structures and pressure-induced phase transformations of LiAlH4: A first-principles study AIP Advances, 10(2), 025030.
6) Chiangraeng, N., Chachvalvutikul, A., Choklap, W., Kaowphong, S., Nimmanpipug, P., 2019, Synthesis of BiVO4 photocatalyst via cyclic microwave irradiation method, Ferroelectrics, 552(1), pp. 42-52.
7) Chiangraeng, N., Lee, V.S., Nimmanpipug, P., 2019, Coarse-grained modelling and temperature effect on the morphology of PS-b-PI copolymer, Polymers, 11(6), 1008.
8) Wongrattanakamon, P., Nimmanpipug, P., Sirithunyalug, B., Chaiyana, W., Jiranusornkul, S., 2019, Investigation of the Skin Anti-photoaging Potential of Swertia chirayita Secoiridoids Through the AP-1/Matrix Metalloproteinase Pathway by Molecular Modeling, International Journal of Peptide Research and Therapeutics, 25(2), pp. 517-533.
9) Wongrattanakamon, P., Nimmanpipug, P., Sirithunyalug, B., Saenjum, C., Jiranusornkul, S., 2019, Molecular modeling investigation of the potential mechanism for phytochemical-induced skin collagen biosynthesis by inhibition of the protein phosphatase 1 holoenzyme, Molecular and Cellular Biochemistry, 454(1-2), pp. 45-56.
10) Kodchakorn, K., Nimmanpipug, P., Phongtamrug, S., Tashiro, K., 2019, PH-induced conformational changes in histamine in the solid state, RSC Advances, 9(34), pp. 19375-19389.
11) Nimmanpipug, P., Kodchakorn, K., Lee, V.S., Yana, J., Jarumaneeroj, C., Phongtamrug, S., Chirachanchai, S., 2018, Structural and transport phenomena of urocanate-based proton carrier in sulfonated poly(ether ether ketone) membrane composite, Journal of Polymer Science, Part B: Polymer Physics, 56(24), pp. 1625-1635.
12) Chiangraeng, N., Lee, V.S., Nimmanpipug, P., 2018, Miscibility of PS-PI diblock copolymer by Molecular Dynamic and Mesoscopic Simulations, Journal of Physics: Conference Series, 1144, 012103.
13) Wongrattanakamon, P., Nimmanpipug, P., Sirithunyalug, B., Chaiyana, W., Jiranusornkul, S., 2018, Molecular modeling of non-covalent binding of Ligustrum lucidum secoiridoid glucosides to AP-1/matrix metalloproteinase pathway components, Journal of Bioenergetics and Biomembranes, 50(4), pp. 315-327.
14) Pornprasit, P., Pechurai, W., Chiangraeng, N., Randorn, C., Chandet, N., Mungkornasawakul, P., Nimmanpipug, P., 2018, Nanomodified ZnO in natural rubber and its effects on curing characteristics and mechanical properties, Chiang Mai Journal of Science, 45(5), pp. 2195-2200.
15) Kaowphong, S., Chumha, N., Nimmanpipug, P., Kittiwachana, S., 2018, Nanosized GdVO4 powders synthesized by sol–gel method using different carboxylic acids, Rare Metals, 37(7), pp. 561-567.
16) Wongrattanakamon, P., Nimmanpipug, P., Sirithunyalug, B., Jiranusornkul, S., 2018, Molecular modeling elucidates the cellular mechanism of synaptotagmin-SNARE inhibition: a novel plausible route to anti-wrinkle activity of botox-like cosmetic active molecules, Molecular and Cellular Biochemistry, 442(1-2), pp. 97-109.
17) Kaewmuang, P., Pudkon, W., Prasatkhetragarn, A., Nimmanpipug, P., Kittiwachana, S., Kaowphong, S., 2018, Comparison of sizes, morphologies and optical properties of nio nanostructures synthesized using acetate and nitrate anions from nickel salts via hydrothermal method, Chiang Mai Journal of Science, 45(2), pp. 1122-1128.
18) Wongrattanakamon, P., Nimmanpipug, P., Sirithunyalug, B., Chansakaow, S., Jiranusornkul, S., 2018, A significant mechanism of molecular recognition between bioflavonoids and P-glycoprotein leading to herb-drug interactions, Toxicology Mechanisms and Methods, 28(1), pp. 11.
19) Chiangraeng, N., Lee, V.S., Nimmanpipug, P., 2018, Phase separation dynamics and morphologies prediction of PEO-b-PMMA copolymer by atomistic and mesoscopic simulations, Journal of Metals, Materials and Minerals, 28(2), pp. 18-26.
20) Wongrattanakamon, P., Nimmanpipug, P., Sirithunyalug, B., Jiranusornkul, S. , 2017, Molecular modeling elucidates the cellular mechanism of synaptotagmin-SNARE inhibition: a novel plausible route to anti-wrinkle activity of botox-like cosmetic active molecules , Molecular and Cellular Biochemistry, pp. 1-13.
21) Wijit, N., Prasitwattanaseree, S., Mahatheeranont, S., Wolschann, P., Jiranusornkul, S., Nimmanpipug, P., 2017, Estimation of retention time in GC/MS of volatile metabolites in fragrant rice using principle components of molecular descriptors, Analytical Sciences, 33 (11), pp. 1211-1217.
22) Wongrattanakamon, P., Lee, V.S., Nimmanpipug, P., Sirithunyalug, B., Chansakaow, S., Jiranusornkul, S., 2017, Insight into the molecular mechanism of P-glycoprotein mediated drug toxicity induced by bioflavonoids: an integrated computational approach, Toxicology Mec hanisms and Methods, 27(4), pp. 253-271.
ระดับชาติ
ไม่มี

1.2. นำเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการ
ระดับนานาชาติ
ไม่มี
ระดับชาติ
ไม่มี

1.3. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
ไม่มี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธนะศักดิ์ หมวกทองหลาง (H-index: 6)
1. งานวิจัย
1.1. ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ
ระดับนานาชาติ
1) Chousurin R., Mouktonglang T., Wongsaijai B., Poochinapan K., 2020, “Performance of compact and non-compact structure preserving algorithms to traveling wave solutions modeled by the Kawahara equation”, Numerical Algorithms, 85, pp. 523-541.
2) Tamang N., Wongsaijai B., Mouktonglang T., Poochinapan K., 2020, “Novel algorithm based on modification of Galerkin finite element method to general Rosenau-RLW equation in (2 + 1)-dimensions”, Applied Numerical Mathematics, 148, pp. 109-130.
3) Kerdboon J., Yimnet S., Wongsaijai B., Mouktonglang T., Poochinapan K., 2020, “Convergence analysis of the higher-order global mass-preserving numerical method for the symmetric regularized long wave equation”, International Journal of Computer Mathematics, pp. 1-36.
4) Chousurin R., Mouktonglang T., Charoensawan P., 2019, “Fourth-order conservative algorithm for nonlinear wave propagation: The rosenau-KdV equation”, Thai Journal of Mathematics, 17, pp. 789-803.
5) Chaiwino W., Mouktonglang T., 2019, “Identification of atmospheric pollution source based on particle swarm optimization”, Thai Journal of Mathematics, 17, pp. 125-140.
6) Mouktonglang T., Worapun P., 2019, “A Comparison of Robust Criteria for Vehicle Routing Problem with Soft Time Windows”, International Journal of Mathematics and Mathematical Sciences, 2019, 9137458.
7) Wongsaijai B., Mouktonglang T., Sukantamala N., Poochinapan K., 2019, “Compact structure-preserving approach to solitary wave in shallow water modeled by the Rosenau-RLW equation”, Applied Mathematics and Computation, 340, pp. 84-100.
8) Suebsriwichai A., Mouktonglang T., 2017 “Upper bound for the crossing number of Qn×K3”, Thai Journal of Mathematics, 15, pp. 297-321.
9) Suebsriwichai A., Mouktonglang T., 2017, “Bound for the 2-Page Fixed Linear Crossing Number of Hypercube Graph via SDP Relaxation”, Journal of Applied Mathematics, 2017, 7640347.
10) Kabcome P., Mouktonglang T., 2017, “An interior-point trust-region algorithm for quadratic stochastic symmetric programming”, Thai Journal of Mathematics, 15, pp. 237-260.
ระดับชาติ
ไม่มี

1.2. นำเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการ
ระดับนานาชาติ
ไม่มี
ระดับชาติ
ไม่มี

1.3. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
ไม่มี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิพัฒน์ เรือนคำ (H-index: 10)
1. งานวิจัย
1.1. ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ
ระดับนานาชาติ
1) Li, H., Cui, C., Xu, X., Bian, S., Ngaojampa, C., and Ruankham, P., Punya, A., 2020, “A Review of Characterization of Perovskite Film in Solar Cells by Spectroscopic Ellipsometry”, Solar Energy, 212, pp. 48–61.
2) Chimupala, Y., Phromma, C., Yimklan, S., Semakul, N., and Ruankham, P., 2020, “Dye Wastewater Treatment Enabled by Piezo-Enhanced Photocatalysis of Single-Component ZnO Nanoparticles”, RSC Advance, 10, pp. 28567–28575.
3) Amratisha, K., Ponchai, J., Kaewurai, P., Pansa-Ngat, P., Pinsuwan, K., Kumnorkaew, P., Ruankham, P., and Kanjanaboos, P., 2020 “Layer-by-Layer Spray Coating of Stacked Perovskite Absorber for Perovskite Solar Cell with Better Performance and Stability under Humid Environment” Optical Materials Express, 10, pp. 1497-1508.
4) Prathan, A., Sanglao, J., Wang, T., Bhoomanee, C., Ruankham, P., Gardchareon, A., Wongratanaphisan, D., 2020, “Controlled Structure and Growth Mechanism behind Hydrothermal Growth of TiO2 Nanorods” Scientific Reports, 10 , Article No. 8065.
5) Khaywimut, C., Bhoomanee, C., Choopun, S., Wongratanaphisan, D., Pengpad, A., and Ruankham, P., 2019, “Effects of bromide-mixing in methylammonium lead Iodide on photovoltaic properties of ZnO-based perovskite solar cells”, IOP Conference Series: Materials Science and Engineering, 526, Article No.12014.
6) Malison, P., Bhoomanee, C., Choopun, S., Wongratanaphisan, D., Sagawa, T., and Ruankham, P., 2019, “Effects of Sn incorporation in ZnO thin films on properties of perovskite solar cells”, IOP Conference Series: Materials Science and Engineering, 526, Article No.12018.
7) Yao, J., Wang, H., Wang, P., Gurney, R.S., Intaniwet, A., Ruankham, P., Choopun, S., Liu, D., and Wang, T., 2019, “Trap passivation and efficiency improvement of perovskite solar cells by a guanidinium additive”, Materials Chemistry Frontiers, 3, pp. 1357-1364.
8) Pengpad, A., Ruankham, P., Rattanachata, A., Rattanasuporn, S., Jenpiyapong, W., Nakajima, H., Choopun, S., and Amornkitbamrung, V., 2019, “Surface composition of MAPb(IxBr1−x)3 (0 ≤ x ≤ 1) organic-inorganic mixed-halide perovskites”, Applied Surface Science, 479, pp. 311-317.
9) Rodwihok, C., Choopun, S., Ruankham, P., Gardchareon, A., Phadungdhitidhada, S., and Wongratanaphisan, D., 2019, “UV sensing properties of ZnO nanowires/nanorods”, Applied Surface Science, 477, pp. 159-165.
10) Bhoomanee, C., Ruankham, P., Choopun, S., and Wongratanaphisan, D., 2019, “Diffusion-induced doping effects of Ga in ZnO/Ga/ZnO and AZO/Ga/AZO multilayer thin films”, Applied Surface Science, 474, pp. 127-134.
11) Wongratanaphisan, D., Kaewyai, K., Choopun, S., Gardchareon, A., Ruankham, P., and Phadungdhitidhada, S., 2019, “CuO-Cu2O nanocomposite layer for light-harvesting enhancement in ZnO dye-sensitized solar cells”, Applied Surface Science, 474, pp. 85-90.
12) Kaewyai, K., Choopun, S., Gardchareon, A., Ruankham, P., Phadungdhitidhada, S., and Wongratanaphisan, D., 2019, “Mechanism and experimental evidence of rapid morphological variant of copper oxide nanostructures by microwave heating”, Applied Surface Science, 474, pp. 9-16.
13) Chaisan, K., Wongratanaphisan, D., Choopun, S., Sagawa, T., and Ruankham, P., 2019, “Enhanced crystal formation of methylammonium lead iodide via self-assembled monolayers and their solvation for perovskite solar cells”, Journal of Materials Science: Materials in Electronics, 30, pp. 939-949.
14) Yakiangngam, J., Ruankham, P., Choopun, S., and Intaniwet, A., 2018, “Utilization of reuse PbI2 for perovskite solar cell fabrication”, Journal of Physics: Conference Series, 1144, Article No.12029.
15) Yarangsi, V., Ruankham, P., Gardchareon, A., Wongratanaphisan, D., Choopun, S., and Phadungdhitidhada, S., 2018, “CuOx/SnO2 nanostructures by microwave-assisted thermal oxidation for ethanol sensing”, Journal of Physics: Conference Series, 1144, Article No.12151.
16) Prathan, A., Bhoomanee, C., Ruankham, P., Choopun, S., Gardchareon, A., Phadungdhitidhada, S., and Wongratanaphisan, D., 2018, “Effect of seed layer on growth of rutile TiO2 nanorods”, Journal of Physics: Conference Series, 1144, Article No.12148.
17) Horachit, C., Intaniwet, A., Choopun, S., and Ruankham, P., 2018, “Low-temperature-processed ZnO thin films as electron transporting layer to achieve stable perovskite solar cells”, Optical and Quantum Electronics, 50, Article No.379.
18) Wiranwetchayan, O., Ruankham, P., Promnopas, W., Choopun, S., Singjai, P., Chaipanich, A., and Thongtem, S., 2018, “Effect of nanoporous In2O3 film fabricated on TiO2/In2O3 photoanode for photovoltaic performance via a sparking method”, Journal of Solid State Electrochemistry, 22, pp. 2531-2543.
19) Ruankham, P. and Sagawa, T., 2018, “Dopant-free π-conjugated polymers as hole-transporting materials for stable perovskite solar cells”, Journal of Materials Science: Materials in Electronics, 29, pp. 9058-9066.
20) Sonthila, A., Ruankham, P., Choopun, S., Wongratanaphisan, D., Phadungdhitidhada, S., and Gardchareon, A., 2017, “Effect of copper oxide nanoparticles as a barrier for efficiency improvement in ZnO dye-sensitized solar cells”, Journal of Physics: Conference Series, 901, Article No.12097.
21) Phadungdhitidhada, S., Ruankham, P., Gardchareon, A., Wongratanaphisan, D., and Choopun, S., 2017, “Rapid synthesis of tin oxide nanostructures by microwave-assisted thermal oxidation for sensor applications”, Advances in Natural Sciences: Nanoscience and Nanotechnology, 8, Article No.35004.
22) Ruankham, P., Wongratanaphisan, D., Gardchareon, A., Phadungdhitidhada, S., Choopun, S., and Sagawa, T., 2017, “Full coverage of perovskite layer onto ZnO nanorods via a modified sequential two-step deposition method for efficiency enhancement in perovskite solar cells”, Applied Surface Science, 410, pp. 393-400.
23) Sutthana, S., Ruankham, P., Wongratanaphisan, D., Gardchareon, A., Phadungdhitidhada, S., Boonyawan, D., and Choopun, S., 2017, “Interface modification of CH3NH3PbI3/PCBM by pre-heat treatment for efficiency enhancement of perovskite solar cells”, Current Applied Physics, 17, pp. 488-494.
24) Kaewyai, K., Choopun, S., Gardchareon, A., Ruankham, P., Phadungdhitidhada, S., and Wongratanaphisan, D., 2017, “Effects of mixed-phase copper oxide nanofibers in ZnO dye-sensitized solar cells on efficiency enhancement”, Journal of Nanoscience and Nanotechnology, 17, pp. 5475-5480.
ระดับชาติ
ไม่มี

1.2. นำเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการ
ระดับนานาชาติ
1) Khaywimut, C., Bhoomanee, C., Choopun, S., Wongratanaphisan, D., Pengpad, A., and Ruankham, P., 2019, “Effects of bromide-mixing in methylammonium lead Iodide on photovoltaic properties of ZnO-based perovskite solar cells”, International Conference on Materials Research and Innovation, 17-21 December 2018, Bangkok, Thailand, IOP Conference Series: Materials Science and Engineering, 526, pp. 12014.
2) Malison, P., Bhoomanee, C., Choopun, S., Wongratanaphisan, D., Sagawa, T., and Ruankham, P., 2019, “Effects of Sn incorporation in ZnO thin films on properties of perovskite solar cells”, International Conference on Materials Research and Innovation, 17-21 December 2018, Bangkok, Thailand, IOP Conference Series: Materials Science and Engineering, 526, pp. 12018.
ระดับชาติ
ไม่มี

1.3. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
ไม่มี

รองศาสตราจารย์ ดร.ศันสนีย์ เอื้อพันธ์วิริยะกุล (H-index: 14)
1. งานวิจัย
1.1. ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ
ระดับนานาชาติ
1) Theera-Umpon N., Poonkasem I., Auephanwiriyakul S., and Patikulsila D., 2020, “Hard exudate detection in retinal fundus images using supervised learning,” Neural Comput. Appl., Article vol. 32, no. 17, pp. 13079-13096.
2) Watcharawipha A., Theera-Umpon N., and Auephanwiriyakul S., 2019, “Space independent image registration using curve-based method with combination of multiple deformable vector fields,” Symmetry, Article vol. 11, no. 10, Art no. 1210.
3) Klomsae A., Auephanwiriyakul S., and Theera-Umpon N., 2019, “A string grammar possibilistic-fuzzy C-medians,” Soft Comput., Article vol. 23, no. 17, pp. 7637-7653.
4) Frazao L. B., Theera-Umpon N., and Auephanwiriyakul S., 2019, “Diagnosis of diabetic retinopathy based on holistic texture and local retinal features,” (in English), Inf Sci, Article vol. 475, pp. 44-66.
5) Teeyapan K., Theera-Umpon N., and Auephanwiriyakul S., 2018, “A twin-hyperellipsoidal support vector classifier,” J. Intelligent Fuzzy Syst., Conference Paper vol. 35, no. 6, pp. 6141-6152.
6) Surathong S., Auephanwiriyakul S., and Theera-Umpon N., 2018, “Incorporating fuzzy sets into dempster-shafer theory for decision fusion,” (in English), JP J. Heat Mass Transf., Article vol. 15, no. Special Issue 3, pp. 299-309.
7) Sebakor M., Theera-Umpon N., and Auephanwiriyakul S., 2018, “Smart control plane for information centric network-internet service provider networks,” J. Cent. South Univ., Article vol. 25, no. 10, pp. 2410-2422.
8) Phitakwinai S., Auephanwiriyakul S., and Theera-Umpon N., 2018, “Fuzzy multilayer perceptron with cuckoo search,” JP J. Heat Mass Transf., Article vol. 15, no. Special Issue 2, pp. 257-275.
9) Maisen C., Auephanwiriyakul S., and Theera-Umpon N., 2018, “Learning vector quantization inference classifier in breast abnormality classification,” (in English), J. Intelligent Fuzzy Syst., Conference Paper vol. 35, no. 6, pp. 6101-6116.
10) Klomsae A., Auephanwiriyakul S., and Theera-Umpon N., 2018, “String Grammar Unsupervised Possibilistic Fuzzy C-Medians for Gait Pattern Classification in Patients with Neurodegenerative Diseases,” Comput. Intell. Neurosci., Article vol. 2018, Art no. 1869565.
11) Teeyapan K., Theera-Umpon N., and Auephanwiriyakul S., 2017, “Ellipsoidal support vector data description,” Neural Comput. Appl., Article vol. 28, pp. 337-347.
12) Klomsae A., Auephanwiriyakul S., and Theera-Umpon N., 2017, “A string grammar fuzzy-possibilistic C-medians,” Appl. Soft Comput. J., Article vol. 57, pp. 684-695.
13) Klomsae A., Auephanwiriyakul S., and Theera-Umpon N., 2017, “A novel string grammar unsupervised possibilistic C-medians algorithm for sign language translation systems,” Symmetry, Article vol. 9, no. 12, Art no. 321.
ระดับชาติ
ไม่มี

1.2. นำเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการ
ระดับนานาชาติ
1) Pholkerd P., Auephanwiriyakul S., and Theera-Umpon N., 2020, “Companies Trading Signs Prediction Using Fuzzy Hybrid Operator with Swarm Optimization Algorithms,” in Advances in Intelligent Systems and Computing, P. Vasant, I. Zelinka, and G. W. Weber, Eds., vol. 1072: Springer, pp. 420-429.
2) Munkhdalai L., Li M., Theera-Umpon N., Auephanwiriyakul S., and Ryu K. H., 2020, “VAR-GRU: A Hybrid Model for Multivariate Financial Time Series Prediction,” in Lecture Notes in Computer Science (including subseries Lecture Notes in Artificial Intelligence and Lecture Notes in Bioinformatics), N. T. Nguyen, B. Trawinski, K. Jearanaitanakij, S. Chittayasothorn, and A. Selamat, Eds., vol. 12034 LNAI: Springer, pp. 322-332.
3) Suttitanawat K., Uppanun A., Auephanwiriyakul S., Theera-Umpon N., and Wuttisarnwattana P., 2019, “Lung nodule detection from chest X-ray images using interval type-2 fuzzy logic system,” in Proceedings – 8th IEEE International Conference on Control System, Computing and Engineering, ICCSCE 2018, Institute of Electrical and Electronics Engineers Inc., pp. 223-226.
4) Surathong S., Auephanwiriyakul S., and Theera-Umpon N., 2019, “Decision fusion using fuzzy dempster-shafer theory,” in Advances in Intelligent Systems and Computing, H. Unger, S. Sodsee, and P. Meesad, Eds., vol. 769: Springer Verlag, pp. 115-125.
5) Sukumpee T., Theera-Umpon N., Chamnongkich S., and Auephanwiriyakul S., 2019, “Kinematic-based knee angle correction for gait analysis using single kinect sensor,” in Proceedings – 8th IEEE International Conference on Control System, Computing and Engineering, ICCSCE 2018, Institute of Electrical and Electronics Engineers Inc., pp. 212-216.
6) Prathan S., Auephanwiriyakul S., Theera-Umpon N., and Marukatat S., 2019, “Image-based silkworm egg classification and counting using counting neural network,” in ACM International Conference Proceeding Series, Association for Computing Machinery, pp. 21-26.
7) Poonkasem I., Theera-Umpon N., Auephanwiriyakul S., and Patikulsila D., 2019, “Detection of hard exudates in fundus images using convolutional neural networks,” in Proceedings – 2019 7th International Conference on Green and Human Information Technology, ICGHIT 2019, Institute of Electrical and Electronics Engineers Inc., pp. 77-81.
8) Petaitiemthong N., Chuenpet P., Auephanwiriyakul S., and Theera-Umpon N., 2019, “Person Identification from Ear Images Using Convolutional Neural Networks,” in Proceedings – 9th IEEE International Conference on Control System, Computing and Engineering, ICCSCE 2019, Institute of Electrical and Electronics Engineers Inc., pp. 148-151.
9) Chantapakul W., Auephanwiriyakul S., Theera-Umpon N., and Khunlertgit N., 2019, “Person identification from full-body movement using string grammar fuzzy-possibilistic C-medians,” in Proceedings – 8th IEEE International Conference on Control System, Computing and Engineering, ICCSCE 2018, Institute of Electrical and Electronics Engineers Inc., pp. 16-19.
10) Auephanwiriyakul S. and Theera-Umpon N., 2019, “A novel self organizing feature map for uncertain data,” in Proceedings – 2019 7th International Conference on Green and Human Information Technology, ICGHIT 2019, Institute of Electrical and Electronics Engineers Inc., pp. 49-54.
11) Somsap P., Theera-Umpon N., and Auephanwiriyakul S., 2018, “Imaginary hand movement classification using electroencephalography,” in Proceedings – 7th IEEE International Conference on Control System, Computing and Engineering, ICCSCE 2017, Institute of Electrical and Electronics Engineers Inc., pp. 263-268.
12) Manorost P., Theera-Umpon N., and Auephanwiriyakul S., 2018, “Fetal electrocardiogram extraction by independent component analysis,” in Proceedings – 7th IEEE International Conference on Control System, Computing and Engineering, ICCSCE 2017, Institute of Electrical and Electronics Engineers Inc., pp. 220-225.
13) Jinthanasatian P., Auephanwiriyakul S., and Theera-Umpon N., 2018, “Microarray data classification using neuro-fuzzy classifier with firefly algorithm,” in 2017 IEEE Symposium Series on Computational Intelligence, SSCI 2017 – Proceedings, Institute of Electrical and Electronics Engineers Inc., pp. 1-6.
14) Puntura A., Theera-Umpon N., and Auephanwiriyakul S., 2017, “Optimizing support vector machine parameters using cuckoo search algorithm via cross validation,” in Proceedings – 6th IEEE International Conference on Control System, Computing and Engineering, ICCSCE 2016, Institute of Electrical and Electronics Engineers Inc., pp. 102-107.
15) Prommool P., Auephanwiriyakul S., and Theera-Umpon N., 2017, “Vision-based automatic vehicle counting system using motion estimation with Taylor series approximation,” in Proceedings – 6th IEEE International Conference on Control System, Computing and Engineering, ICCSCE 2016, Institute of Electrical and Electronics Engineers Inc., pp. 485-489.
16) Maisen C., Auephanwiriyakul S., and Theera-Umpon N., 2017, “A novel learning vector quantization inference classifier,” in Lecture Notes in Computer Science (including subseries Lecture Notes in Artificial Intelligence and Lecture Notes in Bioinformatics), Tojo S., Nguyen L. M., Nguyen N. T., and Trawinski B., Eds., vol. 10191 LNAI: Springer Verlag, pp. 528-544.
ระดับชาติ
ไม่มี
1.3. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
ไม่มี

รองศาสตราจารย์ ดร. พรรัตน์ วัฒนกสิวิชช์ (H-index: 6)
1. งานวิจัย
1.1. ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ
ระดับนานาชาติ
ไม่มี
ระดับชาติ
ไม่มี

1.2. นำเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการ
ระดับนานาชาติ
1) Pengyot, A. Nanthanasit, P. and Wattanakasiwich, P., 2019, Testing of car speed approximation equation from yaw mark using radio control car simulator. Journal of Physics: Conference Series, 1380 (1), pp. 012124.
2) Bunjong, D., Pussadee, N. & Wattanakasiwich, P., 2018, Optimized conditions of Schlieren photography. Journal of Physics: Conference Series, 1144 (1), pp. 012097.
3) Inyeo, C. & Wattanakasiwich, P., 2018, Pencil on paper as low cost alternative resistors. Journal of Physics: Conference Series, 1144 (1), pp. 012165.
4) Somroob, S. & Wattanakasiwich, P., 2017, Investigation student understanding of simple harmonic motion. Journal of Physics: Conference Series, 901 (1), pp. 012123.
5) Jirungnimitsakul, S. & Wattanakasiwich, P., 2017, Assessing student understanding of measurement and uncertainty. Journal of Physics: Conference Series, 901 (1), pp. 012121.
ระดับชาติ
ไม่มี

1.3. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
ไม่มี

รองศาสตราจารย์ ดร. จูลิน ลิคะสิริ (H-index: 5)
1. งานวิจัย
1.1. ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ
ระดับนานาชาติ
1) Tiammee, S., Likasiri, C., 2020, Sustainability in Corn Production Management: A Holistic Approach, Journal of Cleaner Production, 257, pp. 120855.
2) Phonin, S., Likasiri, C., 2019, Minimum total distance clustering and balanced distance clustering in northern Thailand’s corn crop residue management system, 4open, 2019, 2.
3) Leungsubthawee, K., Saranwong, S., Likasiri, C., 2018, Multiple depot vehicle routing problems on clustering algorithms, Thai Journal of Mathematics, Special Issue Annual Meeting in Mathematics, pp. 205-216.
4) Phonin S., Likasiri C., Dankrakul S., 2017, Clusters with minimum transportation cost to centers: A case study in corn production management, Games, 8, 24.
5) Duangdai E., Likasiri C., 2017, Rainfall model investigation and scenario analyses of the effect of government reforestation policy on seasonal rainfalls: A case study from Northern Thailand, Atmospheric Research, 185, pp. 1-12.
6) Saranwong S., Likasiri C., 2017, Bi-level programming model for solving distribution center problem: A case study in Northern Thailand’s sugarcane management, Computers and Industrial Engineering, 103, pp. 26-39.
ระดับชาติ
ไม่มี

1.2. นำเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการ
ระดับนานาชาติ
1) Phusanti, C, Likasiri, C., Chaichana, C. and Phonin, S., 2020, Mathematical Model Analyses on Electricity Management in Thailand: An Industrial Area Case Study, International Conference in Mathematics and Applications, ICMA 2020, 18-20 Dem, Mahidol University, Bangkok, Thailand, pp. 199-208.
ระดับชาติ
ไม่มี

1.3. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
1) จูลิน ลิคะสิริ. 2563. โครงการปัญหาการจัดเส้นทางของที่ตั้งและกลุ่มที่มีศูนย์กระจายสินค้า. ทุนสนับสนุนการวิจัยจากสานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 25 หน้า.

รองศาสตราจารย์ ดร. วินิตา บุณโยดม (H-index: 16)
1. งานวิจัย
1.1. ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ
ระดับนานาชาติ
1) Klunklin, W., Jantanasakulwong, K., Phimolsiripol, Y., Leksawasdi, N., Seesuriyachan, P., Chaiyaso, T., Insomphun, C., Phongthai, S., Jantrawut, P., Sommano, S.R., Punyodom, W., Reungsang, A., Ngo, T.M.P., Rachtanapun, P., 2021, Synthesis, characterization, and application of carboxymethyl cellulose from asparagus stalk end, Polymers, 13 (1), art. no. 81, pp. 1-15.
2) Rachtanapun, P., Klunklin, W., Jantrawut, P., Leksawasdi, N., Jantanasakulwong, K., Phimolsiripol, Y., Seesuriyachan, P., Chaiyaso, T., Ruksiriwanich, W., Phongthai, S., Sommano, S.R., Punyodom, W., Reungsang, A., Ngo, T.M.P., 2021, Effect of monochloroacetic acid on properties of carboxymethyl bacterial cellulose powder and film from nata de coco, Polymers, 13 (4), art. no. 488, pp. 1-13.
3) Rachtanapun, P., Jantrawut, P., Klunklin, W., Jantanasakulwong, K., Phimolsiripol, Y., Leksawasdi, N., Seesuriyachan, P., Chaiyaso, T., Insomphun, C., Phongthai, S., Sommano, S.R., Punyodom, W., Reungsang, A., Ngo, T.M.P., 2021, Carboxymethyl bacterial cellulose from nata de coco: Effects of NaOH, Polymers, 13 (3), art. no. 348, pp. 1-17.
4) Mikes, P., Horakova, J., Saman, A., Vejsadova, L., Topham, P., Punyodom, W., Dumklang, M., Jencova, V., 2021, Comparison and characterization of different polyester nano/micro fibres for use in tissue engineering applications, Journal of Industrial Textiles, 50 (6), pp. 870-890.
5) Ručman, S., Intra, P., Kantarak, E., Sroila, W., Kumpika, T., Jakmunee, J., Punyodom, W., Arsić, B., Singjai, P., 2020, Influence of the magnetic field on bandgap and chemical composition of zinc thin films prepared by sparking discharge process, Scientific Reports, 10 (1), art. no. 4645.
6) Sriyai, M., Chaiwon, T., Molloy, R., Meepowpan, P., Punyodom, W., 2020, Efficiency of liquid tin(ii): N-alkoxide initiators in the ring-opening polymerization of l-lactide: Kinetic studies by non-isothermal differential scanning calorimetry, RSC Advances, 10 (71), pp. 43566-43578.
7) Saenjaiban, A., Singtisan, T., Suppakul, P., Jantanasakulwong, K., Punyodom, W., Rachtanapun, P., 2020, Novel color change film as a time–temperature indicator using polydiacetylene/silver nanoparticles embedded in carboxymethyl cellulose, Polymers, 12 (10), art. no. 2306, pp. 1-14.
8) Phetsuk, S., Molloy, R., Nalampang, K., Meepowpan, P., Topham, P.D., Tighe, B.J., Punyodom, W., 2020, Physical and thermal properties of l-lactide/ϵ-caprolactone copolymers: the role of microstructural design, Polymer International, 69 (3), pp. 248-256.
9) Limwanich, W., Meepowpan, P., Kungwan, N., Punyodom, W., 2020, Influence of butyl group of tin chloride initiators on the non-isothermal DSC ring-opening polymerization of ε-caprolactone: The studies of kinetics, mechanism and polymer synthesis, Thermochimica Acta, 683, art. no. 178458.
10) Somsunan, R., Noppakoon, S., Punyodom W., 2019, Effect of G40 plasticizer on the properties of ternary blends of biodegradable PLA/PBS/G40, Journal of Polymer Research 26 (4), 92
11) Krasian, T., Punyodom, W., Worajittiphon, P., 2019, A hybrid of 2D materials (MoS2 and WS2) as an effective performance enhancer for poly (lactic acid) fibrous mats in oil adsorption and oil/water separation, Chemical Engineering Journal, 369, pp. 563-575.
12) Namsaeng, J., Punyodom, W., Worajittiphon, P., 2019, Synergistic effect of welding electrospun fibers and MWCNT reinforcement on strength enhancement of PAN–PVC non-woven mats for water filtration, Chemical Engineering Science, 193, pp. 230-242.
13) Komrapit, N., Punyodom, W., Worajittiphon, P., 2018, Compatibilizing and reinforcing an immiscible blend based on poly(lactic acid) with delaminated graphite: From raw graphite to enhanced polymer mechanical properties, Journal of Applied Polymer Science, 135 (42), art. no. 46821.
14) Bunkerd, R., Molloy, R., Somsunan, R., Punyodom, W., Topham, P.D., Tighe, B.J., 2018, Synthesis and Characterization of Chemically-Modified Cassava Starch Grafted with Poly(2-Ethylhexyl Acrylate) for Blending with Poly(Lactic Acid), Starch/Staerke, 70 (11-12), art. no. 1800093.
15) Ručman, S.S., Punyodom, W., Jakmunee, J., Singjai, P., 2018, Inducing crystallinity of metal thin films with weak magnetic fields without thermal annealing, Crystals, 8 (9), art. no. 362.
16) Khatsee, S., Daranarong, D., Punyodom, W., Worajittiphon, P., 2018, Electrospinning polymer blend of PLA and PBAT: Electrospinnability–solubility map and effect of polymer solution parameters toward application as antibiotic-carrier mats, Journal of Applied Polymer Science, 135 (28), art. no. 46486.
17) Chailek, N., Daranarong, D., Punyodom, W., Molloy, R., Worajittiphon, P., 2018, Crosslinking assisted fabrication of ultrafine poly(vinyl alcohol)/functionalized graphene electrospun nanofibers for crystal violet adsorption, Journal of Applied Polymer Science, 135 (22), art. no. 46318.
18) Suthapakti, K., Molloy, R., Punyodom, W., Nalampang, K., Leejarkpai, T., Topham, P.D., Tighe, B.J., 2018, Biodegradable Compatibilized Poly(l-lactide)/Thermoplastic Polyurethane Blends: Design, Preparation and Property Testing, Journal of Polymers and the Environment, 26 (5), pp. 1818-1830.
19) Stefan, R., Jakmunee, J., Punyodom, W., Singjai, P., 2018, A novel strategy for longevity prolongation of iron-based nanoparticle thin films by applied magnetic force, New Journal of Chemistry, 42 (7), pp. 4807-4810.
20) Limwanich, W., Meepowpan, P., Kungwan, N., Punyodom, W., 2018, “Synthesis of poly(Rac-lactide) using Tri-n-butyltin(IV) n-butoxide as initiator: The investigation on stereochemistry and polymerization mechanism”, Chiang Mai Journal of Science, 45 (5), pp. 2069-2078.
21) Jitonnom, J., Molloy, R., Punyodom, W., Meelua, W., 2018, “The use of aluminum trialkoxide for synthesis of poly (ε-caprolactone) and poly (δ-valerolactone): A comparative study”, Songklanakarin Journal of Science and Technology, 40 (4), pp. 854-859.
22) Techaikool, P., Daranarong, D., Kongsuk, J., Boonyawan, D., Haron, N., Harley, W.S., Thomson, K.A., Foster, L.J.R., Punyodom, W., 2017, Effects of plasma treatment on biocompatibility of poly[(L-lactide)-co-(ϵ-caprolactone)] and poly[(L-lactide)-co-glycolide] electrospun nanofibrous membranes, Polymer International, 66 (11), pp. 1640-1650.
23) Punyodom, W., Limwanich, W., Meepowpan, P., 2017, Tin(II) n-butyl L-lactate as novel initiator for the ring-opening polymerization of ε-caprolactone: Kinetics and aggregation equilibrium analysis by non-isothermal DSC, Thermochimica Acta, 655, pp. 337-343.
24) Girdthep, S., Sankong, W., Pongmalee, A., Saelee, T., Punyodom, W., Meepowpan, P., Worajittiphon, P., 2017, Enhanced crystallization, thermal properties, and hydrolysis resistance of poly(L-lactic acid) and its stereocomplex by incorporation of graphene nanoplatelets, Polymer Testing, 61, pp. 229-239.
25) Limwanich, W., Phetsuk, S., Meepowpan, P., Kungwan, N., Punyodom, W., 2017, “Influence of molecular weight on the non-isothermal melt crystallization of biodegradable poly(D-Lactide)”, Key Engineering Materials, 751 KEM, pp. 221-229.
26) Norfun, P., Suree, N., Kungwan, N., Punyodom, W., Jakmunee, J., Ounnunkad, K., 2017, “Electrochemical Detection of Human Interleukin-15 using a Graphene Oxide-Modified Screen-Printed Carbon Electrode”, Analytical Letters, 50 (7), pp. 1112-1125.
27) Penkhrue, W., Kanpiengjai, A., Khanongnuch, C., Masaki, K., Pathom-Aree, W., Punyodom, W., Lumyong, S., 2017, ”Effective enhancement of polylactic acid-degrading enzyme production by Amycolatopsis sp. strain SCM_MK2-4 using statistical and one-factor-at-a-time approaches”, Preparative Biochemistry and Biotechnology, 47 (7), pp. 730-738.
ระดับชาติ
ไม่มี

1.2. นำเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการ
ระดับนานาชาติ
ไม่มี
ระดับชาติ
ไม่มี

1.3. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
ไม่มี