เทคโนโลยีควอนตัมสำหรับการป้องกันและความปลอดภัยด้านการทหาร

เทคโนโลยีควอนตัมสำหรับการป้องกันและความปลอดภัยด้านการทหาร

จุดอ่อนทางธุรกิจ:

ขาดความพร้อมเชิงการตลาด ความไม่รู้ในความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ล้มเหลวในการนำนวัตกรรมออกสู่ภาคธุรกิจ

ค่านิยมองค์กร:

ลดค่าใช้จ่ายเชิงธุรกิจ เสริมสมรรถภาพ ยกระดับภาคการผลิต (โซ่อุปทาน) และการประยุกต์ใช้งานได้จริง (โซ่แห่งคุณค่า)

วัตถุประสงค์:

เพื่อสร้างนวัตกรรมป้องกันประเทศฐานเทคโนโลยีควอนตัม (วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์)

เพื่อเสริมสมรรถนะเทคโนโลยีทางทหารที่มีอยู่ก่อน (วิศวกรรมควอนตัม)

เพื่อผสานระบบดิจิทัลและควอนตัม (วิศวกรรมควอนตัม)

เพื่อทำงานร่วมกันกับเกณฑ์วิธีการสื่อสารมาตรฐาน (ระบบนิเวศควอนตัม)

การสนับสนุนหลักจากประชาคมวิจัยและพัฒนา:

วิศวกรรมควบคุมเชิงควอนตัม:

ในปัจจุบันกลศาสตร์ควอนตัมแบบดั้งเดิมได้ถูกพัฒนาจนเข้าสู่กลศาสตร์ควอนตัมยุคที่สอง ซึ่งนำสู่เทคโนโลยีระบบการดักจับเชิงควอนตัม (trapped quantum systems) ที่ทีความสามารถในการเข้าถึง ควบคุม จัดเรียง และทำการวัดอะตอมในระบบควอนตัม การพลิกผันเชิงเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วอันนำไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งใหม่ เป็นสิ่งที่ทั้งนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรต่างตะหนักและให้ความสำคัญ ความร่วมมือของนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่มีเป้าหมายร่วมกันนั้น สามารถก่อให้เกิดเทคโนโลยีเชิงลึกที่ใช้ได้จริงอย่างน่าอัศจรรย์ ซึ่งนั้นทำให้ในปัจจุบันนี้ทั่วทุกภาคส่วนในระดับโลกต่างให้ความสำคัญ และมุ่งมั่นในการลงทุนทางการเงินเพื่อสร้างบุคคลากร นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ที่มีความเชี่ยวชาญและมีทักษะทั้งด้านกลศาสตร์ควอนตัมและด้านวิศวกรรม เพื่อรองรับการเกิดขึ้นและการขยายตัวเทคโนโลยีควอนตัมที่ใช้ได้จริง

ในการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่ เทคโนโลยีควอนตัมจะเข้ามามีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะกิจการทางด้านการทหารเชิงพานิชย์ ในระหว่างที่เทคโนโลยีใหม่ๆสำหรับการป้องกันประเทศกำลังอยู่ในระยะการสร้างและพัฒนาเช่นการปรับปรุงประสิทธิภาพของเทคโนโลยีที่ทีอยู่ รวมถึงการการย่อขนาดของอุปกรณ์เชิงควอนตัม เป็นสิ่งแรกๆที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนา การประสานเทคโนโลยีดิจิตอลเข้ากับเทคโนโลยีควอนตัม การพัฒนาระบบปฏิบัติสำหรับเทคโนโลยีควอนตัมให้เข้ากับโปรโตคอล (protocol) การสื่อสารมาตรฐานที่ใช้ในปัจจุบันนั้น ก็ถูกจัดว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ กุญแจสำคัญที่สามารถคลับเคลื่อนสิ่งต่างๆข้างต้นให้สำเร็จได้ คือ วิศวกรรมควอนตัม ซึ่งเป็นการบุกเบิกแนวทางสู่การพัฒนาศาสตร์ต่างๆในเชิงสหสาขาวิชา ซึ่งเพียงอาศัยการคิดวิเคราะห์ด้านวิศวกรรมควบคุม (control engineering) ทีเหนือกว่าเทคโนโลยีแบบดั้งเดิมนั้น สามารถทำให้เราเชื่อมต่อเทคโนโลยีดิจิตอลเข้ากับเทคโนโลยีควอนตัมได้ ซึ่งนั้นจะเป็นการนำไปสู่การผสานอุปกรณ์ควอนตัมเข้ากับระบบการสื่อสารประเภทต่างๆ กลุ่มของทักษะหลักที่จำเป็นต่อวิศวกรรมควอนตัม ประกอบไปด้วย วิศวกรรมระบบเลเซอร์ (laser systems engineering) การควบคุมปริมาณลดทอนและขยายสัญญาณเชิงควอนตัม (quantum-limited attenuator, and amplifier) ตัวกระตุ้นเชิงดิจิตอลควอนตัม (digital-quantum actuator) การควบคุมแบบวงจรเปิด(open-loop control) ระบบการควบคุมย้อนกลับชนิดปรับตัวได้(adaptive feedback control) การวัดเชิงเวลาจริงสำหรับการควบคุมย้อนกลับ (measurement-based real-time feedback control) การควบคุมย้อนกลับโคฮีเรนต์แบบเวลาจริง (coherent real-time feedback control) การควบคุมแบบอินโคฮีเรนต (incoherent quantum control) แบบจำลองระบบการควบคุมด้วยตัวเองแบบปิด (closed-loop self-regulating system-controller models) และ การควบคุมระบบอะเดียบาติคเชิงควอนตัมโดยใช้เทคโนโลยีการเรียนรู้เชิงลึก (adiabatic quantum control with deep learning)

การประยุกต์ใช้ด้านการป้องกันและความปลอดภัยทางทหาร: