Atomic Magnetometer
ปัญหาของการตรวจวัดคลื่นแม่เหล็กชีวภาพ : MCG และ MEG
- การเข้าถึงบริการ: ไม่มีเครื่องตรวจวัดให้บริการในประเทศไทย เนื่องจาก มีเพียงไม่กี่บริษัทที่เป็นผู้ผลิตเครื่องวัดคลื่นแม่เหล็กหัวใจ (MCG) และสมอง (MEG) โดยมีเครื่องให้บริการราว 300 เครื่องทั่วโลก
- ราคาสูง: 2-3 ล้านยูโรต่อเครื่อง และ 90,000 ยูโรต่อปี สำหรับค่าบำรุงรักษาด้วยการทำให้เย็นด้วยฮีเลียม
- เคลื่อนย้ายไม่ได้: เครื่องมีขนาดใหญ่ ต้องอยู่ในห้องกั้นสนามแม่เหล็ก
สาเหตุเนื่องจาก เครื่องวัด MCG และ MEG ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดใช้หัววัดสนามแม่เหล็กแบบ superconducting quantum interference devices (SQUIDs)
ทางออก: เครื่องตรวจวัดสนามแม่เหล็กเชิงอะตอม
เครื่องตรวจวัดสนามแม่เหล็กเชิงอะตอม (AM) มีหลักการทำงานบนการปั๊มเชิงแสงของอะตอมอัลคาไลน์
- มีการใช้ระบบที่มีความยุ่งยากน้อยโดยใช้ต้นกำเนิดแสงเลเซอร์ 1-2 ตัว และหลอดแก้วขนาดเล็กเป็นหลัก
- ไม่ต้องการระบบทำความเย็น
- ราคาไม่แพง
- สามารถวัดที่ความไวเทียบเท่ากับหรือดีกว่าเครื่องวัดที่ใช้ SQUIDs
- ขนาดเครื่องเล็ก สามารถพกพาได้
ภายในหัววัดเซ็นเซอร์
ภายในหัววัดเซ็นเซอร์
ภายในหัววัดจะมีหลอดแก้วที่บรรจุแก๊สรูบิเดียม โดยมีลำเลเซอร์ที่ฉายไปยังรูบิเดียมเรียกว่า “pump beam” เพื่อทำให้สปินแม่เหล็กของอะตอมรูบิเดียมเกิดการโพลาไรซ์
เป้าหมาย
- เครื่องตรวจวัดสนามแม่เหล็กเชิงอะตอมที่พกพาได้สำหรับวัดสัญญาณคลื่นแม่เหล็กหัวใจและคลื่นแม่เหล็กสมองได้
เป้าหมาย
- เครื่องตรวจวัดสนามแม่เหล็กเชิงอะตอมที่พกพาได้สำหรับวัดสัญญาณคลื่นแม่เหล็กหัวใจและคลื่นแม่เหล็กสมองได้
- การนำเซ็นเซอร์หลายตัวมาประกอบกันเพื่อทำงานแบบหลายช่องทางสามารถวัดสัญญาณได้ทั่วบริเวณของหัวใจและสมอง
ประโยชน์ของ MCG และ MEG
การตรวจวัด MCG และ MEG สามารถวินิจฉัยโรคหัวใจและโรคทางสมองได้ รวมทั้งมีหลายโรคที่ไม่สามารถตรวจวัดด้วยเทคนิคการวัดคลื่นไฟฟ้าได้ แต่สามารถตรวจวัดเจอด้วย MCG และ MEG
- สำหรับโรคหัวใจ ได้แก่ โรคหัวใจขาดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
- สำหรับโรคทางสมอง ได้แก่ โรคลมบ้าหมู การบาดเจ็บทางสมอง โรคเนื้องอกในสมอง โรคจิตเภท
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม
- เปิดตลาดการผลิตเครื่องตรวจวัดทางการแพทย์ชั้นสูง เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันเครื่องวัดทางการแพทย์
- เพิ่มการเข้าถึงของประชาชนในการให้บริการตรวจวัดคลื่นแม่เหล็กหัวใจและสมองโดยใช้หัววัด AM
- การวินิจฉัยที่แม่นยำขึ้นสำหรับโรคทางหัวใจและสมอง
- คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนในสังคม
การพัฒนาในอนาคตของเครื่องตรวจวัดสนามแม่เหล็กเชิงอะตอม
การพัฒนาในอนาคตของเครื่องตรวจวัดสนามแม่เหล็กเชิงอะตอม
- เครื่องตรวจวัดสนามแม่เหล็กเชิงอะตอมยังสามารถพัฒนาเพื่อนำไปใช้เพื่อการสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็ก ซึ่งต้องทำงานในสนามแม่เหล็กขนาดต่ำมาก (ULF-MRI)
- เครื่องตรวจวัดสนามแม่เหล็กเชิงอะตอมที่ใช้วัด MCG และ MEG สามารถใช้ร่วมกับเทคนิคอื่นในการวินิจฉัยเพื่อการระบุสาเหตุได้แม่นยำมากขึ้น
ลงทุนเพื่อการดูแลสุขภาพที่ดีขึ้น
เรากำลังมองหาความร่วมมือจากผู้ที่ต้องการมีส่วนร่วมลงทุนในวงเงิน 50 ล้านบาท ด้วยเงินลงทุนขั้นต่ำ 5 ล้านบาทสำหรับนักลงทุนแต่ละราย
กรุณาติดต่อ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรานนท์ อนุกูล
ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีควอนตัม
โทร. 0891912122
E-mail: waranont.a@cmu.ac.th
คุณ พิทยาภรณ์ พุ่มพวง
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีควอนตัม โทร. 0931837474
E-mail: yaphorn.pumpuang@gmail.com